ขั้นตอนการตรวจเต้านม ตอนที่ 1

DSC00927-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สิ่งแรกของการตรวจเต้านมคือ การสอบถาม

??????????? -ถามมารดาว่าขณะตั้งครรภ์เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การที่เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นและลานนมมีสีเข้มขึ้น สิ่งเหล่านี้จะบ่งบอกว่ามีการสร้างเนื้อเยื่อที่สร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น

??????????? -ถามมารดาว่าเคยมีการผ่าตัดเต้านมมาก่อนหรือไม่ การผ่าตัดนั้นตัดท่อน้ำนมหรือปลายประสาทหรือไม่ และมีการอักเสบเป็นหนองที่เต้านมหรือไม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

สรุปการดูแลหัวนมและเต้านมมารดา

10024255_13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจเต้านมและหัวนมมารดา

??????????? -การตรวจเต้านมและหัวนมมารดา ควรทำขณะสังเกตมารดาให้นมลูกและควรสังเกตจนกระทั่งสิ้นสุดการให้นม เพราะบุคลากรจะได้เห็นสิ่งที่สำคัญในการให้นมลูกในสถานการณ์จริง

??????????? -การตรวจเต้านมและหัวนมมารดา จะทำเมื่อมีความลำบากในการให้นม โดยการตรวจควรตรวจในสถานที่มิดชิดเป็นส่วนตัว และขออนุญาตก่อนการสัมผัส

??????????? -มองดูรูปร่างของเต้านมและหัวนม มองดูการบวม การแดง หรือลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติ และมองดูร่องรอยของการผ่าตัดที่เต้านมในอดีต

??????????? -แจ้งมารดาถึงสิ่งที่ตรวจพบ เน้นสิ่งที่เป็นผลดี และให้ความมั่นใจกับมารดาว่าสามารถให้นมลูกได้

การป้องกันเต้านมคัด

??????????? -การตึงคัดเต้านมเป็นปกติใน 2-3 วันแรกหลังคลอด แต่การตึงคัดอย่างมากถือว่าผิดปกติ

??????????? -ปฏิบัติตามบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? ช่วยให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาทันทีหลังคลอด และเริ่มให้มารดาให้นมลูกภายในหนึ่งชั่วโมงหลังคลอดโดยให้กินนมแม่อย่างเดียวและไม่จำกัดระยะเวลา

??????? แสดงให้มารดาที่ต้องการความช่วยเหลือถึงวิธีการเข้าเต้า

??????? สอนมารดาถึงวิธีการบีบน้ำนมด้วยมือ

??????? เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวโดยไม่ให้น้ำหรืออาหารเสริมอื่น

??????? ให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันในบรรยากาศที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? กระตุ้นให้มารดาให้นมทารก 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมงโดยเฉพาะในวันแรกๆ หลังคลอด

??????? ไม่ควรให้จุกนมเทียม ขวดนม หรือหัวนมหลอกกับทารก

การรักษาการคัดตึงเต้านม

??????????? -ให้ทารกดูดนมหรือบีบน้ำนมออก โดยสนับสนุนให้มารดาให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง

??????????? -แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเข้าเต้า

??????????? -การบีบน้ำนมออกบางส่วน จะช่วยให้ลานนมและหัวนมนุ่มขึ้น ทำให้เข้าเต้าได้ดีขึ้น

??????????? -ให้นมลูกบ่อยขึ้น

??????????? -ใช้การประคบเย็นที่เต้านมระหว่างมื้อการให้นมจะช่วยให้มารดารู้สึกสบายขึ้น

??????????? -สร้างความเชื่อมั่นเรื่องการให้นมลูกและช่วยให้มารดารู้สึกสบาย

ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบ

??????????? อาจจะเกิดจากสาเหตุของการให้นมที่ไม่บ่อยพอ การให้นมไม่เกลี้ยงเต้า หรือมีการกดทับในบางส่วนของเต้านมซึ่งขัดขวางการไหลของน้ำนม

??????????? การรักษาทำโดย

??????????? -ช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น

??????? ตรวจสอบการเข้าเต้าและช่วยทำให้มารดาทำได้ถูกต้องและดีขึ้น

??????? ตรวจสอบการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป หรือการใช้นิ้วมือกดที่เต้านมอย่างไม่เหมาะสม

??????? ประคองหรือหนุนเต้านมที่ใหญ่ เพื่อให้น้ำนมไหลดี

??????????? -การแนะนำ

??????? ให้นมลูกบ่อย หากจำเป็นอาจต้องบีบน้ำนมเพื่อหลีกเลี่ยงการคัด

??????? นวดเบาๆ ไล่ไปที่หัวนม

??????? ใช้การประคบร้อนที่เต้านมบริเวณที่มีท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบก่อนการให้นมเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น

??????? ให้มารดาพักผ่อนแต่ควรคงการให้นมอย่างต่อเนื่อง

??????? ให้ยาลดการอักเสบหรือยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวด

