คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การเก็บน้ำนมด้วยเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

         ทางเลือกหนึ่งในที่จะช่วยมารดาที่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน คือ การเก็บนมแม่ ซิ่งสามารถทำได้โดยการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ หรือจากในตัวอย่างนี้คือใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าในการเก็บน้ำนม ซึ่งการเลือกเครื่องปั๊มนมควรเลือกให้เหมาะสม โดยอุปกรณ์และช่องที่ประกบเข้าของหัวนมจะต้องมีความพอเหมาะ ไม่คับจนเกินไป และหากตัวเครื่องสามารถปรับระดับแรงดูดได้จะเป็นผลดีแก่มารดา เพราะสามารถจะเลือกปรับขนาดแรงดุดที่ไม่แรงจนเกินไปจนทำให้มารดาเจ็บหัวนมหรือมีหัวนมแตก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ เต้านมอักเสบ และฝีที่เต้านม ติดตามมาได้

การเปรียบเทียบลักษณะของการบีบเก็บน้ำนมที่ถูกต้องและยังไม่ถูกต้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ตัวอย่างในมารดารายนี้ น้ำนมแม่มาดี แต่นักศึกษาบีบประเมินน้ำนมเพื่อการเก็บ น้ำนมไหลออกเป็นหยด ขณะที่พยาบาลบีบประเมินแล้วน้ำนมแม่ไหลพุ่ง

การประเมินการเข้าเต้า เสียงการกลืนนมของทารก และปัญหาอุปสรรคในการให้นมแม่เมื่อแม่กลับไปทำงาน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การประเมินการเข้าเต้ามักใช้การประเมินคะแนนการเข้าเต้า LATCH score ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อในการประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ การอมหัวนมและลานนม เสียงการกลืนนมของทารก ลักษณะของหัวนม ความสบายในการให้ลูกดูดนม และความต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นม ในมารดารายนี้รู้สึกว่ามีปัญหาและอุปสรรคในการให้นมแม่เมื่อต้องกลับไปทำงาน

การบีบเก็บน้ำนมด้วยมือและลักษณะที่น้ำนมไหลดี

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การสอนให้มารดาสามารถบีบเก็บน้ำนมได้ด้วยมือยังมีความจำเป็น แม้จะมีเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าช่วยเก็บนมแม่ได้สะดวกขึ้นก็ตาม ทักษะนี้ทำได้โดยให้มารดาวางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่เหลือเป็นรูปตัว C ตำแหน่งที่วางมือห่างจากลานนมเล็กน้อย ออกแรงกดนิ้วมือเข้าหาตัวพร้อมบีบไล่น้ำนมไปยังท่อน้ำนมที่หัวนม ในมารดาที่มีน้ำนมไหลดีจะสังเกตได้ว่าจะมีน้ำนมไหลพุ่งออกมา ซึ่งในการบีบเก็บน้นมมารดาควรล้างมือให้สะอาด เช็ดหัวนมด้วยน้ำสะอาด จากนั้นสามารถบีบเก็บน้ำนมในภาชนะที่สะอาดเก็บได้เลย

การเข้าเต้าท่าขวางตักประยุกต์และเสียงการกลืนน้ำนมของทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

          ในการให้ลูกกินนมแม่นั้น จำเป็นต้องมีการจัดท่าให้นมลูกที่เหมาะสม ท่าขวางตักประยุกต์ (Modified cradle) เป็นท่าให้นมลูกท่าหนึ่งที่มารดาสามารถจะประคองศีรษะและควบคุมตำแหน่งของศีรษะในการที่จะเข้าเต้าได้ดี โดยเมื่อเข้าเต้าได้เหมาะสม ทารกจะสามารถอมหัวนมและลานนมได้ลึกและระหว่างการดูดนมอาจได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนมด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าการเข้าเต้านั้นทำได้เหมาะสม