คลังเก็บป้ายกำกับ: การเข้าเต้า

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ The Mother?Baby Assessment (MBA)2 มีรายละเอียด ดังนี้

?

คะแนน

รายละเอียดที่ต้องสังเกต

สัญญาณความพร้อมในการดูดนม (signaling)

1

มารดา: เฝ้ามองและสังเกตลักษณะของทารก โดยอาจจะอุ้มจับ ขยับหรือโยกตัว พูดกับลูก กระตุ้นลูกหากลูกง่วง ซึมหรือสับสน

1

ทารก: ลักษณะความพร้อมในการดูดนม ได้แก่ การจ้องมอง การตื่นตัว การตอบสนองต่อการกระตุ้น การดูด การนำมือหรือนิ้วเข้าปาก ลักษณะการส่งเสียงและการร้อง
ท่าทางในการดูดนม (position)

1

มารดา: ประคองลูกให้อยู่ในท่าทีดีในการเข้าเต้า ลำตัวลูกโค้งงอเล็กน้อย โดยด้านหน้าของลำตัวของลูกสัมผัสกับลำตัวแม่ ศีรษะและไหล่ของลูกได้รับการประคองไว้

1

ทารก: ลูกจะตอบสนองต่อการกระตุ้นของเต้านมได้ดี โดยการอ้าปากกว้าง ลิ้นอยู่ในลักษณะรูปถ้วย และวางอยู่บริเวณเหงือกด้านล่าง
การเข้าเต้า (fixing)

1

มารดา: จับเต้านมช่วยลูกเมื่อจำเป็น นำลูกเข้าแนบชิดเมื่อลูกอ้าปากกว้าง อาจบีบน้ำนมช่วย

1

ทารก: การเข้าเต้า โดยลูกจะอมหัวนมและส่วนของลานนมยาว 2 เซนติเมตรเข้าไปในปาก จากนั้นดูด ซึ่งจะดูดและหยุดสลับเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน
การไหลของน้ำนม (milk transfer)

1

มารดา: รู้สึกกระหายน้ำ ปวดมดลูก น้ำคาวปลาเพิ่มขึ้น ปวดหรือเสียวเต้านม ผ่อนคลาย ง่วงนอน มีน้ำนมไหลจากเต้านมอีกข้าง

1

ทารก: ได้ยินเสียงการกลืน สังเกตเห็นนมในปากลูก ลูกอาจจะปลิ้นน้ำนมออกมาขณะเรอ มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการดูดจาก 2 ครั้งต่อวินาทีเป็น 1 ครั้งต่อวินาที
การหยุดดูดนม (ending)

1

มารดา: รู้สึกโล่งสบายเต้านม โดยให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า เต้านมจะนุ่มหลังการให้นมลูก ไม่พบก้อน ไม่ตึงคัดหรือเจ็บหัวนม

1

ทารก: ปล่อยเต้านมออกมาเอง อิ่ม ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น หน้า แขนและมือผ่อนคลาย โดยอาจจะหลับ

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 5 ตัวแปรคือ สัญญาณความพร้อมในการดูดนม ท่าทางในการดูดนม การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การไหลของน้ำนม และการหยุดดูดนม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาล การนำมาใช้ทำโดยใช้ติดตามพัฒนาการมารดาและทารกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3 ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบว่ามี 0.33-0.664

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Mulford C. The Mother-Baby Assessment (MBA): an “Apgar score” for breastfeeding. J Hum Lact 1992;8:79-82.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

4.???????? Riordan JM, Koehn M. Reliability and validity testing of three breastfeeding assessment tools. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1997;26:181-7.

 

 

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 4)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB)2 มีรายละเอียด ดังนี้

?

รายละเอียด

แนวการวางตัวของทารก (alignment) ทารกอยู่ในท่างอตัว ผ่อนคลาย ไม่มีการเกร็งแข็งของกล้ามเนื้อ
ศีรษะทารกและลำตัวอยู่ระดับเต้านม
ศีรษะทารกอยู่แนวเดียวกับลำตัว ไม่หันไปทางด้านข้าง ก้มหรือเงยจนเกินไป
แนวการวางตัวของทารกที่ถูกต้องจะอยู่ในแนวของเส้นสมมุติจากหู ไปไหล่และขอบกระดูกอุ้งเชิงกราน (iliac crest)
เต้านมของแม่จะต้องได้รับการประคองด้วยมือที่วางเป็นลักษณะรูปถ้วยในสองสัปดาห์แรกของการให้นมลูก
การอมคาบหัวนมและลานนม เห็นปากอ้ากว้าง ริมฝีปากต้องไม่ห่อ
มองเห็นริมฝีปากปลิ้นออก
ทารกประกบริมฝีปากพอดีกับเต้านมทำให้มีแรงดูดสุญญากาศมาก
ลานนมที่อยู่ต่ำจากหัวนมประมาณครึ่งนิ้วอยู่ตรงกลางปากทารก
ลิ้นจะวางอยู่บริเวณขอบด้านล่างของต่อมเต้านม (alveolar ridge)
ลิ้นจะเป็นรูปโค้งงอโอบรอบลานนมทางด้านล่าง
ไม่มีเสียงลมระหว่างการดูดนมของทารก
ไม่มีรอยบุ๋มบริเวณแก้มระหว่างการดูดนมของทารก
การกดบริเวณลานนม กรามของทารกจะเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะ
ถ้าจำเป็นต้องตรวจสอบ ทำได้โดยให้ทารกดูดนิ้วมือจะพบการเคลื่อนเป็นลูกคลื่นของลิ้นจากทางด้านหน้าไปทางด้านหลัง
การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม เสียงของการกลืนจะเงียบ
หลังการดูดหลายครั้งอาจได้ยินเสียง
เสียงอาจจะเพิ่มความถี่หรือความสม่ำเสมอขึ้นหลังการเกิดกลไกน้ำนมพุ่ง

