พันธุกรรมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf37

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นน้ำนมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทารกแรกเกิด ข้อสงสัยจึงเกิดขึ้นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมนุษย์นั้น ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ และขนาดของเต้านมตามพันธุกรรมมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกันไหม มีการศึกษาถึงเรื่องนี้ในออสเตรเลีย โดยทำการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่เป็นแฝดที่เกิดจากไข่ฟองเดียวกันกับมารดาที่เป็นแฝดที่เกิดจากไข่คนละฟองพบว่า การเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม และขนาดของเต้านมไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

? ? ? ? ? ? ? ? จะเห็นว่า แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่การเลือกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งแวดล้อมน่าจะมีอิทธิพลมากกว่าพันธุกรรม และมารดาที่มีพันธุกรรมที่มีขนาดเต้านมใหญ่ไม่ได้มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างจากมารดาที่มีเต้านมเล็ก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทางกายวิภาค ซึ่งบ่งชี้ว่า เต้านมขนาดใหญ่มีเพียงไขมันในเนื้อเยื่อของเต้านมมากกว่าเต้านมขนาดเล็ก โดยปริมาณของต่อมน้ำนมไม่ได้แตกต่างกัน ดังนั้น การโฆษณา การให้ข้อมูล และสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ จึงส่งผลต่อความเชื่อและทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัจจุบันจึงมีความจำเป็นต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับจากสื่อต่างๆ ซึ่งบางสื่อขาดข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุน นอกจากนี้ ควรมีการควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมกับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่จะเป็นกลไกที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Colodro-Conde L, Zhu G, Power RA, et al. A twin study of breastfeeding with a preliminary genome-wide association scan. Twin Res Hum Genet 2015;18:61-72.

 

การให้ลูกกินนมบ่อยช่วยลดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

bf27

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบบ่อย หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญได้แก่ การกินนมแม่ที่ไม่เพียงพอ มีการศึกษาถึงการให้นมแม่บ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 8 ครั้งขึ้นไปสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกที่น้อยกว่า1 ดังนั้น การที่จะป้องกันภาวะตัวเหลืองจากสาเหตุนี้ ควรให้ทารกได้รับน้ำนมที่เพียงพอ ซึ่งได้แก่ การดูแลการปฏิบัติในการให้นมของมารดาให้ ?เริ่มให้ลูกดูดนมเร็ว กระตุ้นให้ดูดนมบ่อยๆ ดูดจนเกลี้ยงเต้า และดูดอย่างถูกวิธี?

เอกสารอ้างอิง

  1. Chen YJ, Yeh TF, Chen CM. Effect of breastfeeding frequency on hyperbilirubinemia in breastfed term neonate. Pediatr Int 2015.

 

การให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาตั้งแต่ระยะแรกในมารดาที่ผ่าตัดคลอด

รูปภาพ3

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดา (skin-to-skin contact) ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะช่วยในการพัฒนาการของทารกทั้งด้านร่างกาย พัฒนาระบบประสาท พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรช่วยให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาเร็วที่สุดหลังคลอด โดยเช็ดตัวทารกให้แห้งแล้วสามารถวางทารกไว้บนอกมารดา และอาจคลุมผ้าอีกทีเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิ การดูแลอย่างอื่น เช่น การฉีดวัคซีน อาจพิจารณาทำหลังจากช่วยให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้ว

? ? ? ? ? ? ? ? ในมารดาที่คลอดปกติ อุปสรรคในการดูแลการให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาในระยะแรกหลังคลอดจะน้อยกว่าในมารดาที่ผ่าตัดคลอด เนื่องจากความวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเย็น หรือการจำกัดการเคลื่อนไหวของมารดา ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดในปัจจุบัน นิยมใช้ยาระงับความรู้สึกฉีดเข้าไขสันหลัง ซึ่งหากมารดาไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด การให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาในห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น สามารถทำได้เช่นเดียวกับการคลอดปกติ1 อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ท้าทายในการบริหารจัดการให้เกิดระบบที่มีการยอมรับได้ในบุคลากรทางการแพทย์สหสาขาที่ร่วมช่วยกันดูแลมารดาที่ผ่าตัดคลอด ซึ่งหวังว่า ทีมส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละโรงพยาบาลจะสามารถปฏิบัติได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Burke-Aaronson AC. Skin-to-skin care and breastfeeding in the perioperative suite. MCN Am J Matern Child Nurs 2015;40:105-9.

 

การตอบสนองของภูมิคุ้มกันในนมแม่ต่อการติดเชื้อ

รูปภาพ8

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในนมแม่มีสารที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อ ได้แก่ แลคโตเฟอริน (lactoferrin) และอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) ซึ่งสารทั้งสองจะทำหน้าที่ต่างกัน คือ แลคโตเฟอรินจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อโดยมีค่าสูงขึ้นเมื่อเกิดการติดเชื้อ ขณะที่อิมมูโนโกลบูลินเอจะป้องกันการติดเชื้อโดยหากมีค่าสูงจะป้องกันการติดเชื้อ1 ความเข้าถึงการตอบสนองของสารภูมิคุ้มกันในนมแม่ต่อการติดเชื้อจะทำเข้าใจสภาวะของมารดาและทารกทั้งก่อนและหลังการติดเชื้อได้ และสามารถวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Breakey AA, Hinde K, Valeggia CR, Sinofsky A, Ellison PT. Illness in breastfeeding infants relates to concentration of lactoferrin and secretory Immunoglobulin A in mother’s milk. Evol Med Public Health 2015;2015:21-31.

 

 

การเข้าใจในบุคลิกภาพของมารดาในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

HAL148

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผู้ให้คำปรึกษาควรทำความเข้าใจกับบุคลิกภาพของมารดาและผู้ที่ให้คำปรึกษา1 เพื่อจะสามารถสื่อสารสิ่งที่มารดาควรทราบเกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยหวังว่า หากมารดาเข้าใจและเห็นถึงผลดีที่จะเกิดแก่บุตรและตนเอง จะสร้างให้มีความตั้งใจในการเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Bick D, Chang YS. Maternal extraversion, emotional stability and conscientiousness are associated with initiation and continuation of breastfeeding. Evid Based Nurs 2015;18:37.

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)