การเจ็บหัวนม

DSC00943-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? -การให้ลูกกินนมแม่ไม่ควรมีอาการเจ็บ มารดาบางคนอาจจะเจ็บหัวนมเล็กน้อยขณะเริ่มให้ลูกกินนมใหม่ๆ ภายในสองสามวันแรก จากนั้นมารดาและทารกจะรู้สึกดีขึ้นขณะดูดนม หากอาการเจ็บหัวนมจนกระทั่งมารดาต้องขยับทารกออกจากเต้า หรือมองเห็นการแตกหรือการบาดเจ็บที่หัวนม สิ่งนี้แสดงถึงมีความผิดปกติ และจำเป็นต้องได้รับการใส่ใจ

??????????? -สาเหตุของการเจ็บเต้านมที่พบบ่อยสามารถป้องกันได้ หากมารดาเจ็บหัวนมในขณะที่อยู่ที่หอผู้ป่วยหลังคลอด ควรทำให้เกิดความมั่นใจว่าบุคลากรทางการแพทย์รู้วิธีที่จะช่วยมารดาเข้าเต้า ถ้าทารกเข้าเต้าได้ดีและมีการให้ทารกดูดนมบ่อย มารดาส่วนใหญ่ไม่ควรเจ็บหัวนม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

เต้านมอักเสบในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวี

B2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? -ในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวี เต้านมอักเสบหรือมีหัวนมแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกมา อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี

??????????? -หากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีมีเต้านมอักเสบ เป็นฝีที่เต้านมหรือมีหัวนมแตก มารดาควรหลีกเลี่ยงการให้นมจากเต้านมข้างที่มีอาการ และควรได้รับการแนะนำให้บีบนมหรือปั๊มนมออกเพื่อป้องกันการมีน้ำนมขังอยู่ในเต้านม ทำให้ป้องกันการแย่ลงของอาการและช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการคงการสร้างของน้ำนมให้มีอย่างต่อเนื่อง บุคลากรทางการแพทย์ควรช่วยทำให้มั่นใจว่ามารดาสามารถบีบหรือปั๊มน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

??????????? -การให้ยาฆ่าเชื้อเป็นข้อบ่งชี้ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งการใช้ยาฆ่าเชื้อควรได้รับยาจนครบ 10-14 วัน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

??????????? -ถ้ามารดามีเต้านมอักเสบข้างเดียว มารดาสามารถให้นมจากเต้านมอีกข้างได้โดยให้บ่อยขึ้นและนานขึ้น? ซึ่งจะทำให้การสร้างน้ำนมมีมากขึ้นและเพียงพอสำหรับทารก หลังจากนั้นเมื่อเต้านมที่อักเสบหายแล้วก็สามารถกลับมาให้นมข้างที่เป็นได้

??????????? -หากมารดามีเต้านมอักเสบทั้งสองข้าง ควรงดการให้นมทารก แต่จำเป็นต้องบีบหรือปั๊มนมออกบ่อยๆ และให้เกลี้ยงเต้า เพื่อคงการสร้างน้ำนมและเมื่อหายแล้ว การให้นมลูกก็สามารถกลับมาให้ได้ใหม่

??????????? -บุคลากรทางการแพทย์ควรอภิปรายกับมารดาถึงทางเลือกของการให้นม โดยมารดาอาจจะเลือกที่จะใช้นมแม่ที่ผ่านความร้อนหรือใช้นมผสมสำหรับการเลี้ยงทารก แต่การป้อนนมควรป้อนนมด้วยถ้วย เพื่อให้การกลับมากินนมแม่จากเต้านมสามารถทำได้เมื่อภาวะเต้านมอักเสบหายดีแล้ว

??????????? -บางครั้งมารดาอาจจะตัดสินใจที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่มารดาก็ควรบีบหรือปั๊มนมออกให้ดีเพื่อช่วยในการหายของเต้านมอักเสบ เมื่อหายแล้วจึงลดและหยุดบีบหรือปั๊มนม น้ำนมก็จะหยุดไปเอง

