การทำความสะอาดช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนการผ่าตัดคลอด

ทำความสะอาดหน้าท้องเตรียมผ่าตัด

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในการผ่าตัดคลอด การเตรียมทำความสะอาดก่อนการผ่าตัดมักจะใส่ใจกับการทำความสะอาดที่หน้าท้องของมารดา แต่มีการศึกษาว่า การทำความสะอาดช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันทีก่อนการผ่าตัดจะลดการอักเสบติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูกของมารดาได้โดยเฉพาะในมารดาที่มีน้ำเดินแล้ว1 สำหรับน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ทำความสะอาดช่องคลอดก่อนการผ่าตัดสามารถใช้โพวิโดนไอโอดีน (povidone-iodine) ที่มีอยู่แล้วในห้องผ่าตัดได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Haas DM, Morgan S, Contreras K. Vaginal preparation with antiseptic solution before cesarean section for preventing postoperative infections. Cochrane Database Syst Rev 2014;12:CD007892.

 

 

การใช้ที่หนีบโลหะ staple ปิดแผลผ่าตัดคลอดที่ผิวหนัง

การผ่าตัดคลอด5

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ในการผ่าตัดคลอดมีจะมีวิธีการปิดแผลผ่าตัดคลอดบริเวณผิวหนังหลายวิธี ได้แก่ การเย็บแผลด้วยไหม การปิดแผลด้วยที่หนีบโลหะ staple การปิดแผลโดยใช้กาว มีการศึกษาเปรียบเทียบการใช้การปิดแผลผ่าตัดคลอดที่ผิวหนังโดยใช้ที่หนีบโลหะ staple กับการปิดแผลโดยใช้การเย็บแผลด้วยไหมใต้ผิวหนัง พบว่า การใช้การปิดแผลผ่าตัดคลอดที่ผิวหนังโดยใช้ที่หนีบโลหะ staple มีโอกาสแผลแยกมากกว่า1-4 ดังนั้นในการปิดแผลผ่าตัดคลอดที่ผิวหนังมีข้อสนับสนุนให้ใช้การเย็บด้วยไหมมากกว่า สำหรับการใช้กาวในการปิดแผล อาจต้องรอการวิจัยเปรียบเทียบเพิ่มเติมในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Figueroa D, Jauk VC, Szychowski JM, et al. Surgical staples compared with subcuticular suture for skin closure after cesarean delivery: a randomized controlled trial. Obstet Gynecol 2013;121:33-8.
  2. Tuuli MG, Rampersad RM, Carbone JF, Stamilio D, Macones GA, Odibo AO. Staples compared with subcuticular suture for skin closure after cesarean delivery: a systematic review and meta-analysis. Obstet Gynecol 2011;117:682-90.
  3. Basha SL, Rochon ML, Quinones JN, Coassolo KM, Rust OA, Smulian JC. Randomized controlled trial of wound complication rates of subcuticular suture vs staples for skin closure at cesarean delivery. Am J Obstet Gynecol 2010;203:285 e1-8.
  4. Clay FS, Walsh CA, Walsh SR. Staples vs subcuticular sutures for skin closure at cesarean delivery: a metaanalysis of randomized controlled trials. Am J Obstet Gynecol 2011;204:378-83.

 

 

 

การใช้ยา tranexamic acid หลังการผ่าตัดคลอด

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ยาช่วยหยุดเลือดที่ใช้บ่อยได้แก่ tranexamic acid ในมารดาที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด มีการศึกษาการใช้ยา tranexamic acid ฉีดก่อนการผ่าตัดคลอด พบว่าช่วยลดการเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดคลอดและหลังคลอดได้ และไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนที่ได้แก่ หลอดเลือดดำอุดตัน อาการคลื่นไส้อาเจียน และอาการแพ้ยา1 อย่างไรก็ตาม การใช้ยาหากมารดาไม่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ควรให้ในระยะที่คลอดทารกแล้วคือหลังหนีบสายสะดือทารก เพื่อป้องกันการผ่านของยาเข้าสู่ทารกโดยไม่จำเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. Senturk MB, Cakmak Y, Yildiz G, Yildiz P. Tranexamic acid for cesarean section: a double-blind, placebo-controlled, randomized clinical trial. Arch Gynecol Obstet 2013;287:641-5.