??????????? -การให้ยาฆ่าเชื้อมีข้อบ่งชี้ดังนี้

??????? มารดามีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง

??????? อาการของมารดาไม่ดีขึ้นหลัง 24 ชั่วโมงเมื่อให้นมอย่างมีประสิทธิภาพบ่อยๆ หรือบีบน้ำนมออกช่วย

??????? สภาพของมารดาแย่ลง

??????????? -หากมารดาติดเชื้อเอชไอวีและมีอาการเต้านมอักเสบหรือเป็นหนอง ควรปฏิบัติดังนี้

??????? หลีกเลี่ยงการให้นมแม่จากเต้านมที่มีการอักเสบขณะยังมีอาการ

??????? บีบน้ำนมออกจากเต้านม โดยอาจให้นมผ่านความร้อนและให้นมลูกได้

??????? ให้มารดาพัก ประคบอุ่น กินน้ำมากๆ ให้ยาแก้ปวดและยาฆ่าเชื้อ

การเจ็บหัวนม

??????? ตัดสินใจสาเหตุของการเจ็บหัวนม รวมทั้งสังเกตทารกขณะกินนมและตรวจสอบหัวนมและเต้านม

??????? สร้างความมั่นใจให้กับมารดาในการให้นมลูก

??????? รักษาการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเจ็บหัวนม

??????? หลีกเลี่ยงการจำกัดความถี่ของการให้นม

หากทารกมีภาวะลิ้นติด ผิวหนังอักเสบ หรือภาวะอื่นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

สิ่งที่ไม่ได้ช่วยในการเจ็บหัวนม

DSC00928-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -อย่าหยุดการให้นมเพื่อพักหัวนม การหยุดให้นมจะทำให้เต้านมคัด ทำให้ลานนมและหัวนมแข็งซึ่งจะยากในการเข้าเต้ามากขึ้น การที่มารดาหยุดให้ลูกดูดนมจะทำให้การสร้างน้ำนมลดลงด้วย

??????????? -อย่าจำกัดความถี่ในการให้นมและระยะเวลาการให้นมในแต่ละครั้ง การจำกัดการให้นมจะไม่ช่วย หากปัญหาหรือสาเหตุยังไม่ได้รับการแก้ไข การดูดเพียงหนึ่งนาทีของการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดผลเสียต่อหัวนมและเต้านม ต่างจากการดูดนาน 20 นาทีของการเข้าเต้าที่เหมาะสมจะไม่เกิดผลเสียต่อหัวนมและเต้านมเลย

??????????? -ไม่ควรใช้สารใดๆ ที่หัวนมเพราะทารกจะดูดกลืนเข้าไปและเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ผิวบริเวณหัวนมจะมีความไวต่อสารต่างๆ ซึ่งอาจจะเพิ่มอาการเจ็บหัวนมขึ้นได้ และการทาน้ำมันหล่อลื่นที่หัวนมก็ไม่ได้ช่วยให้การเข้าเต้าดีขึ้น

??????????? -ไม่ควรใช้ nipple shield รักษาหัวนมเจ็บเป็นลักษณะประจำ เพราะบางครั้งการใช้ nipple shield ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้กระตุ้นเต้านมได้น้อยลง ทำให้น้ำนมไหลน้อยลงด้วย ซึ่งการที่น้ำนมไหลน้อยลงอาจมีผลต่อการดูดของทารกโดยอาจทำให้เจ็บหัวนมเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ การใช้ nipple shield ยังต้องใส่ใจเรื่องความสะอาดและการปนเปื้อนเชื้อที่ nipple shield หากทำความสะอาดได้ไม่เหมาะสม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การดูแลการเจ็บหัวนม

DSC00935-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? -ทำให้มารดามั่นใจว่าอาการเจ็บหัวนมสามารถรักษาให้หายได้ และป้องกันไม่ให้เกิดได้ในอนาคต

??????????? -รักษาสาเหตุของการเจ็บเต้านม

??????? ช่วยมารดาให้จัดท่าและเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม เพราะสิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุในการเจ็บหัวนม ให้มารดาแสดงการให้นมลูกให้ดู สอนมารดาในท่าให้นมท่าอื่นๆ ที่จะช่วยให้แรงกดของทารกต่อหัวนมหรือเต้านมเปลี่ยนไป สิ่งนี้ทำให้บริเวณหัวนมที่เจ็บดีขึ้น และทำให้ยังสามารถให้นมได้ต่อเนื่องขณะที่หัวนมที่เจ็บกำลังจะหาย

??????? รักษาสภาพผิวหนังและกำจัดสาเหตุของการเสียดสี รักษาเชื้อราทั้งในปากของทารกและที่หัวนม

??????? หากภาวะลิ้นติดทำให้ทารกไม่สามารถแลบลิ้นออกมาปิดบริเวณเหงือกด้านล่าง การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจาณาทำ Frenotomy อาจจำเป็น

