ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบ

10024583_81

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -บางครั้งน้ำนมจะขังอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม เรียกภาวะนี้ว่า ?ท่อน้ำนมอุดตัน?

??????????? -หากมีน้ำนมขังอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการอักเสบของเต้านม โดยในช่วงแรกจะเป็นการอักเสบของเต้านมชนิดที่ไม่มีการติดเชื้อ (non-infective mastitis) ซึ่งต่อมาจะตามมาด้วยการอักเสบของเต้านมชนิดที่มีการติดเชื้อ (infective mastitis)

??????????? -ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบ สามารถเกิดได้จาก

??????? การให้นมไม่บ่อยพอ อาจเป็นจากการที่ทารกตื่นไม่ดี การพลาดการสังเกตอาการแสดงที่บ่งบอกว่าทารกหิว หรือมารดายุ่ง

??????? การให้นมจากส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านมได้ไม่เต็มที่

??????? แรงกดบนเต้านม ซึ่งอาจจะเกิดจากเสื้อผ้าที่แน่นเกินไป การนอนทับบนเต้านม แรงกดจากนิ้วมือที่กดบนเต้านมไม่เหมาะสม หรือการบาดเจ็บของเต้านม

??????????? -มารดาที่มีท่อน้ำนมอุดตันอาจจะบอกว่ารู้สึกคลำได้ก้อน ผิวหนังในตำแหน่งที่เหนือก้อนจะแดง อาจจะกดเจ็บบริเวณก้อน โดยปกติมารดาจะไม่มีไข้หรือยังไม่มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว

??????????? -มารดาที่มีอาการเต้านมอักเสบอาจมีอาการดังต่อไปนี้

??????? มีอาการแดงหรือปวดบริเวณที่มีเต้านมอักเสบ

??????? มีไข้หรือไข้ร่วมกับหนาวสั่น

??????? เหนื่อย คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเนื้อตัวหรือกดเจ็บบริเวณที่เป็นเต้านมอักเสบ

??????????? -อาการของเต้านมอักเสบจะเหมือนกันทั้งเต้านมอักเสบชนิดไม่มีการติดเชื้อและชนิดที่มีการติดเชื้อ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การช่วยมารดาลดอาการตึงคัดเต้านม

10508126_haru_l___kimono_stri

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? -เพื่อช่วยในการรักษาอาการตึงคัดเต้านม มีความจำเป็นต้องให้ทารกดูดนมหรือบีบนมออก โดยการปฏิบัติดังนี้จะส่งผลให้

??????? ลดความอึดอัดหรือไม่สบายตัวของมารดา

??????? ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้แก่ เต้านมอักเสบหรือฝีที่เต้านม

??????? ช่วยให้มั่นใจว่าการสร้างน้ำนมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

??????? ให้ทารกสามารถกินนมแม่ได้

??????????? -วิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการตึงคัดเต้านม

??????? ตรวจสอบการเข้าเต้าของมารดาว่า ทารกเข้าเต้าได้ดีหรือไม่ ถ้าไม่

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?? –ช่วยทารกให้เข้าเต้าได้ดีเพียงพอที่จะทำให้ดูดนมออกจากเต้านมได้?

??????????????????????????? – แนะนำว่ามารดาควรบีบนมด้วยมือด้วยตนเองก่อนการให้ทารกดูดนม เพื่อให้หัวนมและลานนมไม่ตึงและง่ายในการเข้าเต้า

??????? หากการให้ทารกดูดนมอย่างเดียวยังช่วยลดการตึงคัดเต้านมไม่ดี แนะนำให้มารดาบีบน้ำนมด้วยมือออกระหว่างมื้อการให้นมทารกจนกระทั่งเต้านมลดการคัดตึง

??????? กระตุ้นให้มารดาให้นมลูกบ่อยๆ ถ้าให้ได้นมไม่มาก กระตุ้นให้มารดาให้นมทารกบ่อยและนานตามความต้องการของทารก

??????? การอาบน้ำอุ่นอาจช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น

??????? การนวดหลังหรือต้นคอ หรือการปฏิบัติอื่นๆ ที่ช่วยให้มารดาผ่อนคลายอาจช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น

??????? ช่วยให้มารดาสบายขึ้น โดยมารดาอาจต้องการการพยุงเต้านมหากเต้านมใหญ่ขึ้นมาก

??????? จัดบรรยากาศที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยสร้างความมั่นใจให้กับมารดาว่าการตึงคัดเต้านมจะค่อยๆ หายไป

??????? ใช้การประคบเย็นช่วยลดอาการปวดระหว่างมื้อการให้นมทารก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การฝึกปฏิบัติของมารดาที่หอผู้ป่วยหลังคลอดจะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาเต้านมคัดหรือไม่?

10024619_141

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -ถ้าหากบุคลากรทางการแพทย์พบเต้านมคัดที่หอผู้ป่วย ควรต้องมีการทบทวนรูปแบบการดูแลมารดา การนำบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาใช้จะช่วยป้องกันการตึงคัดเต้านมที่รุนแรง หากตอบคำถามว่า ?ใช่? จากคำถามต่อไปนี้ แสดงว่าจะพบการตึงคัดเต้านมของมารดาน้อยในหอผู้ป่วยหลังคลอด

??????????? คำถามเหล่านี้ ได้แก่

??????? มีการให้ทารกสัมผัสผิวกับมารดาหลังคลอดทันทีใช่หรือไม่?

