การเตรียมการสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่กลับไปทำงาน

mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? มารดาที่ทำงานประจำเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือลูกจ้าง เมื่อใกล้ครบกำหนดการลาคลอดบุตรจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวในการที่จะกลับไปทำงาน โดยการเตรียมตัวขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานและการสนับสนุนหรือเอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหน่วยงานนั้น ได้แก่

ในองค์กรหรือหน่วยงานที่มีสวัสดิการบุคลากรในการจัดการให้มีการดูแลทารกลูกของบุคลากรระหว่างวัน (day care) และเปิดโอกาสให้มารดาสามารถจะมีช่วงเวลาพักสำหรับการให้นมลูกได้ หากมารดาทำงานในหน่วยงานลักษณะนี้ การปรับตัวจะน้อยเนื่องจากมารดาสามารถจะสามารถให้นมลูกได้แม้จะกลับไปทำงานแล้ว

ในองค์กรหรือหน่วยงานที่ไม่มีสวัสดิการในการจัดให้มีการดูแลลูกบุคลากรระหว่างวัน มารดาจำเป็นต้องวางแผนในการหาที่ที่รับดูแลทารกในช่วงเวลากลางวันหรือในมารดาที่ทำงานใกล้บ้านอาจกลับมาให้นมลูกในช่วงเวลากลางวันได้ แต่หากมีข้อจำกัดในการให้ลูกกินนมแม่จากเต้าระหว่างช่วงกลางวัน มารดากลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับความรู้และการฝึกปฏิบัติในการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมแม่ และรู้วิธีการเก็บรักษา โดยที่หากจำเป็นต้องมีผู้ที่ต้องดูแลให้นมแม่ที่เก็บไว้แทน ผู้ดูแลควรได้รับการให้ความรู้ในเรื่องการใช้นมแม่ที่เก็บรักษาและนำมาป้อนให้กับทารก

ในองค์กรหรือหน่วยงานที่เอื้อให้มีการบีบเก็บนมแม่ อาจมีมุมนมแม่ที่มารดาสามารถบีบเก็บน้ำนมและมีตู้เย็นสำหรับช่วยเก็บรักษานมแม่ที่บีบเก็บได้ มารดาควรเตรียมกระติกหรือกล่องเก็บความเย็นที่จะใช้ใส่น้ำแข็งแช่นมแม่ขณะเดินทางกลับบ้าน เมื่อมารดากลับบ้านแล้ว สามารถจะเลือกเก็บในตู้เย็นในช่องปกติหรือช่องแข็งได้แล้วแต่ระยะเวลาการนำไปใช้ให้นมทารก อย่างไรก็ตามหากไม่มีการสนับสนุนสถานที่บีบเก็บนมแม่หรือตู้เย็นที่ใช้เก็บนมแม่ มารดาอาจบีบเก็บน้ำนมทุก 3 ชั่วโมงในห้องน้ำและนำนมแม่ที่บีบเก็บแช่ในกระติกหรือกล่องเก็บความเย็นที่ใส่น้ำแข็ง โดยการเก็บนมแม่ใส่แช่น้ำแข็งจะเก็บได้ 24 ชั่วโมง1 ซึ่งจะเพียงพอระหว่างวันในการทำงาน หลังจากกลับจากทำงาน มารดาควรให้ลูกดูดนมจากเต้านม และให้ลูกกินนมแม่ต่อในช่วงเวลากลางคืนและเช้าก่อนมารดาไปทำงาน ในช่วงระหว่างวันที่มารดาไปทำงาน สามี ปู่ย่าตายาย บุคคลในครอบครัว หรือผู้ที่ดูแลสามารถนำนมแม่ที่เก็บรักษาในตู้เย็นมาให้แก่ทารกได้ โดยเลือกใช้นมแม่ที่สดและเก็บใหม่ก่อนเสมอ จากนั้นจึงใช้นมที่เก็บไว้นานกว่าโดยวัตถุประสงค์ของการให้นมในลักษณะนี้ เพื่อให้ทารกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากนมแม่ อย่างไรก็ตาม แม้ทารกจะได้รับนมแม่ที่เก็บแช่ไว้ในตู้เย็นในช่องปกติหรือช่องแข็ง คุณสมบัติของนมแม่ที่นำมาใช้ก็ยังมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับทารกมากกว่านมผสม เตรียมการฝึกผู้เลี้ยงและทารกให้คุ้นเคยกับการป้อนนมด้วยถ้วยก่อนมารดากลับไปทำงาน 1-2 สัปดาห์ สำหรับวันที่หยุดงาน ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว โดยหากมีน้ำนมเหลือ แช่เก็บในตู้เย็นเพื่อนำไปใช้เมื่อมารดาไปทำงาน

