การดูแลมารดาในอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_2921

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในมารดาที่อายุน้อยโดยเฉพาะมารดาวัยรุ่น มักมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนในการคลอดบุตร โดยมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตที่ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการให้ลูกได้เริ่มกินนมแม่ นอกจากนี้ มีการศึกษาว่าปัจจัยด้านอายุของมารดามีผลต่อการให้บริการการดูแลในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ พบว่าสถานพยาบาลที่ทำการศึกษาในสหรัฐอเมริกาให้การดูแลมารดาที่มีอายุน้อยกับอายุมากแตกต่างกัน โดยให้การดูแลการเริ่มต้นการให้นมลูกเมื่อพร้อมและให้มารดาอยู่กับทารก 24 ชั่วโมงน้อยกว่ามารดาที่อายุมาก1 ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับในประเทศไทยที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีถือว่ามารดาวัยรุ่นเป็นความเสี่ยงต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นในมารดาวัยรุ่นที่คลอดทารกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่แตกต่างกับมารดาที่อายุมากกว่า 20 ปี2

เอกสารอ้างอิง

  1. Sipsma HL, Jones K, Nickel NC. Hospital practices to promote breastfeeding: The effect of maternal age. Birth 2017.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.