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 4 ตัวแปรคือ แนวการวางตัวของทารก การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การกดบริเวณลานนม และการได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะของเกณฑ์พิจารณาอย่างเป็นระบบจากกลไกทางวิทยาศาสตร์ของการดูดนมของทารก ไม่มีการให้เป็นน้ำหนักคะแนน โดยมีความเชื่อว่าหากมีลักษณะตามกลไกเหล่านี้จะสัมพันธ์กับการดูดนมแม่ได้ดี จึงใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการสอนมารดาที่ไม่รู้วิธีในการเริ่มให้นมแม่3

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Shrago L, Bocar D. The infant’s contribution to breastfeeding. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1990;19:209-15.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ LATCH Assessment (LATCH) มีรายละเอียด ดังนี้

?

คะแนน

รายละเอียด

L= Latch คือ การอมหัวนมและลานนม

2

คาบหัวนมและลานนม ลิ้นแตะเหงือกล่าง ริมฝีปากบานออก ดูดนมเป็นจังหวะ

1

ใช้ความพยายามหลายครั้งหรือกระตุ้นจนอมหัวนมและลานนม

0

ง่วงหรือลังเลจนอมดูดหัวนมไม่ได้
A = Audible swallowing คือ การได้ยินเสียงกลืนน้ำนม

2

อายุ <24 ชั่วโมง ได้ยินเป็นช่วงๆ

อายุ >24 ชั่วโมง ได้ยินบ่อยครั้ง

1

ได้ยิน 2-3 ครั้งหลังกระตุ้นให้ดูดนม

0

ไม่ได้ยิน
T = Type of nipple คือ ลักษณะหัวนมของแม่

2

หัวนมชี้พุ่งปกติหรือหลังถูกกระตุ้น (everted nipple)

1

หัวนมแบน (flat nipple)

0

หัวนมบอดบุ๋ม (inverted)
C = Comfort breast and nipple คือ รู้สึกสบายเต้านมและหัวนม

2

เต้านมและหัวนมนุ่ม อาจจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยขณะลูกดูดนม

1

มีรอยแดงบริเวณเต้านม หัวนมมีรอยพองเล็กน้อย และเจ็บรุนแรงปานกลาง

0

เต้านมคัดมาก หัวนมแตกเป็นแผล เลือดออกและเจ็บรุนแรงมาก
H = Hold คือ ท่าอุ้มลูกหรือจัดท่าลูกขณะให้นม

2

ไม่ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ แม่สามารถอุ้มและจัดท่าลูกด้วยตนเอง

1

ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่บ้าง เช่น ยกหัวเตียง จัดหมอนรอง

0

ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่อย่างเต็มที่

หมายเหตุ ตารางการประเมินแปลโดย กุสุมา ชูศิลป์2

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 5 ตัวแปรคือ การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะของหัวนมของแม่ ความรู้สึกสบายเต้านมและหัวนม ท่าอุ้มลูกหรือการจัดท่าลูกขณะให้นม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาลหรือมารดา การแปลผล หากคะแนนการประเมินในทารกอายู 16-24 ชั่วโมงมากกว่า 8 แสดงว่ามีความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน 6 สัปดาห์หลังคลอดสูง3

ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงคะแนน LATCH มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 6 สัปดาห์และใช้ติดตามช่วยเหลือมารดาที่หยุดนมแม่ในระยะแรกจากการเจ็บเต้านม4 และมีการประเมินความสัมพันธ์ในการให้คะแนน LATCH ของบุคลากรทางการแพทย์กับมารดาพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.18 ในการประเมินการได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนมถึง 0.67 ในการประเมินการเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? กุสุมา ชูศิลป์. การประเมินทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่. ใน: ศุภวิทย์ มุตตามระ, กุสุมา ชูศิลป์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ไอยรา จำกัด; 2555:163-71.

3.???????? Kumar SP, Mooney R, Wieser LJ, Havstad S. The LATCH scoring system and prediction of breastfeeding duration. J Hum Lact 2006;22:391-7.

4.???????? Riordan J, Bibb D, Miller M, Rawlins T. Predicting breastfeeding duration using the LATCH breastfeeding assessment tool. J Hum Lact 2001;17:20-3.

