สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก2

images123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทำไมจึงให้ความสำคัญในการพูดคุยสื่อสารกับมารดา?

สตรีตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับความรู้ที่ถูกต้องที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ทางการค้าของบริษัทนมผสม ข้อมูลที่ให้จะต้องมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับมารดาแต่ละคน การที่มารดาได้รับข้อมูลที่มีอคติจากผลประโยชน์ทางการค้า อาจทำให้การตัดสินใจของมารดาผิดพลาดได้

ทำไมจึงให้ความสำคัญกับการให้มารดาและทารกได้สัมผัสกันตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด????

? ? ? ? ? ?การให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดา???????????????????????????????????????????????

  • ช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับทารก ทำให้จังหวะการหายใจและการเต้นของหัวใจทารกสม่ำเสมอ
  • ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เริ่มต้น
  • ช่วยให้มารดาและทารกได้รู้จักซึ่งกันและกัน

โดยหากทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์เพิ่มเติม การให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาควรเริ่มต้นทันทีที่สามารถเริ่มต้นได้

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก1

images123รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ในการจะส่งเสริมให้โรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก จำเป็นต้องตอบคำถามที่สำคัญเหล่านี้ ได้แก่

ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญกับการเขียนนโยบายในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ติดประกาศให้เห็นเด่นชัดในโรงพยาบาล?

-นโยบายจะช่วยชี้ชัดว่า บุคลากรและการให้บริการจะต้องปฏิบัติการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในลักษณะของงานประจำ? และเป็นข้อตกลงที่ทุกคนยอมรับ โดยสิ่งนี้จะช่วยให้มารดาและครอบครัวสามารถคาดหวังสิ่งที่จะได้รับจากโรงพยาบาลได้

-เพื่อที่จะตรงกับวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก การปฏิเสธที่จะรับตัวอย่างนมหรือสิ่งสนับสนุนอื่นๆ จากบริษัทผู้ผลิตนมผสมหรือตัวแทนจำหน่ายเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องประกาศให้ชัด

-ในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ติดเชื้อเอชไอวีสูงจะต้องมีการเขียนแนวทางในการปฏิบัติในมารดากลุ่มนี้ให้ชัด เพื่อที่จะได้ดูแลมารดาในกรณีที่ไม่ได้ให้นมแม่ได้อย่างเหมาะสม

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการอบรมบุคลากรในโรงพยาบาล?

บุคลากรที่มีความรู้จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลดการปฏิบัติการใดๆ ที่ไม่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการยึดการปฏิบัติตามแนวทางโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกจะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นได้

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

ปัญหาตัวอย่างการให้นมลูกของมารดาที่ทำงาน 2

นมขวด

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ลูกของฉันอายุ 3 เดือน เธอกินนมบ่อยมาก โดยหลังจากคุณแม่ให้นมเสร็จไม่นาน เธอก็จะร้องไห้อีก คุณแม่คิดว่าน้ำนมอาจจะไม่พอ คุณแม่ควรเสริมอาหารเสริมหรือชงนมผสมให้กับลูกเพิ่มดีหรือไม่

ประเด็นในการอภิปรายที่เป็นไปได้

ควรจดจำและรับฟังมารดาพร้อมตอบสนองในลักษณะที่ชักชวนให้มารดาได้พูดออกมาและคิดวิเคราะห์เอง โดยคำถามที่ใช้ถามมารดา ได้แก้

-มารดาต้องการให้สถานการณ์เป็นอย่างไร?

-มารดาได้ลองพยายามอะไรไปแล้วบ้าง? มารดาคิดว่าควรจะลองทำอะไร?

  • บางครั้งทารกต้องการความช่วยเหลือในการให้กินนมได้ดี คุณแม่ได้ลองปรึกษาผู้รู้ให้ช่วยดูหรือสังเกตคุณแม่ขณะให้นมหรือไม่?
  • บางครั้งทารกอาจต้องการกินนม อยู่ใกล้ชิดมารดาหรืออยากอบอุ่นในอ้อมอกมารดาก่อนเวลาการให้นม คุณแม่คิดว่าสิ่งใดที่จะช่วยจัดการกับทารกหรือช่วยให้ทารกสงบก่อนที่จะให้นมลูก
  • หากทารกเจริญเติบโตได้ดี มีสิ่งใดที่จะช่วยให้ทารกสงบหรือลดการร้องกวน

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

ปัญหาตัวอย่างการให้นมลูกของมารดาที่ทำงาน 1

images1111

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ลูกของฉันอายุแปดเดือนแล้ว เขากินโจ๊กสองมื้อต่อวันและกินนมแม่เมื่อฉันกลับจากทำงาน เมื่อวานเขาปฏิเสธที่จะกินนมแม่ในช่วงเย็นและกลางคืน เช้านี้เมื่อตื่นขึ้นมาเขาก็ไม่ยอมกินนมแม่อีก เขาได้รับนมขวดวันละ 4 มื้อ ฉันควรจะหยุดนมแม่ดีหรือไม่

ประเด็นในการอภิปรายที่เป็นไปได้

ควรจดจำและรับฟังมารดาพร้อมตอบสนองในลักษณะที่ชักชวนให้มารดาได้พูดออกมาและคิดวิเคราะห์เอง โดยสิ่งที่จะสอบถามมารดา ได้แก่

-มารดาต้องการให้สถานการณ์เป็นอย่างไร?

