การใช้เครื่องปั๊มนม

 

pump3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -เครื่องปั๊มนมไม่ได้มีพร้อมใช้ในทางปฏิบัติเสมอในแต่ละสถานที่ ดังนั้นลำดับแรกมารดาควรจะสามารถบีบน้ำนมด้วยมือได้ หากในพื้นที่ที่สามารถจัดหาเครื่องปั๊มนมได้และมารดาจำเป็นต้องใช้ บุคลากรทางการแพทย์ควรจะเลือกเครื่องปั๊มนมที่มีประสิทธิภาพ และสอนวิธีการใช้เครื่องปั๊มนมอย่างเหมาะสมตามวิธีการใช้ที่เขียนไว้ของบริษัทผู้ผลิต

??????????? -โดยปกติจะมีประโยชน์ที่จะกระตุ้นกลไกออกซิโตซินก่อนที่จะปั๊มนม โดยนั่งในท่าที่สบาย มีพนักพิงหลัง มือจับเครื่องปั๊ม ผ่อนคลาย การนวดหรือเทคนิคอื่นที่ทำให้ผ่อนคลายเหมือนกับการบีบน้ำนมด้วยมือก็สามารถทำได้

??????????? -เครื่องปั๊มนมเครื่องใหญ่สามารถจะปั๊มนมได้พร้อมกันทั้งสองเต้า ซึ่งจะเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ทำให้ได้ปริมาณน้ำนมที่มากและเหมาะในกรณีที่มารดามีเวลาน้อยในการปั๊มนม

??????????? -ระดับความแรงของการปั๊มนมควรอยู่ในระดับที่สบาย การปั๊มที่แรงเกินไปไม่ได้ดูดนมออกได้มากขึ้น การปั๊มนมควรปั๊มคล้ายกับการดูดนมของทารกคือช่วงแรกจะดูดยาวและช้า จากนั้นจึงดูดสั้นและจังหวะเร็ว ในการใช้เครื่องปั๊มนมด้วยมือการขยับอุปกรณ์ที่ใช้ประกบกับเต้านมออกจะลดความแรงของการดูดได้และอาจทำให้สบายขึ้น และหากน้ำนมยังไหลอยู่ การปั๊มนมซ้ำอาจยังไม่จำเป็น

??????????? -หากมารดาปั๊มนมได้น้อยหรือไม่ได้เลย ควรตรวจสอบว่าเครื่องปั๊มทำงานอยู่หรือไม่ ตรวจสอบวิธีการปั๊มนมรวมทั้งการกระตุ้นกลไกออกซิโตซินว่าถูกต้องหรือไม่ ไม่ควรสรุปว่ามารดาไม่มีน้ำนม

??????????? -ควรมั่นใจว่ามารดาสามารถทำความสะอาดชุดปั๊มนมให้ปราศจากเชื้อได้ หากมารดาตั้งใจว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยร่วมกับการใช้เครื่องปั๊มนม

??????????? -หลีกเลี่ยงเครื่องปั๊มนมด้วยมือที่ปลายเป็นลูกยางแดง เนื่องจากจะทำให้เจ็บเต้านมแล้วยังยากในการทำความสะอาดและทำให้น้ำนมที่ได้ไม่สามารถใช้เลี้ยงทารกได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการให้นมแม่

1001

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการให้นมแม่ (breastfeeding supplementer)

??????????? -อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการให้นมแม่จะช่วยให้ทารกดูดนมได้เพียงพอในทารกที่ต้องดูดนมนานหรือทารกที่มีแรงดูดน้อย ทารกที่ใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการให้นมแม่จะต้องสามารถจะเข้าเต้าและดูดนมแม่ได้

??????????? -อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการให้นมแม่เป็นอุปกรณ์ที่จะปล่อยน้ำนมออกที่เต้านมให้กับทารก ดังนั้นจะกระตุ้นการสร้างน้ำนม กระตุ้นการดูดนมและให้ทารกได้ใกล้ชิดกับมารดา หากทารกไม่สามารถเข้าเต้าและดูดนมได้ วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้ได้

??????????? -อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการให้นมแม่สามารถจะหาซื้อหรือทำเองก็ได้ การใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการให้นมแม่ที่ทำเอง อาจใช้นมแม่ใส่ในถ้วยและใช้ปลายสายยางข้างหนึ่งใส่ถ้วยและต่อปลายอีกปลายไว้ที่เต้านมอยู่ในปากทารก ขณะที่ทารกดูดนมจากเต้านม น้ำนมจะไหลจากถ้วยที่ใส่นมผ่านเข้ามาที่สายยางและเข้ามาในปากทารก