 

การเลือกวิธีการเปิดแผลที่มดลูกขณะผ่าตัดคลอด

pregnant5

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในมารดาที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด แพทย์ผู้ดูแลมีวิธีการเปิดแผลผ่าตัดที่ตัวมดลูกสองวิธีหลักคือ การเปิดขยายแผลโดยการใช้วิธีการฉีก และการเปิดขยายแผลโดยการใช้กรรไกรตัด ซึ่งมีการศึกษาว่า การเปิดขยายแผลโดยใช้วิธีการฉีกจะเสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่าการเปิดขยายแผลโดยการใช้กรรไกรตัด โอกาสการเกิดการฉีกขาดเพิ่มในการขยายแผลโดยวิธีการฉีกจะสูงกว่าแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการเกิดการอักเสบติดเชื้อของมดลูกของการเปิดขยายแผลทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกัน1

เอกสารอ้างอิง

  1. Xu LL, Chau AM, Zuschmann A. Blunt vs. sharp uterine expansion at lower segment cesarean section delivery: a systematic review with metaanalysis. Am J Obstet Gynecol 2013;208:62 e1-8.

 

ข้อควรระวังในมารดาที่มีหมู่เลือดเป็นลบ

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ในมารดาที่ตั้งครรภ์จะมีการตรวจหมู่เลือด โดยปกติที่ผู้คนคุ้นเคยจะเป็นหมู่เลือดเอ บี โอ แต่ยังมีหมู่เลือดอีกกลุ่มหนึ่งที่ทางการแพทย์จำเป็นตรวจคือหมู่เลือดอาร์เอช (Rh) ซึ่งจะแบ่งเป็นหมู่เลือดอาร์เอชบวก และอาร์เอชลบ ในการให้เลือดจำเป็นต้องคำนึงถึงหมู่เลือดหลักสองหมู่เลือดนี้ที่จำเป็นจะต้องเข้ากันได้ หมู่เลือดอาร์เอชลบจะเป็นหมู่เลือดที่พบได้น้อยโดยในประเทศไทยจะพบเพียงร้อยละ 1 ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการที่ไม่สามารถหาเลือดที่เหมาะสมมาให้ในผู้ป่วยได้

? ? ? ? ? ? ?สำหรับในมารดาที่ตั้งครรภ์ หากมีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชลบร่วมกับมีสามีมีหมู่เลือดอาร์เอชบวก จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดทารกมีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชบวก ซึ่งจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันมารดา และจะเกิดอันตรายเมื่อมารดาตั้งครรภ์ซ้ำในลูกคนที่สอง โดยภูมิคุ้มกันของมารดาจะมองทารกเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ต้องทำลาย ทารกจะเกิดอาการตัวเหลือง ตัวบวมน้ำและเสียชีวิตได้ ดังนั้นในการป้องกันจึงมีการแนะนำให้ภูมิคุ้มกันต่อสารหมู่เลือดอาร์เอชเพื่อไปป้องกันการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของมารดาที่มีหมู่เลือดอาร์เอชตั้งแต่ในระยะการตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยมีการศึกษาการให้ภูมิคุ้มกันหมู่เลือดอาร์เอชกับมารดาในระหว่างมารดาอายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ ผลการให้จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่ออาร์เอชของมารดาจากร้อยละ 13 เหลือเพียงร้อยละ 11 ตัวอย่างเหล่านี้ แสดงถึงประโยชน์ในการฝากครรภ์ที่บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใส่ใจกับผลการตรวจหมู่เลือดของมารดา เพื่อวางแผนการดูแลครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Tiblad E, Westgren M, Pasupathy D, Karlsson A, Wikman AT. Consequences of being Rhesus D immunized during pregnancy and how to optimize new prevention strategies. Acta Obstet Gynecol Scand 2013;92:1079-85.

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)