5.???????? Adams D, Hewell S. Maternal and professional assessment of breastfeeding. J Hum Lact 1997;13:279-83.

 

 

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

นมแม่รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

นมแม่เป็นอาหารมาตรฐานสำหรับทารก ด้วยการศึกษาในปัจจุบันแสดงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ของนมแม่ และองค์การอนามัยโลกได้แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนเพื่อให้บรรลุผลถึงการเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพที่ดีและเหมาะสม1 การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความจำเป็นเพื่อบอกแนวโน้มหรือทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามที่มีการแนะนำ บอกความเสี่ยงของมารดาและทารกที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในกลุ่มนี้ต้องการการเอาใจใส่สนับสนุนจากทีมทางการแพทย์ให้สามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ อย่างน้อยหกเดือนหรือต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือมากกว่า อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดและปัจจัยอันหลากหลายที่มีผลในช่วงที่แตกต่างกันของระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีการคิดเกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นหลายเกณฑ์โดยมีเป้าประสงค์ของการประเมินในรายละเอียดที่แตกต่างกัน เกณฑ์ที่ใช้อาจประเมินในทารก หรือประเมินจากทั้งมารดาและทารก ซึ่งเกณฑ์ที่มีการศึกษา วิจัยและใช้ในการให้บริการ ได้แก่

  1. Infant Breastfeeding Assessment Tool (IBFAT)
  2. Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB)
  3. The Mother?Baby Assessment (MBA)
  4. LATCH assessment (LATCH)
  5. Lactation Assessment Tool (LAT)
  6. Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)

ในแต่ละเกณฑ์จะมีรายละเอียดที่ใช้วัด เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงการกินนมแม่ของทารกได้ดีที่สุด คือ การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม2 ซึ่งเกณฑ์นี้จะมีในเกณฑ์การประเมินทุกเกณฑ์ยกเว้นใน infant breastfeeding assessment tool เกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของมารดาและทารก ได้แก่ ?the mother-baby assessment, LATCH assessment และ mother-infant breastfeeding progress tool ส่วนเกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของทารก ได้แก่ infant breastfeeding assessment tool, systematic assessment of the infant at breast และ lactation assessment tool2 รายละเอียดของแต่ละเกณฑ์ติดตามในตอนต่อไป

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

 

 

ผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรงษ์

??????????? มีการศึกษาถึงผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพบความสัมพันธ์ดังนี้

  1. การเจ็บเต้านม มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-892,3 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-952,4-6 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของคะแนนการเจ็บเต้านมก่อนและหลังทำการผ่าตัด3,6-8 นอกจากนี้อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10
  2. การเข้าเต้าไม่ดี จากการศึกษาพบแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยาร้อยละ 70 เชื่อว่าภาวะลิ้นติดทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อย แต่แพทย์ที่ให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 69 เชื่อว่า ภาวะลิ้นติดพบบ่อยที่ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่9 การเข้าเต้าเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุการเข้าเต้าได้ไม่ดีร้อยละ 64-842,3 มีรายงานเปรียบเทียบการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดกับทารกปกติ พบว่า ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 311 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ5,6,12
  3. ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 162 ซึ่งเป็นปัญหามาจากการเข้าเต้าได้ไม่ดีและต้องใช้เวลานานเข้าเต้าทำให้ได้รับน้ำนมแม่น้อยหรือไม่เพียงพอ ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดนี้ไม่พบปัญหาในการดูดนมขวด11 อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มาก ดังนั้นการผ่าตัดแก้ไขจึงเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 655
  4. การหยุดนมแม่เร็ว สาเหตุหนึ่งของการหยุดนมแม่เร็วคือ อาการเจ็บเต้านม อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10 โดยพบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า13 อย่างไรก็ตามในการติดตามทารกหลังจากผ่าตัดรักษาภาวะลิ้นติดเมื่ออายุ 2 เดือนไม่พบความแตกต่างของการเจ็บเต้านมและคะแนนการเข้าเต้า รวมถึงไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่12 แนวโน้มของข้อมูลแสดงว่า ภาวะลิ้นติดน่าจะมีผลในช่วงระยะแรกหลังคลอดที่เริ่มเข้าเต้าและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

3.???????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

4.???????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

5.???????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

6.???????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

7.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

8.???????????? Berry J, Griffiths M, Westcott C. A double-blind, randomized, controlled trial of tongue-tie division and its immediate effect on breastfeeding. Breastfeed Med 2012;7:189-93.

9.???????????? Segal LM, Stephenson R, Dawes M, Feldman P. Prevalence, diagnosis, and treatment of ankyloglossia: methodologic review. Can Fam Physician 2007;53:1027-33.

10.????????? Schwartz K, D’Arcy HJ, Gillespie B, Bobo J, Longeway M, Foxman B. Factors associated with weaning in the first 3 months postpartum. J Fam Pract 2002;51:439-44.

11.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

12.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

13.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.