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

ยาที่ใช้รักษาเต้านมอักเสบ

10024583_8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -ยาที่ใช้ต้านอักเสบจะช่วยลดอาการอักเสบของเต้านม โดยอาจใช้ยา ibuprofen หากหาได้? หรืออาจใช้ยาแก้ปวดอย่างอ่อนเป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการ ได้แก่ พาราเซตามอล

??????????? -ยาฆ่าเชื้อมีข้อบ่งชี้ในการให้ดังนี้

??????? มารดามีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง

??????? มีหลักฐานว่ามีการติดเชื้อ เช่น เห็นการติดเชื้อที่หัวนมแตกหรือมีน้ำหนอง

??????? อาการของมารดาไม่ดีขึ้นหลังการให้นมอย่างมีประสิทธิภาพหรือบีบนมออกบ่อยๆ ตลอด 24 ชั่วโมง

??????? สภาพของมารดาแย่ลง

??????????? -ยาฆ่าเชื้อจะได้รับการสั่งจ่ายในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่แนะนำให้ให้ยาฆ่าเชื้อ 10-14 วัน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

 

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

การรักษาเต้านมอักเสบ

milk expression8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? -บุคลากรทางการแพทย์ควรอธิบายสิ่งที่มารดาควรต้องปฏิบัติ ได้แก่

??????? ให้ทารกดูดนมบ่อยๆ (หากไม่ได้ทำเต้านมอักเสบอาจลุกลามไปเป็นฝีหรือหนอง)

??????? หนทางที่ดีที่สุดคือการคงการให้นมลูกไปอย่างต่อเนื่องและให้นมลูกบ่อยๆ

??????? ตรวจสอบว่าทารกเข้าเต้าได้ดีหรือไม่

??????? แนะนำให้มารดาให้นมด้านที่มีเต้านมอักเสบก่อน (หากไม่มีอาการปวดมากเกินไป)

??????? นวดอย่างนุ่มนวลบริเวณที่มีท่อน้ำนมอุดตันหรือบริเวณที่ปวด โดยนวดไล่ไปถึงบริเวณหัวนมก่อนหรือระหว่างการให้นมลูก

??????? ตรวจสอบการใส่เสื้อผ้าของมารดา โดยเฉพาะชุดชั้นในว่าไม่แน่นจนเกินไป

??????? พักผ่อนไปพร้อมกับทารกเพื่อที่จะมีเรี่ยวแรงให้นมลูกได้บ่อย มารดาควรดื่มน้ำจำนวนมาก หากมารดาเป็นลูกจ้าง ควรลาป่วยพักงานเพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมเต็มที่ โดยอาจใช้คำว่า ?ให้มารดาได้พัก แต่ไม่ควรพักเต้านม (Rest the mother, not the breast)?

??????????? -หากมารดาและทารกให้นมลูกได้ไม่บ่อย ควรแนะนำให้มารดาบีบหรือปั๊มน้ำนมออกแล้วป้อนให้ทารก เพราะหากน้ำนมไม่ได้ถูกบีบหรือปั๊มออก การสร้างน้ำนมจะหยุด เต้านมจะปวดมากขึ้นและอาจทำให้เกิดเป็นฝีหนอง

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การประเมินมารดาที่มีท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ

10024583_81

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? -สังเกตมารดาขณะให้นมลูก โดยดูตำแหน่งของการวางนิ้วมือหรือกดเต้านมที่อาจไม่เหมาะสมและทำให้การขัดขวางการไหลของน้ำนม

??????????? -สังเกตว่าหากเต้านมน้ำหนักมาก ถ้าท่อน้ำนมอุดตันหรือมีเต้านมอักเสบบริเวณด้านล่างของเต้านม การยกเต้านมขึ้นขณะให้นมลูกอาจจะช่วยให้น้ำนมในท่อน้ำนมส่วนล่างไหลได้ดีขึ้น

??????????? -ถามความถี่ของการให้นมลูกและมารดาให้นมลูกตามความต้องการของทารกหรือไม่

??????????? -ถามเกี่ยวกับการกดรัดจากเสื้อผ้าที่แน่นเกินไป โดยเฉพาะชุดชั้นในที่ใส่เวลากลางคืน หรือการบาดเจ็บจากการกดหรือกระแทกบริเวณเต้านม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)