โรงเรียนแพทย์กับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

30-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? แพทยสภาได้บรรจุเรื่องการดูแลมารดาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดูแลปัญหาเรื่องเต้านมและภาวะแทรกซ้อน อยู่ในเกณฑ์การประกอบวิชาชีพเวชกรรมปี พ.ศ. 2555 ซึ่งคณะแพทยศาสตร์และโรงเรียนแพทย์ได้มีการจัดอบรมอาจารย์แพทย์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างแพทย์ที่มีความตระหนักรู้ในเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกับมีการสนับสนุนเรื่องการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Administrators ของ รศ.พญ.อรวรรณ คีรีวัฒน์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58

 

 

สภาการพยาบาลกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38208259

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?สภาการพยาบาลได้มีการกำหนดหัวข้อเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพบรรจุอยู่ในสมรรถนะด้านการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์ในหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลทุกคนที่จบในหลักสูตรต้องผ่านเกณฑ์นี้

? ? ? ? ? ? ?มีการสนับสนุนการอบรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลักสูตรระยะสั้น และจัดบทเรียนศึกษาด้วยตนเองในเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีการรับรองและให้คะแนนการศึกษาต่อเนื่อง เริ่มในเดือนกันยายน 2557 จนถึงเดือนสิงหาคม 2558 มีพยาบาลลงทะเบียนแล้ว 15,890 คน และได้มีการพัฒนาเปิดเป็นหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง ร่วมกับมีการกำหนดเป็นพยาบาลเฉพาะสาขา (Advanced Practice Nurse หรือ APN) ที่ต้องมีการสอบรับวุฒิบัตรพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา

? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนให้มีการทำวิจัยในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมีผลงานวิจัยออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Administrators ของ รศ.ดร.สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58

กรมอนามัยกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

60

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? นโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จะมีในอยู่ในเรื่องการส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์และเด็กเล็กมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 มีการตั้งเป้าหมายให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 50 ผ่านการดำเนินโครงการมาตรฐานบริการอนามัยแม่และเด็กในสถานบริการสาธารณสุข และโครงการตำบลพัฒนาการเด็กดีเริ่มที่นมแม่ และร่วมผลักดันร่าง พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

? ? ? ? ? ในส่วนของโครงการมาตรฐานบริการอนามัยแม่และเด็กในสถานบริการสาธารณสุขและโครงการตำบลพัฒนาการเด็กดีเริ่มที่นมแม่ มีการดำเนินการหลัก คือ การส่งเสริมโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ที่มีการปฏิบัติตามบันไดสิบขั้นในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งพบว่าในปี พ.ศ.2556 มีโรงพยาบาลของรัฐที่มีนโยบายมาตรฐานอนามัยแม่และเด็กร้อยละ 96.3

? ? ? ? ?สำหรับการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2524 ประเทศไทยร่วมรับรองมติที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกในพันธะสัญญาที่เรียกว่า? ?The International Code of Marketing of Breast-Milk Substitutes หรือเรียกสั้นๆ ว่า CODE? ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำให้ทุกประเทศนำไปควบคุมการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็กให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ไทยนำ CODE มาใช้โดยออกเป็นหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยอาหารทดแทนนมแม่ ซึ่งเป็นข้อแนะนำโดยสมัครใจสำหรับบริษัทผู้ผลิตอาหารทารก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวรวม 4 ครั้ง และได้ออกเป็นประกาศของกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ปี พ.ศ. 2551 ที่ใช้บังคับในหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

? ? ? ? ?ในปี พ.ศ. 2552 กรมอนามัยสำรวจมารดา จำนวน 269 คนในสถานบริการสาธารณสุข 74 แห่ง พบเห็นการละเมิดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในสถานบริการ 23 แห่ง (31%) โดยพบมีการละเมิดทุกรูปแบบ ทั้งโฆษณาแก่สาธารณชน แจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์และแจกของขวัญให้แม่ แจกผลิตภัณฑ์และบริจาคอาหารทารกให้แก่สถานบริการสาธารณสุข และจากการสำรวจ มารดาให้ข้อมูลว่าการโฆษณาเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมผสม เช่นเดียวกันกับในปี พ.ศ.2556 สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ?ทำการสำรวจการละเมิด CODE ในสถานพยาบาลของรัฐจำนวน 42 แห่ง โดยสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรสาธารณสุขจำนวน 74 คน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 25 ของบุคลากรเคยเห็นการละเมิด CODE ในสถานพยาบาลของตนโดยรูปแบบการละเมิดที่พบมาก ได้แก่ บริษัทแจกของขวัญให้แก่บุคลากรพบร้อยละ 47 และการที่บริษัทแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ให้แก่บุคลากรพบร้อยละ 43

? ? ? ? ? ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย อยู่ระหว่างการผลักดันให้ CODE เป็นกฎหมาย โดยอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัตินี้ คือ ห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าทุกรูปแบบแก่สาธารณชน ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่และครอบครัว ไม่ว่าจะวิธีใด เช่น การแจกตัวอย่างสินค้าและของขวัญฟรีแก่แม่ ห้ามใช้สถานบริการสาธารณสุขเป็นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า รวมทั้งห้ามการบริจาคสินค้าฟรี หรือจำหน่ายในราคาถูก และห้ามให้ของขวัญหรือตัวอย่างสินค้าแก่บุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขไม่แจกสินค้าเหล่านี้ต่อไปให้แม่

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Administrators ของ นายแพทย์ณัฐพร วงษ์สุทธิภากร ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58

 

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

3332785648_bf7b73c79b_o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย? ทำโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูทารกแรกเกิด ซึ่งเกิดระหว่าง 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559 โดยให้เงินอุดหนุนรายละ 400 บาท ต่อคน ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี ให้กับครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่า 3000 บาท ต่อคน ต่อเดือน โดยติดต่อขอรายละเอียดได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลในเขตพื้นที่ที่อยู่ ซึ่งการอุดหนุนนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นกลไกหนึ่งในการให้การรับรอง ดังนั้น การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีความคุ้มค่าและประหยัด น่าจะสอดแทรกไปในกลไกนี้ได้

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Administrators ของ ศิริธนาพร ภูริหิรัญพัชร์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58

 

กองสวัสดิการแรงงานกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

64

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปัจจุบัน จากข้อมูลกองสวัสดิการแรงงาน มีสถานประกอบการ 350,863 แห่ง มีแรงงานในระบบ 8,361,860 คน และมีแรงงานหญิงจำนวน 4,012,220 คน

? ? ? ? ? ?รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 โดยให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

? ? ? ? ? ? กระทรวงแรงงาน ได้ออกประกาศ ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2555 เรื่องขอความร่วมมือสถานประกอบกิจการอนุญาตให้ลูกจ้างลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร โดยอนุญาตให้ลูกจ้างชายลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร โดยจำนวนวันลาให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายจ้าง ซึ่งมีรายงานว่า มีสถานประกอบกิจการที่อนุญาตให้ลูกจ้างชายลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร จำนวน 582 แห่ง

? ? ? ? ? ? สำหรับพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2537 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2558 ให้ลูกจ้างหญิง (ผู้ประกันตน) สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เป็นการเหมาจ่ายไม่เกิน 2 ครั้ง ในอัตราครั้งละร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและสนับสนุน ปกป้อง ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการ ระหว่างภาคีเครือข่ายอีก 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณาสุข กรมอนามัย กรุงเทพมหานคร องค์การยูนิเซฟ องค์การอนามัยโลก และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และได้มีการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบการตั้งแต่ พ.ศ. 2549 จนในปัจจุบันมีมุมนมแม่ในสถานประกอบการ 1,230 แห่ง และมีมารดาที่มาใช้บริการ 8,876 คน ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้ประมาณ 213,024,000 บาท (คำนวณจากลูกจ้างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่ำหกเดือนและประมาณการค่าใช้จ่ายในซื้อนมผสม 4,000 บาท/เดือน) ไม่นับรวมประโยชน์ของนมแม่ที่ช่วยให้ทารกมีสุขภาพดี ไม่ป่วยบ่อย ทำให้ลดการลาของลูกจ้าง และค่ารักษาพยาบาลทารกที่ป่วย การสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว การสร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และการเพิ่มขวัญกำลังใจในการทำงานของลูกจ้าง

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Administrators ของ ดร.วิภาวี ศรีเพียร ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)