การช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตตอนที่1

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? –จัดให้มารดาและทารกได้พบกันทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน โดย

??????? กระตุ้นให้มารดามาเยี่ยม อุ้มทารก และดูแลทารกมากที่สุดที่จะทำได้

??????? มารดาจะสร้างแอนติบอดีซึ่งเป็นสารที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มารดาได้สัมผัส เมื่อมารดาได้อยู่กับทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตมารดาจะสร้างแอนติบอดีซึ่งต่อต้านเชื้อโรคที่ทารกแรกเกิดวิกฤต และส่งผ่านนมแม่ไปให้กับทารกโดยจะทำให้ทารกได้รับแอนติบอดีต่อเชื้อโรคที่ทารกจะต้องพบเจอขณะที่อยู่ที่ทารกแรกเกิดวิกฤต

??????? การให้ทารกได้มีผิวสัมผัสกับผิวของมารดา จะทำให้มารดาได้อุ้มทารกและทารกสามารถเข้าหาเต้านมได้ทุกครั้งที่ต้องการ และการที่ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาจะช่วยให้การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมการหายใจทารกดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนาการของทารกและช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ความสำคัญของนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และทารกที่มีความต้องการพิเศษ

breastfeedy1-

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? ความสำคัญของนมแม่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย หรือทารกที่มีความต้องการพิเศษ มีรายละเอียดดังนี้

????????????? -นมแม่ ประกอบด้วย

??????? ภูมิคุ้มกันที่ปกป้องทารก โดยจะป้องกันการติดเชื้อ

??????? สารช่วยการเจริญเติบโตที่จะช่วยในการพัฒนาการของลำไส้และระบบอื่นไปพร้อมกับการซ่อมแซมเยื่อบุผนังลำไส้จากการเกิดท้องเสีย

??????? เอนไซม์ที่ช่วยให้การย่อยและการดูดซึมน้ำนมง่ายขึ้น

??????? กรดไขมันจำเป็นพิเศษที่ช่วยในการพัฒนาการของสมอง

??????????? -นอกจากนี้ ในการให้นมแม่ จะช่วย

??????? ทำให้ทารกสงบและลดความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดหรือการทำหัตถการ

??????? ทำให้มารดามีบทบาทสำคัญในการดูแลทารก

??????? ทำให้ทารกรู้สึกสบายและสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัว

??????????? -ทารกที่มีความต้องการพิเศษรพิเศษ ได้แก่ ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาท ระบบหัวใจ ทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่ หรือทารกที่ป่วย โดยทารกเหล่านี้มีความต้องการนมแม่เหมือนกับทารกปกติ นอกจากนี้ นมแม่ยังมีประโยชน์มากในทารกที่อายุครรภ์เกินกำหนดหรือคลอดก่อนกำหนดที่ป่วยด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

การช่วยให้มีการสร้างน้ำนมอีกครั้ง

b1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? การช่วยให้มีการสร้างน้ำนมอีกครั้ง (relactation) หมายถึง การช่วยให้มีน้ำนมสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังจากที่มีน้ำนมลดลงอย่างมากหรือหยุดให้นมไปแล้ว

??????????? -หากมารดาหยุดให้นมแม่แล้วปรารถนาที่จะให้นมแม่ใหม่ บุคลากรทางการแพทย์สามารถจะช่วยเหลือได้ โดยการช่วยให้มีการสร้างน้ำนมอีกครั้งอาจจำเป็นในกรณีที่

??????? ทารกป่วยหรือไม่สามารถดูดนมได้

??????? มารดาไม่ได้บีบน้ำนมขณะที่ทารกไม่สามารถดูดนมได้

??????? ทารกไม่ได้กินนมแม่ในช่วงแรกและมารดาต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? ทารกป่วยและใช้ขวดนมหรือจุกนมเทียม

??????? สตรีที่รับทารกไปเลี้ยง โดยที่เพิ่งหยุดให้นมลูกตนเองไม่นาน

??????????? -มารดาที่ปรารถนาจะกลับมาให้นมลูกใหม่ บุคลากรทางการแพทย์ควรกระตุ้น

??????? ให้ทารกดูดนมจากเต้าบ่อยๆ ช่วงเวลานาน ทั้งกลางวันและกลางคืน และตามที่ทารกต้องการ

??????? นวดหรือบีบน้ำนมในระหว่างมื้อการให้นม โดยเฉพาะในทารกที่ไม่ยอมดูดนมบ่อยๆ

??????? ควรให้นมผสมให้เพียงพอไปก่อนจนกระทั่งนมแม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของทารก

