การสอนแสดง 5.1 ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมสังเกตว่า บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้คำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำและการหลีกเลี่ยงการใช้คำเหล่านี้

บทบาท

บุคลากรทางการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ) ลูกของคุณแม่น้ำหนักขึ้นดีพอใช่ไหมจากการชั่งน้ำหนักครั้งล่าสุด??

มารดา ?อืม…คุณแม่ไม่มั่นใจนะ แต่ก็คิดว่าน่าจะดี?

บุคลากรการแพทย์ ?แล้วลูกกินนมได้พอไหม? นมแม่มาดีไหม??

มารดา ?คุณแม่ก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ก็คิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น?

ข้อคิดเห็น

??????????? การสอนแสดงนี้ จะเห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์จะได้ข้อมูลจากมารดาน้อยและยังทำให้มารดาวิตกกังวลเพิ่มขึ้นจากคำถามที่เป็นคำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

หลีกเลี่ยงคำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? ?คำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำ ได้แก่ ถูก ผิด ดี แย่ เยี่ยม พอใช้ เหมาะสม เพียงพอ และเป็นปัญหา คำพูดเหล่านี้จะทำให้มารดารู้สึกมีมาตรฐานที่ต้องทำให้ได้ หากทำได้น้อยกว่าจะรู้สึกผิดปกติ ตัวอย่างเช่น คำถามว่า ?ลูกของคุณกินนมได้ดีไหม?? ซึ่งจะมีความหมายเป็นนัยว่าต้องมีมาตรฐานสำหรับการให้นมลูกและลูกของเธออาจกินนมยังไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้คุณแม่อาจเก็บความรู้สึกว่าการให้นมของเธอไม่เพียงพอ นอกจากนี้ความเข้าใจในความหมายของ ?การกินนมที่ดี? ของลูกอาจจะแตกต่างกันระหว่างมารดากับบุคลากรทางการแพทย์? ดังนั้น การใช้คำถามปลายเปิดอาจเป็นประโยชน์มากกว่า โดยอาจใช้คำถามว่า ?ลูกของคุณแม่กินนมเป็นอย่างไร?? หรือ ?คุณแม่ช่วยอธิบายการกินนมของลูกว่าเป็นอย่างไร?? ซึ่งเราจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการตัดสินใจดูแลมารดาและทารกมากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การสอนแสดง 4.2 ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมสังเกตว่า บุคลากรทางการแพทย์ได้แสดงความเห็นใจและเข้าใจในความรู้สึกของมารดาอย่างไร

บทบาท

บุคลากรทางการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ)…(ชื่อมารดา)….วันนี้คุณแม่และลูก…(ชื่อทารก)…เป็นอย่างไรบ้างครับ (ค่ะ) ??

มารดา ?สองสามวันนี้ ลูก…(ชื่อทารก)…กินนมได้ไม่ดี คุณแม่ก็ทำอะไรไม่ถูก?

บุคลากรการแพทย์ ?คุณแม่คงวิตกกังวลเกี่ยวกับลูก…(ชื่อทารก)?

มารดา ?ใช่ค่ะ ฉันกังวลว่าลูกจะป่วย หากกินนมไม่ได้ดี?

ข้อคิดเห็น

??????????? การสอนแสดงนี้ จุดสนใจจะอยู่ที่การพูดคุยกับมารดา บุคลากรทางการแพทย์จะแสดงความเห็นใจโดยการเก็บความรู้สึกและแสดงปฏิกิริยาตอบกลับว่าสนใจรับฟังมารดาอยู่จริงๆ และชี้ชวนให้มารดาแบ่งปันความรู้สึกของตนเองและเปิดโอกาสให้มารดาได้พูดคุยกับกับบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การสอนแสดง 4.1 ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมสังเกตว่า บุคลากรทางการแพทย์ได้แสดงความเห็นใจและเข้าใจในความรู้สึกของมารดาอย่างไร

บทบาท

บุคลากรทางการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ)…(ชื่อมารดา)….วันนี้คุณแม่และลูก…(ชื่อทารก)…เป็นอย่างไรบ้างครับ (ค่ะ) ??

มารดา ?สองสามวันนี้ ลูก…(ชื่อทารก)…กินนมได้ไม่ดี คุณแม่ก็ทำอะไรไม่ถูก?

บุคลากรการแพทย์ ?ผม (ดิฉัน) เข้าใจว่าคุณแม่รู้สึกอย่างไร เมื่อลูกไม่กินนม คุณแม่คงวิตกกังวล ซึ่งทำให้ผม (ดิฉัน) กังวลไปด้วยและจากสิ่งนี้ทำให้ผม (ดิฉัน) เข้าใจความรู้สึกนี้จริงๆ?

มารดา ?คุณจะทำอย่างไร หากลูกของคุณกินนมได้ไม่ดี?

ข้อคิดเห็น

??????????? จากการสอนแสดงผู้รับการฝึกอบรมเห็นอะไรบ้าง จุดสนใจจะย้ายจากมารดาไปที่บุคลากรทางการแพทย์ การที่แสดงความเห็นใจ จุดสำคัญไม่ได้อยู่แต่เพียงการเข้าใจความรู้สึกของมารดา แต่ยังต้องแสดงออกให้เห็นว่าเราเข้าใจในความรู้สึกนั้นด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

ความเห็นใจและแสดงออกว่าเข้าใจในความรู้สึกของมารดาในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? การแสดงความเห็นใจเป็นการแสดงว่าท่านได้ฟังสิ่งที่มารดาพูดและพยายามที่จะเข้าใจในความรู้สึกของมารดา โดยเป็นการมองสถานการณ์จากมุมมองของมารดา ไม่ใช่มุมมองของท่านหรือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งความเห็นใจและเข้าใจในความรู้สึกที่ดีและแย่ของมารดาจะเป็นประโยชน์ ท่านควรจะสอบหาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มขึ้นเมื่อท่านเข้าใจว่ามารดารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับสถานการณ์นั้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)