??????????? -แนะนำวิธีที่ทำให้มารดาสบายขึ้นขณะที่หัวนมที่เจ็บกำลังจะหาย

??????? ทาน้ำนมที่บีบออกมาจากเต้านมที่หัวนม ซึ่งจะช่วยหล่อลื่นและทำให้หัวนมชุ่มชื้นขึ้น

??????? ประคบอุ่นที่เต้านมก่อนการป้อนนมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนม

??????? เริ่มให้นมลูกจากเต้านมที่เจ็บน้อยกว่าก่อน

??????? หากทารกง่วงนอนขณะให้นมและดูดนมได้ไม่ดีแต่ทารกยังอมหัวนมและลานนมอยู่ ใส่นิ้วเข้าไปข้างปากทารกเพื่อลดแรงดูด แล้วจึงนำทารกออกจากเต้านมอย่างนุ่มนวล

??????? ล้างหัวนมวันละ 1-2 ครั้งตามที่การอาบน้ำหรือทำความสะอาดร่างกายตามปกติ ไม่จำเป็นต้องล้างหัวนมทุกครั้งที่ให้นม หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ซึ่งจะทำลายน้ำมันที่ปกคลุมหัวนมตามธรรมชาติ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การสังเกตและการซักประวัติเรื่องการเจ็บหัวนม

DSC00927-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? -ถามมารดาโดยให้มารดาอธิบายว่าอะไรที่มารดารู้สึก?

??????????? เจ็บตอนเริ่มให้นมและค่อยๆ น้อยลงเมื่อทารกกินนมได้ สาเหตุส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเข้าเต้าหรือการอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก

??????????? เจ็บขณะตอนทารกดูดนมและอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นสุดการให้นม อาการที่มารดาบ่งบอกเป็นอาการแสบร้อนหรือปวดจี๊ด สาเหตุของอาการเหล่านี้เกิดจากการติดเชื้อรา Candida? abicans

??????????? -มองดูที่หัวนมและเต้านม

??????? หากผิวหนังสีน้ำตาล สาเหตุเกิดจากการเข้าเต้าไม่ดี

??????? หากผิวหนังสีแดง เป็นมัน คัน และผิวหนังลอก ซึ่งการเข้มขึ้นของผิวหนังจะไม่มี? สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อรา Candida? abicans

??????? ต้องระลึกไว้เสมอว่าการติดเชื้อราและการบาดเจ็บของเต้านมจากการเข้าเต้าที่ไม่ดีสามารถจะเกิดร่วมกันได้

??????? คล้ายคลึงกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หัวนมและเต้านมอาจจะเกิดตุ่มคัน ผิวหนังอักเสบ หรือความผิดปกติของผิวหนังอื่นๆ ได้

??????????? -สังเกตการให้นมจนสิ้นสุดการให้นมโดยใช้แบบสังเกตการให้นมลูก (breastfeed observation aid)

??????? ตรวจสอบวิธีการเข้าเต้าของทารก การอ้าปากอมหัวนมและลานนมและการดูดนม

??????? สังเกตว่ามารดาหยุดให้นมทารกหรือทารกหยุดกินนมด้วยตนเอง

??????? สังเกตลักษณะหัวนมว่าเป็นอย่างไรหลังจากสิ้นสุดการให้นม โดยหัวนมดูผิดรูปผิดร่างหรือถูกบีบ แดงหรือมีสีขาวเป็นเส้น

??????????? -ตรวจสอบในปากทารกว่ามีภาวะลิ้นติดหรือเชื้อราหรือไม่

??????????? -ถามมารดาเกี่ยวกับประวัติของติดเชื้อรา และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อรา เช่น การใช้ยาฆ่าเชื้อ

??????????? -ถ้ามารดาใช้เครื่องปั๊มนม ตรวจสอบว่าการใช้เครื่องประกบเข้าเต้าได้เหมาะสม และไม่ใช้แรงดูดสูงเกินไป

??????????? -ตัดสินถึงสาเหตุของการเจ็บหัวนม โดยสาเหตุที่พบบ่อยของการเจ็บหัวนม ได้แก่

??????????? การเข้าเต้าไม่ดี

??????? เป็นตามหลังการตึงคัดเต้านม และอาจร่วมกับการเข้าเต้าไม่ดีด้วย

??????? ทารกถูกดึงออกจากเต้านมเพื่อหยุดการให้นม โดยมารดาไม่มีการแยกเพื่อลดแรงดูดของทารกระหว่างปากกับเต้านม

??????? เครื่องปั๊มนมอาจจะมีดึงหัวนมและเต้านมให้ยืดออกมากเกินไปหรือมีการเสียดสีระหว่างเต้านมกับเครื่องปั๊มนม

??????? เชื้อราอาจจะผ่านจากปากทารกไปที่หัวนมได้

??????? ทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะยื่นลิ้นออกไปได้น้อย เหงือกด้านล่างจึงกดและเสียดสีกับเต้านมมากกว่า

??????????? -ยังมีสาเหตุที่พบได้น้อยของการเกิดการเจ็บหัวนมอีกมาก ซึ่งถ้าหากจำเป็นอาจต้องให้ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)