???????????????????????????????????????????? วาสนา? งามการ
??????????? โรงพยาบาลพระปกเกล้าได้ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามบันได 10 ขั้นดังนี้
1. มีนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคนได้เป็นประจำ และมีคณะกรรมการนมแม่ของโรงพยาบาล เพื่อทำหน้าที่นำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ
2. ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคนให้มีทักษะที่จะนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ โรงพยาบาลพระปกเกล้าได้ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องนมแม่ครบ 20 ชั่วโมงและมีการจัดอบรมซ้ำทุก 1 ปี
3. ชี้แจงให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนทราบถึงประโยชน์และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หน่วยงานฝากครรภ์ถือว่ามีบทบาทสำคัญเพราะการให้ความรู้ถึงความสำคัญของนมแม่ให้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเพื่อให้มีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ครอบครัวเห็นความสำคัญว่า ?การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ใช่ทางเลือก? แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
4. ช่วยให้แม่เริ่มให้ลูกดูดนมภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การที่ทารกแรกเกิดได้ดูดนมแม่โดยเร็วเป็นปัจจัยสำคัญ หากบุคลกรเข้าใจและให้ความสำคัญของนมแม่ จะช่วยออกแบบบริการ และช่วยให้ทารกได้ดูดนมแม่โดยเร็วทันทีหลังคลอด
5. การสอนให้มารดารู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีทำให้น้ำนมคงมีปริมาณเพียงพอแม้ว่ามารดาและทารกแยกจากกัน เพื่อวางแผนในการให้ความรู้และฝึกทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้แก่เหมาะสมกับบริบทของมารดาแต่ละราย
6. อย่าให้น้ำหรืออาหารอื่นแก่ทารกนอกจากนมแม่ยกเว้นมีข้อชี้บ่งทางการแพทย์ การทำให้บันไดขั้นที่ 6 เป็นจริง โดยการใช้หลัก 3 ดูด จะทำให้น้ำนมแม่มาพียงพอต่อความต้องการ
7. ให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมง
8. สนับสนุนให้ลูกดูดนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ
9. อย่าให้ทารกดูดหัวนมหลอกหรือหัวนมปลอม
10. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และส่งต่อแม่ไปรู้จักกับกลุ่มดังกล่าวเมื่อออกจากโรงพยาบาลหรือคลินิก ซึ่งคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลพระปกเกล้าได้วางระบบติดตามร่วมกับกลุ่มสนับสนุนแม่ในชุมชน หรือแม่อาสากลุ่มนมแม่ดังนี้
การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากคลินิกนมแม่สู่ชุมชน มีดังนี้
1. การพัฒนาศักยภาพของคลินิกนมแม่ให้สามารถช่วยเหลือมารดาที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ พยาบาลที่ทำงานนมแม่ได้มีการพัฒนาความรู้อยู่เสมอ โดยทุกครั้งที่มีการจัดวิชาการเรื่องนมแม่ในเวทีระดับชาติ จะได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารให้ไปอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำวิชาการความรู้ใหม่ ๆ นำมาพัฒนางาน ??
2. การดำเนินงานคลินิกนมแม่เชิงรุก โรงพยาบาลพระปกเกล้ามีพื้นที่ที่รับผิดชอบดูแล ตำบลตลาดและตำบลวัดใหม่ ซึ่งมีพื้นที่รอบโรงพยาบาล โดยการนัดติดตามมารดาหลังคลอดที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ที่รับผิดชอบมาประเมินเรื่องความรู้และทักษะเรื่องนมแม่หลังจำหน่ายภายใน 2 สัปดาห์?? ในมารดาที่เป็นกลุ่มเสี่ยงนัดติดตามมาที่คลินิกนมแม่ภายใน 7 วัน? ?โดยประสานงานกับหอผู้ป่วยหลังคลอด 5 หน่วยงานให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน?? ส่วนมารดาที่มีภูมิลำเนานอกพื้นที่ส่งต่อมารดาให้สถานบริการสาธารณสุขติดตามเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง โดยบันทึกในใบส่งต่อเยี่ยมบ้านใช้สำหรับการติดตามเยี่ยมบ้านมารดาและทารกและติดตามประเมินผลลัพธ์การดำเนินงาน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ละพื้นที่? ปัญหาที่พบ? เพื่อนำมาพัฒนาระบบวางแผนจำหน่ายในโรงพยาบาลต่อไป
3. การส่งต่อข้อมูลมารดาและทารกให้กับสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ให้มีการติดตามเยี่ยมบ้านมารดาและทารกภายใน 14 วันหลังคลอดและเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง เพื่อติดตามเรื่องนมแม่และอนามัยมารดาและทารก กรณีพบปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขรีบส่งต่อคลินิกนมแม่ในพื้นที่หรือคลินิกนมแม่ของโรงพยาบลพระปกเกล้า
4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ พยาบาลอาสาช่วยแม่ในชุมชน การสร้างกลุ่มสนับสนุนแม่จากมารดาที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสร้างกลุ่มสนับสนุนแม่จากญาติ พี่น้อง เพื่อน ๆ โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือมารดาในพื้นที่ค่ายตากสินในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การขยายเครือข่ายกลุ่มสนับสนุนแม่โดยขอความร่วมมือกับสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่
5. การสร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมนมแม่ ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเรื่องนมแม่และอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่มีดังนี้ การให้ความรู้เรื่องนมแม่และการดูแลอนามัยมารดาและทารกอย่างต่อเนื่องทุกปี โรงพยาบาลพระปกเกล้าได้จัดทำแผนของบประมาณในการดำเนินงานพัฒนาชมรมอย่างต่อเนื่อง มีการฝึกทักษะพื้นฐานให้ชมรมนมแม่สามารถนำไปช่วยเหลือมารดาในพื้นที่ได้ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับชมรมทุก 1-3 เดือนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน ลงพื้นที่ช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาการทำงานในชุมชน มีการผลักดันให้ผู้บริหารขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทำให้ชมรมมีงบประมาณในการดำเนินงาน? ติดตามเยี่ยมบ้าน? การจัดกิจกรรมเชิงรุกในชุมชน มีการประชาสัมพันธ์การทำงานของชมรมผ่านสื่อทีวีท้องถิ่นเพื่อเป็นการชื่นชมให้คนดี ได้มีกำลังใจในการทำงานต่อไป มี การดูแลสวัสดิการ สร้างขวัญ กำลังใจแก่สมาชิกชมรมนมแม่
6. การประสานงานผลักดันเชิงนโยบาย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงาน สรุปรายงานให้กับผู้บริหารในโรงพยาบาลและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง โดยร่วมเป็นคณะกรรมงานงานอนยามัยแม่และเด็ก จังหวัดจันทบุรี และมาร่วมกันจัดทำแผนพัฒนางานที่เป็นปัญหาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และปัญหางานอนามัยในพื้นที่ต่อไป
? ? ? ? ? ? ? สรุปจากปัญหาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยที่ยังพบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย? การที่จะให้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จต้องเริ่มจากการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวให้เห็นความสำคัญว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ใช่ทางเลือก ต้องยึดหลักบันได 10 ขั้นและควบคุมกำกับให้นโยบายที่ประกาศเป็นจริงตลอดจนการพัฒนาคลินิกนมแม่ให้มีศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชมรมนมแม่ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือในชุมชน ร่วมกับการติดตามข้อมูลปัญหาและพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง? หากทุกพื้นที่ได้นำแนวทางดังกล่าวไปขยายผล? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยคงประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น
ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์