??????? มีการให้ทารกกินนมแม่จากเต้านมภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอดใช่หรือไม่?

??????? บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยเหลือมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเพื่อทำให้มั่นใจว่ามารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าและให้นมลูกได้ ใช่หรือไม่?

??????? หากมารดายังไม่ได้ให้ลูกกินนมจากเต้านม มารดาจะได้รับการกระตุ้นและสอนให้บีบน้ำนมด้วยมือ ใช่หรือไม่?

??????? ทารกอยู่กับมารดาตลอด 24 ชั่วโมงใช่หรือไม่?

??????? มารดาทุกคนจะได้รับการกระตุ้นให้ให้นมลูกบ่อยตามความต้องการของทารกทั้งกลางวันและกลางคืน (อย่างน้อย 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง) ใช่หรือไม่?

??????? ทารกจะต้องไม่ใช้ขวดนม จุกนมเทียมหรือหัวนมหลอกแทนการดูดนมจากเต้านม ใช่หรือไม่?

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

 

อะไรคือการตึงคัดเต้านม?

825ea4606ddc45b9b89f25d00d303761

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? -อาการตึงคัดเต้านมปกติ เมื่อน้ำนมเริ่มมา การไหลเวียนของเลือดจะมาเลี้ยงเต้านมมากขึ้นพร้อมกันกับการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น เต้านมจะรู้สึกอุ่น ตึง และหนัก ลักษณะนี้จะเป็นลักษณะปกติ เพื่อลดการตึงคัด มารดาควรให้ทารกดูดนมบ่อยๆ และประคบเย็นที่เต้านมระหว่างมื้อของการให้นม เมื่อผ่านไปสองถึงสามวัน น้ำนมจะผลิตตามความต้องการของทารก

??????????? -การตึงคัดเต้านม หากน้ำนมไม่ได้ถูกดูดหรือบีบออก น้ำนม เลือด และน้ำเหลืองจะคั่งอยู่ในเต้านม ทำให้การไหลของนมไม่ดีจากการบวมหรือบวมน้ำ เต้านมก็จะรู้สึกร้อน แข็ง และปวด ซึ่งจะมองดูตึงและเป็นประกาย หัวนมก็อาจจะยึดตึงและแบนราบลง ทำให้ยากในการที่ทารกจะอ้าปากอมหัวนมและลานนม? จนทำให้เกิดอาการเจ็บหัวนมได้

??????????? -หากอาการตึงคัดยังเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง กลไกของปฏิกิริยาตอบกลับจะลดการสร้างน้ำนมลง

??????????? -สาเหตุของการตึงคัดเต้านม อาจรวมถึง

??????? การเริ่มต้นการให้นมลูกหลังทารกเกิดมีการเริ่มต้นช้า

??????? การเข้าเต้าไม่ดี ทำให้การดูดนมออกจากเต้านมไม่มีประสิทธิภาพ

??????? การให้นมในแต่ละครั้งสั้นเกินไป ห่างเกินไป และอาจจะไม่ได้ให้นมในช่วงกลางคืน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ขนาดและรูปร่างของหัวนม

nipple length

10031738_meguri_(34)รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? -ขนาดของหัวนมและเต้านมมีหลากหลายมาก โดยทารกสามารถจะดูดนมแม่ได้จากหัวนมและเต้านมได้เกือบทุกชนิด

??????????? -หัวนมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ระหว่างตั้งครรภ์ โดยจะยื่นยาวออกมา การเห็นหัวนมแบนราบหรือหัวนมบอดก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นมารดาควรได้รับการติดตามดูขณะให้นมลูกหลังคลอดในกรณีที่มีความจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ

??????????? -การที่มารดามีหัวนมบอดไม่จำเป็นต้องมีปัญหาในการให้นมบุตรเสมอไป เนื่องจากในการดูดนมทารกดูดจากเต้านมมากกว่าจากหัวนม ดังนั้น ควรให้ความมั่นใจกับมารดาและให้การสนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหลังคลอด

-หัวนมใหญ่และหัวนมยาวอาจทำให้ทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนมลำบาก โดยทำให้ทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนมได้ไม่ลึก การช่วยเหลือควรจัดท่าและทำให้ทารกอ้าปากเข้าไปอมหัวนมและลานนมได้มากพอ ไม่อมเฉพาะหัวนมอย่างเดียว ซึ่งน้ำนมจะไม่ไหล ทำให้ทารกดูดหรืองับหัวนมแรงจนทำให้เจ็บหัวนมและหัวนมแตกได้

-หากทารกขย้อนหัวนมออกจากปากบ่อยๆ เพราะหัวนมใหญ่ อาจจะต้องให้มารดาบีบน้ำนมออกและป้อนทารกด้วยถ้วยช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนทารกเริ่มโตขึ้น ปากใหญ่มากขึ้นจนสามารถอมหัวนมและลานนมได้ลึกพอ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)