การให้อาหารเสริม

1196790681

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? – หลังหกเดือนแรก ทารกต้องการอาหารอื่นเพิ่มเติมจากนมแม่ เราเรียกอาหารเหล่านี้ว่า ?อาหารเสริม? พร้อมกับยังคงต้องกินนมแม่ต่อไปอีกอย่างต่อเนื่อง อาหารนี้จะช่วยเสริมแต่ไม่ได้ทดแทนนมแม่

-จนกระทั่งทารกอายุได้ 1 ปี นมแม่ก็ยังเป็นที่ส่วนสำคัญในอาหารของทารก โดยในช่วงระหว่าง 6 เดือนถึง 1 ปี ทารกจะเริ่มกินอาหารเสริม ซึ่งในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ทารกจะเรียนรู้การกินอาหารที่หลากหลายชนิดและมีลักษณะที่แตกต่างกัน

-เพื่อให้ยังคงมีการกระตุ้นการสร้างน้ำนม มารดาจะต้องให้นมแม่ก่อนการให้อาหารเสริมในแต่ละมื้อ

-การหยุดนมแม่ของเด็กจะเป็นกระบวนการของการพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีความพร้อม ไม่ควรให้เด็กหยุดนมแม่ในทันที ซึ่งในสภาวะนี้จะทำให้เกิดความเครียดขึ้นทั้งมารดาและทารก ควรให้เด็กค่อยๆ ลดและเลิกนมอย่างช้าๆ โดยกินอาหารอื่นในปริมาณที่เพียงพอและมารดายังคงเอาใจใส่และใกล้ชิดทารกอยู่เสมอ

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้น

pregnancysquare_after_pregnant_12122012

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? -ไม่มีอายุที่เจาะจงที่ควรจะหยุดนมแม่ นมแม่สามารถสร้างความใกล้ชิดระหว่างมารดาและทารก ป้องกันอาการเจ็บป่วย และยังคงมีคุณค่าทางอาหารที่ดี

-การให้นมแม่ในทารกที่อายุมากขึ้นจะมีประโยชน์ในทารกที่ป่วย เนื่องจากทารกเมื่อไม่สามารถกินอาหารอื่นได้ มักกินนมแม่ได้ นมแม่จะช่วยให้ทารกได้รับสารน้ำและช่วยป้องกันน้ำหนักลดในทารกได้

-การให้ลูกกินนมแม่สามารถบรรเทาอาการปวดหรือเสียใจได้

-ขณะที่ทารกอายุมากขึ้นการให้นมลูกจะแตกต่างจากขณะเป็นทารกแรกเกิด ทารกที่อายุมากขึ้นจะตื่นตัวมากกว่าและถูกดึงดูดโดยสิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมได้ง่ายกว่า เช่น เสียงหรือการเคลื่อนไหวต่างๆ ดังนั้นในการให้นมทารกที่อายุมากขึ้น ควรหาสถานที่สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เพื่อทารกจะได้กินนมแม่ได้เต็มที่

-เด็กที่อายุมากขึ้นอาจจะกินนมแม่วันละ 1-2 ครั้ง หรือในบางคนอาจกินเมื่อปวดหรือเสียใจก็ได้

-มารดาอาจจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อเอาชนะแรงกดดันจากรอบด้าน สถานที่ทำงาน ครอบครัว และตัวเด็กที่โตขึ้น ควรอภิปรายพูดคุยกับมารดาถึงสิ่งที่จะช่วยได้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์เหล่านั้น

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องอภิปรายกับมารดาที่เตรียมตัวกลับไปทำงานคืออะไร?

01_991

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำถาม ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องอภิปรายกับมารดาที่เตรียมตัวกลับไปทำงานคืออะไร?