??????????? -สายยางที่ใช้ในอุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการให้นมแม่จะต้องแช่น้ำ ล้างและต้องทำให้ปราศจากเชื้อหลังการใช้ในแต่ละครั้งโดยเฉพาะหากใช้ในทารกคลอดก่อนกำหนดหรือป่วย หรืออาจจะแช่ ล้างน้ำร้อนและทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างภาชนะสำหรับทารกที่คลอดครบกำหนด การทำความสะอาดสายยางเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของมารดาและบุคลากรทางการแพทย์ มารดาอาจต้องการความช่วยเหลือหากจำเป็นต้องใช้วิธีนี้ หากเป็นไปได้ การเลือกใช้วิธีที่สะดวกและง่ายกว่าเช่น การป้อนนมด้วยถ้วยอาจจะเหมาะสมกว่า

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการป้อนนมที่บีบออกมาจากเต้านมให้กับทารก

นมขวด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -การป้อนนมโดยใช้สายยาง ไขมันอาจจะเกาะติดกับผนังท่อสายยางได้ ทำให้ทารกได้รับพลังงานน้อยกว่าที่ปริมาณนมที่ได้รับ หากจำเป็นต้องให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง การใช้สายยางต่อกับที่บรรจุที่ระดับส่วนบนของน้ำนมก่อนจะทำให้ส่วนครีมของนมได้รับการให้กับทารกก่อน

??????????? -การป้อนนมด้วยขวดและจุกนมเทียม จุกนมเทียมจะมีหลากหลายขนาดและรูปร่าง ไม่มีจุกนมเทียมอันใดที่ดีที่สุดที่เหมาะสำหรับทารกเหมือนเต้านมแม่ ทารกที่กินนมขวดจะไม่สนใจที่จะกินนมจากเต้า ทารกสามารถจะมีพัฒนาการจากการกินนมแม่ผ่านสายยาง กินนมแม่ด้วยถ้วย และกินนมแม่จากเต้านมได้ โดยที่ทารกไม่จำเป็นต้องกินนมจากขวดหรือจุกนมเทียมและการกินนมจากขวดไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการเพื่อกินนมจากเต้า

??????????? -น้ำสะอาดหรือพลังงานที่ใช้ไม่ได้มีพร้อมในทุกที่ที่จะทำความสะอาดขวดนมหรือจุกนมเทียมหรือใช้ในการชงนม ซึ่งจะทำให้ทารกตกอยู่ในความเสี่ยง หากมารดาวางแผนที่จะเลี้ยงทารกโดยใช้ขวดนมหรือจุกนมเทียม มารดาควรได้รับการสอนให้สามารถใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้ด้วยความปลอดภัย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

นมที่ได้รับบริจาคและนมที่ผ่านความร้อน

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? นมที่ได้รับบริจาคและนมที่ผ่านความร้อน

??????????? การผ่านความร้อนจะฆ่าเชื้อเอชไอวี มารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวีสามารถจะให้นมที่ผ่านความร้อนสำหรับลูกได้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีในลูก นมแม่ไม่ควรจะผ่านความร้อนหากไม่จำเป็น นมมารดาที่ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องผ่านความร้อนในกรณีที่ให้นมสำหรับลูกตนเอง ความร้อนจะทำลายภูมิคุ้มกันและเอนไซม์ในนม อย่างไรก็ตาม แม้นมแม่ที่ผ่านความร้อนก็ยังมีคุณค่าเหนือนมผสม ไม่ควรให้นมที่ผ่านความร้อนสำหรับลูกตนเองยกเว้นในกรณีที่มารดาติดเชื้อเอชไอวี

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การใช้นมจากแม่นม

10031738_meguri_(34)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? -ในบางวัฒนธรรม ครอบครัวอาจหาแม่นมหากมารดาเสียชีวิตหรือป่วยหนัก หากมารดาต้องห่างไกลจากทารกเป็นเวลานานหรือติดเชื้อเอชไอวี แต่หากเหตุผลในการให้นมคือมารดาติดเชื้อเอชไอวี แม่นมควรได้รับการติดการติดเชื้อเอชไอวีว่าไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี

??????????? -แม่นม หากยังมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ จำเป็นต้องได้รับการให้คำปรึกษาเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยเพื่อจะได้ไม่ได้รับการติดเชื้อระหว่างช่วงให้นม แม่นมควรจะได้รับการประเมินและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อให้สามารถให้นมแม่ได้เป็นอย่างดี

??????????? -สิ่งสำคัญคือมารดาต้องอยู่ใกล้ชิดกับทารก และดูแลลูกมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อที่จะสร้างความผูกพันกับลูก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)