การใช้ยา misoprostol ในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด

PICT0098-1

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ในประเทศไทย ยังมีการใช้ยา misoprostol ในการป้องกันและรักษามารดาที่ตกเลือดหลังคลอด มีการศึกษาพบว่า การใช้ยา misoprostol ในการป้องกันและรักษามารดาที่ตกเลือดหลังคลอดไม่ได้เพิ่มหรือลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของมารดา แต่มีอาการข้างเคียงโดยเฉพาะเรื่องไข้ในการใช้ขนาดยาตั้งแต่ 600 มิลลิกรัมขึ้นไปเพิ่มขึ้น1 ดังนั้นในการพิจารณาการใช้ยานี้ หากต้องเลือกใช้ควรใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดเท่าที่จำเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. Hofmeyr GJ, Gulmezoglu AM, Novikova N, Lawrie TA. Postpartum misoprostol for preventing maternal mortality and morbidity. Cochrane Database Syst Rev 2013;7:CD008982.

 

การเย็บปากมดลูกโดยการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อป้องกันการแท้ง

ปูผ้าเตรียมผ่าตัด

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?มารดาที่มีภาวะแท้งบ่อยๆ หรือเรียกว่า แท้งจนเป็นนิสัย (habitual abortion) สาเหตุอย่างหนึ่งคือ ความผิดปกติของปากมดลูก โดยที่ปากมดลูกจะรับน้ำหนักของการตั้งครรภ์ได้น้อย เมื่อมารดามีอายุครรภ์เพิ่มขึ้น ทารกตัวใหญ่ขึ้น ปากมดลูกจะเปิดและเกิดการแท้งออกมา ซึ่งลักษณะของประวัติการแท้งโดยทั่วไปในครรภ์แรกจะแท้งในไตรมาสสอง ต่อมาจะแท้งในอายุครรภ์ที่น้อยลง การรักษาในผู้ป่วยเหล่านี้ เดิมมักใช้การเย็บปากมดลูกผ่านทางช่องคลอด แต่มีการศึกษาว่า การเย็บปากมดลูกโดยผ่านการผ่าตัดผ่านกล้องก่อนการตั้งครรภ์ในมารดาที่มีปากมดลูกสั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแท้ง รวมถึงสามารถใช้ได้ในมารดาที่มีความล้มเหลวในการเย็บปากมดลูกผ่านทางช่องคลอดด้วย1?จะเห็นว่าเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องมีบทบาทในการดูแลสตรีที่ตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ?และมีการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดผ่านกล้องเย็บปากมดลูกระหว่างการตั้งครรภ์ด้วย2

เอกสารอ้างอิง

  1. Burger NB, Einarsson JI, Brolmann HA, Vree FE, McElrath TF, Huirne JA. Preconceptional laparoscopic abdominal cerclage: a multicenter cohort study. Am J Obstet Gynecol 2012;207:273 e1-12.

 

  1. Walsh TM, Borahay MA, Fox KA, Kilic GS. Robotic-assisted, ultrasound-guided abdominal cerclage during pregnancy: overcoming minimally invasive surgery limitations? J Minim Invasive Gynecol 2013;20:398-400.

 

การเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จากการผ่าตัดคลอด

การผ่าตัดคลอด4

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดครั้งแรกมีความเสี่ยงที่จะเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในอุ้งเชิงกรานได้สูงกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด โดยเพิ่มความเสี่ยง 1.8 เท่า (95% CI 1.7-1.9) และมีความเสี่ยงที่จะเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณแผลผ่าตัดสูงกว่า อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดในครั้งถัดไปไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สูงขึ้น1

เอกสารอ้างอิง

  1. Andolf E, Thorsell M, Kallen K. Caesarean section and risk for endometriosis: a prospective cohort study of Swedish registries. BJOG 2013;120:1061-5.

 

วิธีการเปิดแผลที่หน้าท้องในการผ่าตัดคลอด

การผ่าตัดคลอด6

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การผ่าตัดคลอดมีวิธีการเปิดแผลผ่าตัดที่หน้าท้องหลายวิธี วิธีหลักได้แก่ การเปิดแผลแนวยาวของลำตัว ซึ่งการเปิดแผลจะทำได้กว้างและสะดวก แต่ผู้คลอดจะปวดแผลหลังผ่าตัดมากกว่าเวลาที่ลุกนั่ง และการเปิดแผลแนวขวางลำตัว ซึ่งจะมีการผ่าตัดตามแนวการใส่ชุดบิกินี หรือเปิดแผลแบบ Pfannenstiel หรือแบบ Joel-Cohen มีการศึกษาพบว่า วิธีการเปิดแผลที่หน้าท้องในการผ่าตัดแบบ Joel-Cohen น่าจะสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของการผ่าตัดที่ดีกว่าวิธีอื่น คือพบอาการมีไข้ ปวดแผล ความต้องการยาแก้ปวด การเสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า และระยะเวลานอนโรงพยาบาลสั้นกว่า1 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการศึกษาเปรียบเทียบที่มากขึ้นน่าจะบอกได้ถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Mathai M, Hofmeyr GJ, Mathai NE. Abdominal surgical incisions for caesarean section. Cochrane Database Syst Rev 2013;5:CD004453.

 

การจัดท่ามารดาในการผ่าตัดคลอด

ทาน่ำยาฆ่าเชื้อเตรียมผ่าตัด

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในการผ่าตัดคลอด การจัดท่ามารดาที่เหมาะสมมีความสำคัญ โดยปกติมารดาสามารถอยู่ในท่าต่างๆ ในหลายท่า ได้แก่ ท่านอนศีรษะยกสูง ท่านอนศีรษะต่ำ ท่านอนเอียงซ้าย ท่านอนเอียงขวา ซึ่งท่าศีรษะยกสูงหรือศีรษะต่ำจะเหมาะในขณะที่ใช้วิธีการดมยาสลบโดยการฉีดยาเข้าไขสันหลังและปรับระดับของยาให้ผู้ป่วยไม่ปวดขณะทำการผ่าตัด สำหรับท่านอนเอียงซ้ายน่าจะดีกว่าท่านอนเอียงขวา1 อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลและวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับท่าที่ดีที่สุดในระหว่างผ่าตัดจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Cluver C, Novikova N, Hofmeyr GJ, Hall DR. Maternal position during caesarean section for preventing maternal and neonatal complications. Cochrane Database Syst Rev 2013;3:CD007623.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)