การติดต่อคลินิกตรวจสุขภาพหลังคลอดเพี่อขอความช่วยเหลือของมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

DSC_0027-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? คลินิกตรวจสุขภาพมารดาหลังคลอด โดยปกติจะมีการนัดตรวจติดตามหลังคลอดในช่วงหนึ่งสัปดาห์และหกสัปดาห์หลังคลอด แต่หากมารดากลับบ้านไปแล้ว เกิดปัญหาในด้านการดูแลสุขภาพตนเอง ปัญหาเรื่องเต้านม ปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูทารก มารดาอาจมารับการปรึกษาที่คลินิกหลังคลอดก่อนวันนัด เพื่อให้ได้รับคำปรึกษา แนะนำ และรับการส่งต่อไปให้แก่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอีกครั้ง

 

 

 

 

การติดต่อทางโทรศัพท์กับสถานพยาบาลเพี่อขอความช่วยเหลือของมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_0097

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในกรณีที่มารดามีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่วนใหญ่ในแต่ละโรงพยาบาลจะมีเบอร์โทรศัพท์กลาง ซึ่งมักจะเป็นเบอร์โทรศัพท์กลางหรือเบอร์โทรศัพท์ที่ห้องฉุกเฉินหากไม่มีเบอร์เฉพาะที่ให้ติดต่อ มารดาอาจจะติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์กลางเพื่อขอคำปรึกษา หรือติดต่อแพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยหลังคลอด บุคลากรทางการแพทย์เหล่ามักมีบทบาทในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำการแก้ไขเบื้องต้นและอาจแนะนำให้มีการมารับบริการต่อที่คลินิกหากสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

 

 

การขอความช่วยเหลือเพื่อช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา

baby-crying-colic

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ก่อนที่มารดาจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีการเตรียมตัวเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่มารดาเพื่อให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเอง โดยตั้งแต่สอนและให้มารดาปฏิบัติการเข้าเต้า สอนการจัดท่าในการเข้าเต้า สอนการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ อย่างก็ตาม ปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บางสาเหตุอาจพบเมื่อมารดากลับบ้านไปแล้ว ซึ่งก่อนการกลับบ้าน โรงพยาบาลบางแห่งอาจเตรียมการโดยมีการให้วิธีการติดต่อในกรณีที่มารดาพบปัญหาหรือต้องการคำปรึกษา รูปแบบการติดต่ออาจเป็นเบอร์โทรศัพท์ สายด่วนนมแม่ที่ให้คำปรึกษา การติดต่อทางอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางสังคม ได้แก่ เฟสบุ๊ค ไลน์ หรือสื่ออื่นๆ อาจมีการจัดให้อาสาสมัคร ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ที่จะไปเยี่ยมและดูแลมารดาหลังคลอด หรือมารดาอาสาที่จะเป็นผู้นำกลุ่มในการถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้มาทักทาย ทำความรู้จัก สร้างความสนิทสนมและคุ้ยเคย เพื่อความสบายใจและไม่อึดอัดใจเมื่อมารดาต้องการติดต่อหรือขอคำปรึกษา1 กลไกเหล่านี้จะรับดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุนมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อมารดากลับไปอยู่ที่บ้านแล้ว ดังนั้น หากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ดูแลการคลอดของมารดาไม่ได้แจ้งช่องทางในการขอรับการช่วยเหลือเหล่านี้ มารดาอาจจำเป็นต้องสอบถามเพื่อจะได้รับทราบถึงระบบการส่งต่อการดูแลมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากกลับบ้านในพื้นที่ที่มารดาซึ่งความพร้อมในแต่ละพื้นที่อาจมีความแตกต่างกัน

หนังสืออ้างอิง

  1. Edwards RC, Thullen MJ, Korfmacher J, Lantos JD, Henson LG, Hans SL. Breastfeeding and complementary food: randomized trial of community doula home visiting. Pediatrics 2013;132 Suppl 2:S160-6.

 

การสนับสนุนจากภาคเอกชนในทางปฏิบัติเพื่อการให้นมแม่อย่างต่อเนื่องหลังหกเดือน

images (5)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ภาคเอกชนสามารถให้การสนับสนุนในทางปฏิบัติ ได้แก่

-ดำเนินการเพิ่มบุคลากรในหน่วยงานที่มีการลาคลอดหรือลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเป็นลักษณะของงานประจำที่มีแนวทางปฏิบัติชัดเจน

-ดำเนินการจัดสรรเวลาพักให้มารดาสามารถมีเวลาให้นม บีบหรือปั๊มนมทุก 2-3 ชั่วโมง เช่น หากทำงาน 8.00-12.00 นาฬิกา อาจให้มีเวลาพักให้นมหรือเก็บน้ำนม 15-30 นาทีในเวลา 10.00-10.30 นาฬิกา

-จัดสถานที่ที่เอื้ออำนวยในการให้นม บีบหรือปั๊มนมแม่ในองค์กรที่เหมาะสมและเพียงพอ

-จัดตู้เย็นเพื่อสนับสนุนการเก็บนมแม่ โดยอาจจะจัดไว้ในสถานที่บีบเก็บนมแม่และมีจำนวนที่เพียงพอ

-จัดสถานที่ที่ดูแลทารกและเด็กเล็กระหว่างเวลากลางวันในหรือใกล้กับสถานประกอบการเพื่อให้มารดาสามารถมาให้นมลูกระหว่างวันได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

 

 

หน่วยงานที่เป็นเครือข่ายสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย1

IMG_9424_resize

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย (Thai Breastfeeding Center Foundation) โดยมีการจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี รูปแบบ ด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และสร้างเสริมระบบ กลไก ให้เอื้อต่อการพัฒนาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคมไทย โดยมีสถานที่ติดต่อของมูลนิธิที่ 420/8 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อาคารสถาบันฯ ชั้น 11 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0-2354-8404 และ 087-678-4115 เว็บไซต์ www.thaibreastfeeding.org

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)