รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดฉุกเฉินตามทฤษฎีได้แก่ การรบกวนความสมบูรณ์ของถุงฟองไข่ กระบวนการตกไข่ มูกที่ปากมดลูก การเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ ความสมบูรณ์ของคอร์ปัส ลูเธียม (corpus luteum) ความพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูกในการฝังตัวของเซลล์ตัวอ่อน การปฏิสนธิ การเจริญเติบโต การเคลื่อนที่และการเกาะติดเพื่อฝังตัวของเซลล์ตัวอ่อน1 สำหรับกลไกที่เกิดขึ้นจริงยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน เนื่องจากมีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน ช่วงเวลาที่ใช้และการมีเพศสัมพันธ์ในแต่ละช่วงระยะเวลาของรอบเดือนได้แก่ ช่วงก่อนการตกไข่ ช่วงตกไข่หรือช่วงหลังการตกไข่ แต่เชื่อว่ากลไกที่สำคัญคือการรบกวนการตกไข่ ในกรณีที่ไข่ตกแล้วเชื่อว่าทำให้การทำงานของไข่ผิดปกติ อย่างไรก็ตามการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป
หนังสืออ้างอิง
1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.
?