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

 

 

 

การลาพักของมารดาหลังคลอด

images123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?หลังการคลอดในมารดาในแต่ละกลุ่มอาชีพจะมีสิทธิในการลาคลอดบุตรได้ดังนี้

-ข้ารับราชการหรือรัฐวิสาหกิจสามารถลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยการลาจะลาวันที่คลอดบุตร ก่อนหรือหลังคลอดบุตรก็ได้ แต่เมื่อรวมวันลาแล้วต้องไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะนับรวมวันหยุดราชการด้วย ในระหว่างการลาจะได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน

-พนักงานของรัฐสามารถลาคลอดบุตรได้ 45 วันโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน และหากลาต่ออีก 45 วันสามารถขอรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากกองทุนประกันสังคมได้ร้อยละ 50

-ลูกจ้างมีสิทธิที่จะลาคลอดบุตรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 41บัญญัติว่า ?ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อการคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน?90?วัน การลาตามวรรคหนึ่ง?ให้นับวันหยุดที่มีในระหว่างลาด้วย? โดยในการจ่ายค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ?มาตรา?59?กำหนดไว้ว่า??ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา?แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน??หากในวันลาที่เหลือหากลูกจ้างต้องการลาหยุดงานต่อไป?ลูกจ้างมีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรในอัตราร้อยละ?50?ของค่าจ้างจนครบการลาคลอด?90?วันได้ นั่นคือ สามารถลาคลอดบุตรได้ 45 วันโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน และหากลาต่ออีก 45 วันลูกจ้างสามารถขอรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากกองทุนประกันสังคมได้ครึ่งหนึ่งของเงินเดือนคล้ายกับพนักงานของรัฐ

-อาชีพอิสระหรือแม่บ้าน มารดาที่มีอาชีพอิสระที่สามารถจะเลือกเวลาการทำงานได้ จะมีโอกาสที่จะจัดสรรเวลาการทำงานให้เหมาะสมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งความยืดหยุ่นของตารางเวลาการทำงานจะมีมากกว่า สำหรับแม่บ้านอาจต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับภาระงานในบ้าน การดูแลเรื่องอาหาร ความสะอาด การซักรีดเสื้อผ้า และอาจร่วมกับการต้องดูแลบุตรคนก่อนในกรณีที่มารดาลูกอยู่ในช่วงระยะใกล้กัน กิจกรรมเหล่านี้ หากเป็นภาระงานที่มากเกินไป? มารดาจำเป็นต้องปรึกษากับสามีเพื่อหาความช่วยเหลือ โดยอาจใช้วิธีการจ้างเหมาในงานบางอย่าง เพื่อลดการใช้เวลากับกิจกรรมที่เป็นงานบ้าน และมีเวลาที่จะใช้สำหรับการดูแลลูกให้ได้กินนมแม่

