รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนของพันธุกรรมและปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้แก่พฤติกรรมการกินนั่นเอง ทารกที่กินนมแม่จะช่วยลดการเกิดเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 โดยนมแม่มีสารที่ช่วยให้เกิดความสมบูรณ์ของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะป้องกันการเกิดเบาหวานชนิดที่ 11 และนมแม่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ช่วยควบคุมความอิ่มและสมดุลของพลังงาน ซึ่งจะป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย2 ซึ่งีการศึกษาพบว่า ทารกที่กินนมแม่จะลดความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ลงร้อยละ 333 โดยกลไกของป้องกันเบาหวาน ทารกที่กินนมแม่จะมีกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวแบบสายยาว (long-chain polyunsaturated fatty acids หรือใช้คำย่อว่า LCPUFAs) มาก ปริมาณ LCPUFAs หากอยู่ในเยื่อบุเซลล์กล้ามเนื้อมากจะมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในช่วงที่งดน้ำและอาหาร (fasting glucose) นอกจากนี้ การที่ทารกกินนมแม่ยังจะป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย3
เอกสารอ้างอิง
- Patelarou E, Girvalaki C, Brokalaki H, Patelarou A, Androulaki Z, Vardavas C. Current evidence on the associations of breastfeeding, infant formula, and cow’s milk introduction with type 1 diabetes mellitus: a systematic review. Nutr Rev 2012;70:509-19.
- Pereira PF, Alfenas Rde C, Araujo RM. Does breastfeeding influence the risk of developing diabetes mellitus in children? A review of current evidence. J Pediatr (Rio J) 2014;90:7-15.
- Horta BL, de Lima NP. Breastfeeding and Type 2 Diabetes: Systematic Review and Meta-Analysis. Curr Diab Rep 2019;19:1.