-ประเด็นในการพูดคุย อภิปรายกับมารดา ในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนมารดาจะกลับไปทำงาน ได้แก่

  • มารดาสามารถนำทารกไปทำงานด้วยได้หรือไม่
  • ทารกมีสถานที่ที่รับดูแลใกล้ที่ทำงานของมารดาหรือไม่ เพื่อมารดาสามารถจะมาให้นมทารกระหว่างช่วงพักหรือสามารถนำทารกมาหามารดาเพื่อให้นมได้
  • มารดาสามารถจะลดช่วงเวลาทำงานในระหว่างวันลงจนกระทั่งทารกอายุมากขึ้นได้หรือไม่

-หากไม่สามารถให้นมลูกระหว่างช่วงเวลาของการทำงานได้ แนะนำให้

  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และให้นมแม่บ่อยๆ ในช่วงที่มารดาลาพักหลังคลอด
  • คงการให้นมแม่อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่มารดาและทารกได้อยู่ด้วยกัน ตอนกลางคืน ตอนเช้าหรือในช่วงวันหยุด
  • ไม่ควรเริ่มอาหารอื่นๆ แทนนมแม่ก่อนความจำเป็น การเริ่มหากจำเป็นในช่วง 2-3 วันก่อนการกลับไปทำงานก็เพียงพอ
  • เรียนรู้เกี่ยวกับการบีบน้ำนมด้วยมือ เก็บน้ำนมและให้ผู้ดูแลป้อนนมแก่ทารก
  • หากเป็นไปได้ บีบน้ำนมเก็บทุก 3 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยในการสร้างน้ำนมและลดอาการตึงคัด โดยเต้านมจะผลิตน้ำนมมากขึ้น หากมีการบีบเก็บน้ำนมจนเกลี้ยงเต้า
  • สอนผู้ดูแลทารกให้ป้อนนมทารกด้วยถ้วยอย่างเหมาะสมและปลอดภัยพร้อมกับให้ความรัก ซึ่งทารกจะกลับมาดูดนมแม่ได้ง่ายกว่าการป้อนนมจากขวด เมื่อมารดากลับมาบ้าน
  • ติดต่อและขอคำแนะนำจากมารดาที่ทำงานและสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

-ข้อมูลของมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่และต้องกลับไปทำงานสามารถมีปรับใช้กับมารดาที่อยู่ในวัยเรียนได้

หนังสืออ้างอิง

 

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

ทำไมต้องสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากมารดากลับไปทำงานแล้ว

breastfeedy1-

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำถาม หากนายจ้างสอบถามว่า ทำไมต้องสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากมารดากลับไปทำงานแล้ว ท่านจะตอบนายจ้างว่าอย่างไร?

-นายจ้างผู้ที่สนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากเริ่มกับมาทำงานแล้ว จะได้ประโยชน์ด้วย ได้แก่

  • มารดาลางานน้อยกว่า เพราะทารกสุขภาพดี
  • มารดามีจิตใจมุ่งมั่นกับงานได้ดีกว่า เพราะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทารก
  • นายจ้างยังคงรักษาแรงงานที่มีฝีมือไว้ได้
  • มารดาจะตั้งใจที่จะทำงานให้นายจ้างมากขึ้นเนื่องจากการเอื้อเฟื้อและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ครอบครัวและชุมชนจะมีความรู้สึกที่ดีต่อนายจ้างที่เอื้อเฟื้อและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ทารกที่กินนมแม่จะเป็นแรงงานที่มีสุขภาพดีในอนาคต

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ทำงาน

Mom3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? –มารดาหลายคนมักจะเริ่มอาหารเสริมในทารกเร็วเกินไปและหยุดการให้นมแม่เมื่อต้องการไปทำงาน บุคลากรทางการแพทย์ควรช่วยให้มารดาสามารถจะคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปได้แม้มารดาต้องเริ่มไปทำงาน

-การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีคุณค่าอย่างมาก ในมารดาที่ต้องไปทำงานนอกบ้าน ยังจะได้ประโยชน์จากการให้ลูกกินนมแม่ เพราะว่า

  • ทารกจะป่วยน้อยลง ทำให้การลางานมาดูแลทารกที่ป่วยของมารดาลดลง
  • การให้นมแม่ในเวลากลางคืนง่าย ทำให้มารดาได้นอนพักมากกว่า
  • เพิ่มโอกาสมารดาและทารกจะอยู่ด้วยกันและมารดาจะมีความใกล้ชิดกับลูก
  • มารดาจะมีโอกาสได้พักขณะลูกกินนม
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและลึกซึ้งระหว่างมารดาและทารก

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)