การที่มารดาได้ลาพักหลังคลอด มารดาจะมีโอกาสได้อยู่ดูแลทารกและสามารถให้นมทารกได้อย่างต่อเนื่อง มารดาที่ลาพักหลังคลอดได้นานจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า1-4 มารดาที่กลับไปทำงานเต็มเวลาเร็วจะลดระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลง5 ในประเทศยุโรปบางประเทศที่มีสวัสดิการสังคมที่ดีและเห็นความสำคัญในการลาพักหลังคลอดบุตรเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีกฎหมายที่กำหนดให้ลาหลังคลอดได้นาน โดยมีเงินเดือนให้ระหว่างการลา ตัวอย่างเช่น ประเทศสโลวาเนียให้ลาคลอดได้หนึ่งปีโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน ประเทศสวีเดนและนอร์เวย์จะเปิดโอกาสให้มารดาลาพักหลังคลอดถึงหนึ่งปีครึ่งหรือมากกว่านั้นเพื่อเลี้ยงดูทารกโดยที่มารดายังได้รับเงินเดือนโดยรวมราวร้อยละ 77-86 ต่อปี สำหรับในทวีปเอเชีย ประเทศเวียดนามออกกฎหมายให้สตรีลาพักหลังคลอดได้ถึงหกเดือน ซึ่งนโยบายที่ส่งเสริมให้มารดาได้อยู่ดูแลลูกจนกระทั่งครบหกเดือนน่าจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนให้สูงขึ้นได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Ogbuanu C, Glover S, Probst J, Liu J, Hussey J. The effect of maternity leave length and time of return to work on breastfeeding. Pediatrics 2011;127:e1414-27.
  2. Skafida V. Juggling work and motherhood: the impact of employment and maternity leave on breastfeeding duration: a survival analysis on Growing Up in Scotland data. Matern Child Health J 2012;16:519-27.
  3. Baker M, Milligan K. Maternal employment, breastfeeding, and health: evidence from maternity leave mandates. J Health Econ 2008;27:871-87.
  4. Cooklin AR, Rowe HJ, Fisher JR. Paid parental leave supports breastfeeding and mother-infant relationship: a prospective investigation of maternal postpartum employment. Aust N Z J Public Health 2012;36:249-56.
  5. Mirkovic KR, Perrine CG, Scanlon KS, Grummer-Strawn LM. Maternity Leave Duration and Full-time/Part-time Work Status Are Associated with US Mothers’ Ability to Meet Breastfeeding Intentions. J Hum Lact 2014;30:416-9.

 

 

 

ฝีที่เต้านม (breast abscess)หลังคลอด

CIMG3154

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ฝีที่เต้านมเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หากอาการเต้านมอักเสบไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ฝีคือน้ำหนองที่รวมกันเป็นกลุ่มหากเกิดฝีที่เต้านม ผิวหนังเหนือบริเวณฝีอาจจะเปลี่ยนแปลงเป็นคล้ำหรือช้ำเลือดช้ำหนอง

การรักษาจำเป็นต้องได้รับการระบายหนองที่อยู่ในฝีออกโดยการใช้เข็มขนาดใหญ่ต่อหลอดฉีดยาเจาะแล้วดูดออก1 โดยบุคลากรทางการแพทย์อาจทำการดูดออกทุกวันจนกว่าหนองจะหมด เพื่อให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ผลดีขึ้น ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้แก่ cloxacillin หรือ dicloxacillin ที่ใช้รักษาเต้านมอักเสบแต่ระยะเวลาในการให้ยานานกว่าขึ้นอยู่กับขนาดของฝีและการหายของแผล ในระหว่างการรักษามารดาสามารถคงการให้นมลูกต่อได้1 หากตำแหน่งของฝีหรือการเจาะดูดอยู่ห่างจากหัวนมและไม่รบกวนการเข้าเต้า แต่หากตำแหน่งการเจาะดูดฝีอยู่ใกล้หัวนม ระหว่างนี้มารดาอาจใช้การบีบน้ำนมออกเพื่อคงการสร้างน้ำนม และสามารถกลับมาให้นมทารกได้ใหม่เมื่อแผลเริ่มหาย โดยมารดาสามารถจะให้นมลูกได้ตามปกติในเต้านมอีกข้าง ซึ่งควรเน้นย้ำให้มีการดูแลรักษาเต้านมอักเสบอย่างเหมาะสมจะป้องกันการเกิดฝีที่เต้านมที่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Spencer JP. Management of mastitis in breastfeeding women. Am Fam Physician 2008;78:727-31.

 

 

 

การให้ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะรักษาเต้านมอักเสบหลังคลอด

DSC00943-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การใช้ยาในการรักษาเต้านมอักเสบหลังคลอด ยาที่ใช้แบ่งเป็น

-ยาที่ใช้ต้านอักเสบจะช่วยลดอาการอักเสบของเต้านม โดยอาจใช้ยา ibuprofen หรืออาจใช้ยาแก้ปวดเป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการ ได้แก่ พาราเซตามอล