-มารดาได้ลองพยายามอะไรไปแล้วบ้าง? มารดาคิดว่าควรจะลองทำอะไร?

  • บางครั้งทารกในวัยนี้ปฏิเสธนมแม่เพราะฟันกำลังขึ้นหรือเจ็บป่วย คุณคิดว่าลูกคุณมีอาการนี้หรือไม่?
  • การให้นมแม่เป็นอย่างไร บางครั้งทารกอาจจะถูกดึงดูดความสนใจจากบรรยากาศรอบด้าน คุณแม่กำลังยุ่งหรือเร่งรีบให้นมหรือไม่?
  • การให้นมแม่เมื่ออยู่บ้านอาจจะต้องขอรายละเอียดว่าให้บ่อยแค่ไหน คุณแม่ได้ใช้เวลาอยู่กับลูกและให้นมลูกในวันหยุดและขณะที่ออกนอกบ้านหรือไปซื้อของด้วยหรือไม่?
  • คุณแม่และลูกนอนที่ไหน นอนด้วยกันหรือไม่? และลูกได้กินนมบ่อยแค่ไหนในเวลากลางคืน
  • ลูกได้กินอาหารมากน้อยแค่ไหนขณะที่มารดาไม่อยู่บ้าน จะลดขนาดอาหารช่วงกลางวันลงได้หรือไม่ และจะได้เพิ่มการให้นมแม่ในช่วงเย็นหรือกลางคืนเมื่อคุณแม่กลับมา
  • ให้ผัก ผลไม้หรืออาหารที่หลากหลายที่ไม่ได้ทำให้ทารกอิ่มเท่ากับการกินโจ๊ก คุณแม่คิดว่ามีอาหารอะไรที่จะให้ได้บ้างนอกจากการกินโจ๊ก
  • นมแม่ยังเป็นแหล่งที่สำคัญของสารอาหารในทารกอย่างน้อยสองปีหรือนานกว่านั้น

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การจัดกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และกิจกรรม

w33

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การจัดอบรมกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และกิจกรรม

-ผู้ช่วยในการจัดกลุ่มสนับสนุนมารดาจากแม่สู่แม่จำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดีและมีความรู้เรื่องการให้อาหารสำหรับทารก มารดาที่มีประสบการณ์แล้วก็อาจจะเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะต่างๆ ในการช่วยเหลือและดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-ในกิจกรรม ควรจะสังเกตวิธีการใช้ทักษะการสื่อสารในการช่วยเหลือคุณแม่มือใหม่ในแต่ละกลุ่ม

  • จัดผู้เข้ารับการอบรม 6-8 คนนั่งเป็นรูปวงกลม สมมุติให้ผู้รับการอบรม 2 คนเป็นคุณแม่มือใหม่ ส่วนคนที่เหลือเป็นมารดาที่มีประสบการณ์ โดยเลือกคนหนึ่งจากมารดาที่มีประสบการณ์ เป็นผู้ช่วยในการจัดการกระตุ้นให้มีการอภิปรายและให้มารดาทุกคนได้แบ่งปันประสบการณ์
  • ให้ผู้เข้าอบรมที่เหลือนั่งล้อมวงอยู่รอบนอกในฐานะผู้สังเกตการณ์
  • ให้ผู้เข้าอบรมนั่งรอบคุณแม่คนใหม่ตอบคำถามและช่วยเหลือคุณแม่คนใหม่ โดยสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง ไม่มีการสอนบรรยาย เน้นการฝึกทักษะการปฏิบัติในกิจกรรมนี้
  • กระตุ้นให้มารดาที่มีประสบการณ์แบ่งปันวิธีที่จะเอาชนะอุปสรรคที่พบในทารกวัยเดียวกัน การแบ่งปันนี้จะแสดงให้คุณแม่คนใหม่เห็นประเด็นสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สร้างความเป็นเพื่อนระหว่างกันที่จะสื่อสารให้คำปรึกษา และทำให้เห็นปัญหาร่วมที่มักพบในคุณแม่คนใหม่

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)