??????? ให้การสนับสนุนและให้กำลังใจมารดาและครอบครัว เพื่อการอดทนรอเนื่องจากการกระตุ้นให้น้ำนมมาใหม่จะใช้เวลานาน

??????????? -บางครั้งการให้ยาอาจจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่จำเป็นต้องร่วมกับการให้การกระตุ้นเต้านมบ่อยๆ

??????????? -การช่วยให้มีการสร้างน้ำนมอีกครั้งจะง่ายกว่าในกรณี

??????????? ทารกยังอายุน้อย (โดยเฉพาะทารกที่อายุน้อยกว่า 2 เดือน) และทารกที่ไม่ติดจุกนมเทียม

??????????? มารดายังอยู่ในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ หรือเพิ่งจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -การช่วยให้มีการสร้างน้ำนมอีกครั้งมีความเป็นไปได้ที่ทารกทุกกลุ่มอายุและทุกช่วงระยะเวลาที่หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้แต่ย่ายายก็อาจจะสามารถให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่หลานได้???????????

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

การขึ้นของน้ำหนักทารก

mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะทำให้ทารกสุขภาพดีและน้ำหนักขึ้นปกติ ทารกที่กินนมแม่ส่วนมากจะไม่อ้วนเหมือนทารกที่กินนมผสม

??????????? -การชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการให้นมอาจไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ที่ดีที่จะบอกว่ากินนมพอหรือไม่เพียงพอ เนื่องจากอาจมีความแตกต่างระหว่างแต่ละมื้อของการดูดนม ดังนั้นการชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่ให้นมอาจจะลดความมั่นใจของมารดาและนำไปสู่การเสริมนมผสมได้

??????????? -หากทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดีทั้งที่ทารกเข้าเต้าและดูดได้ดี ทารกอาจจะมีปัญหาเรื่องความเจ็บป่วย หรือทารกที่ป่วยหรือดูดได้ไม่ดี ควรส่งต่อไปเพื่อการรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากทารกปรารถนาที่จะดูดนมจากเต้า และอ้าปากอมหัวนมและลานนมได้ไม่ดี มารดาอาจจะต้องการความช่วยเหลือในการจัดท่าและเข้าเต้า

??????????? -ทารกที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจแต่กำเนิด หรือมีปัญหาเรื่องระบบประสาทอาจจะมีน้ำหนักขึ้นน้อยแม้มีการอ้าปากอมหัวนมและลานนมและดูดนมได้ดี

??????????? -จำเป็นต้องมีการชั่งน้ำนมเป็นระยะๆ เพื่อประเมินการขึ้นของน้ำหนักทารก ซึ่งจำเป็นแม้ว่าสำหรับทารกที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

สาเหตุของการสร้างน้ำนมน้อยที่พบไม่บ่อยและพบน้อย

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สาเหตุของการสร้างน้ำนมน้อยที่พบไม่บ่อย

??????????? -ยาที่ให้กับมารดา ได้แก่ ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดปริมาณน้ำนม ยาขับปัสสาวะอาจจะลดปริมาณน้ำนมด้วย

??????????? -การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จะลดปริมาณน้ำนม

??????????? -การผ่าตัดบริเวณเต้านม ซึ่งอาจจะตัดท่อน้ำนมและปลายประสาทของเต้านม

??????????? -หากมารดาตั้งครรภ์ใหม่ อาจจะทำให้น้ำนมลดลงได้

สาเหตุของการสร้างน้ำนมน้อยที่พบได้น้อย

??????????? -มีรกค้าง ทำให้ยังมีฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างน้ำนม

??????????? -การพัฒนาการของเต้านมยังไม่เพียงพอระหว่างการตั้งครรภ์ ทำให้เซลที่สร้างน้ำนมมีน้อย

??????????? -มีภาวะทุพโภชนาการ น้ำนมจะสร้างจากอาหารที่มารดารับประทานและสารอาหารที่สะสมอยู่ในร่างกาย การที่มารดาต้องใช้สารอาหารที่สะสมในร่างกายอย่างเดียวเลยนั้นมารดาจะต้องขาดสารอาหารเป็นอย่างมาก ซึ่งในสถานการณ์ที่รุนแรงจะกระทบต่อการสร้างน้ำนมได้ เช่นเดียวกันกับการที่มารดาขาดน้ำหรืองดน้ำเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อปริมาณน้ำนมได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)