-ยาปฏิชีวนะมีข้อบ่งชี้ในการให้ดังนี้

  • มารดามีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง1
  • มีหลักฐานว่ามีการติดเชื้อ เช่น เห็นการติดเชื้อที่หัวนมแตกหรือมีน้ำหนอง หรือตรวจเพาะเชื้อพบ
  • อาการของมารดาไม่ดีขึ้นหลังการให้นมอย่างมีประสิทธิภาพหรือบีบนมออกบ่อยๆ ตลอด 24 ชั่วโมง1
  • สภาพของมารดาแย่ลง

เชื้อโรคส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุของการอักเสบของเต้านมมักเป็นเชื้อโรคที่อยู่บริเวณผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcus aureus2 ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ ได้แก่ cloxacillin หรือ dicloxacillin รับประทานต่อเนื่องกัน 10-14 วัน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะและชนิดของยาที่เหมาะสมยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม2

หนังสืออ้างอิง

  1. Cabou A, Babineau S, St Anna L. Clinical inquiry: what’s the best way to relieve mastitis in breastfeeding mothers? J Fam Pract 2011;60:551-2.
  2. Jahanfar S, Ng CJ, Teng CL. Antibiotics for mastitis in breastfeeding women. Cochrane Database Syst Rev 2013;2:CD005458.

 

 

 

 

การรักษาท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบหลังคลอด

DSC00928-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การรักษาท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ สิ่งที่สำคัญที่เป็นหลักในการรักษาที่มารดาต้องปฏิบัติ ได้แก่ การระบายน้ำนมออกจากเต้านมโดยการให้ทารกดูดนมบ่อยๆ และต่อเนื่อง1 หากไม่ได้ทำ ท่อน้ำนมอักเสบอาจลุกลามเป็นเต้านมอักเสบและลุกลามต่อไปเป็นฝีหรือหนอง รสชาติของนมมารดาที่มีเต้านมอักเสบจะมีรสอูมามิและรสเค็มเพิ่มขึ้น2 ซึ่งจะคล้ายกับรสชาติของหัวน้ำนมที่ทารกเคยได้รับมาก่อน ดังนั้นมารดาไม่ควรวิตกกังวลเรื่องการให้นมหรือรสชาติน้ำนม บุคลากรทางการแพทย์ควรตรวจสอบว่ามารดานำทารกเข้าเต้าได้ดีหรือไม่ และแนะนำให้มารดาให้นมด้านที่มีเต้านมอักเสบก่อน หากไม่มีอาการปวดมากเกินไป การนวดอย่างนุ่มนวลบริเวณที่มีท่อน้ำนมอุดตันหรือบริเวณที่ปวด โดยนวดไล่ไปถึงบริเวณหัวนมก่อนหรือระหว่างการให้นมลูกจะช่วยน้ำนมไม่อุดตัน การเลือกให้มารดาให้นมด้านที่เต้านมอักเสบก่อนเพื่อช่วยระบายน้ำนมจากเต้านมข้างที่อักเสบซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยให้เต้านมด้านที่อักเสบยังคงสร้างน้ำนมอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้มารดาใส่เสื้อผ้าหลวมๆ โดยเฉพาะชุดชั้นในไม่ควรแน่นจนเกินไป และมารดาควรพักผ่อนไปพร้อมกับทารกเพื่อที่จะมีเรี่ยวแรงให้นมลูกได้บ่อย ควรดื่มน้ำจำนวนมาก หากมารดาเป็นลูกจ้าง ควรลาป่วยพักงานเพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมเต็มที่ เพื่อ ?ให้มารดาได้พัก แต่ไม่ควรพักการให้นม?

หากมารดาและทารกให้นมลูกได้ไม่บ่อย ควรแนะนำให้มารดาบีบหรือปั๊มน้ำนมออกแล้วป้อนให้ทารก เพราะหากน้ำนมไม่ได้ถูกบีบหรือปั๊มออก การสร้างน้ำนมจะหยุด เต้านมจะปวดมากขึ้นและอาจทำให้เกิดเป็นฝีหนองได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Cabou A, Babineau S, St Anna L. Clinical inquiry: what’s the best way to relieve mastitis in breastfeeding mothers? J Fam Pract 2011;60:551-2.
  2. Yoshida M, Shinohara H, Sugiyama T, Kumagai M, Muto H, Kodama H. Taste of milk from inflamed breasts of breastfeeding mothers with mastitis evaluated using a taste sensor. Breastfeed Med 2014;9:92-7.

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)