คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การให้นมลูกท่านอนตะแคงข้าง

side-lying position picture

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ท่าที่ให้นมลูกอีกท่าหนึ่งที่นิยมใช้ในกรณีที่มารดาผ่าตัดคลอด ได้แก่ ท่านอนตะแคงข้าง เนื่องจากท่านี้ทารกจะอยู่บนเตียงข้างมารดา ไม่กดทับแผลผ่าตัด ขณะเดียวกันมารดาสามารถพักผ่อนไปพร้อมกับให้ทารกดูดนมได้ การจัดท่าทำโดยมารดาและทารกหันหน้าเข้าหากัน ทารกแนบชิดกับด้านข้างลำตัวของมารดา หน้าของทารกหันเข้าหาเต้านม จัดให้ตำแหน่งของจมูกอยู่ที่ระดับหัวนม และขยับทารกเข้าหาเต้านมเมื่อทารกอ้าปากกว้างพร้อมที่จะอมหัวนมและลานนม อย่างไรก็ตามในกรณีที่มารดาอายุน้อย อ่อนเพลียมาก หรือได้รับยาแก้ปวดที่รบกวนการรู้ตัวของมารดา หรือมารดาที่ติดบุหรี่ เหล้า หรือสารเสพติดอื่น ๆ อาจมีความเสี่ยงในขณะที่มารดานอนหลับและเบียดทับทารกได้ จึงควรใส่ใจและให้ความระมัดระวังในกรณีที่มารดามีความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อป้องกันอันตรายที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของทารกได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

การให้นมลูกท่าฟุตบอล

football position picture

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ท่าที่ให้นมลูกมีหลากหลายท่า หากให้ได้อย่างเหมาะสม ทารกจะอ้าปากอมหัวนมและลานนมได้ดี อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มารดาผ่าตัดคลอด เต้านมมารดามีขนาดใหญ่ หัวนมแบนหรือหัวนมบอด การเลือกใช้ท่าฟุตบอลน่าจะช่วยให้ทารกอมหัวนมและลานนมได้ลึก ขณะที่ลำตัวทารกอยู่ด้านข้างแนบชิดกับมารดา ไม่กดทับแผลผ่าตัดคลอด ลักษณะการอุ้มลูกให้นมท่านี้จะคล้ายกับการจับลูกบอลในกีฬาอเมริกันฟุตบอล จึงเรียกท่าอุ้มนี้ว่า ท่าฟุตบอล มือของมารดาจะประคองท้ายทอยและคอของทารก ซึ่งจะประคองและรองรับทารกที่อยู่แนบข้างลำตัว มารดาควรเรียนรู้ท่าที่ให้นมลูกในหลาย ๆ ท่า เพื่อเลือกท่าที่เหมาะสมกับตนเอง โดยทารกเข้าเต้าได้ดี และมารดาสบาย ไม่รู้สึกเจ็บ จะช่วยให้มารดาสามารถให้นมลูกได้นานและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

ลูกกินนมแล้วติดหลับ ทำอย่างไร

IMG_4275

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ทารกตามปกติที่คลอดครบกำหนดไม่มีภาวะแทรกซ้อน เมื่อให้นมตามอาการแสดงว่าลูกหิว ทารกจะดูดนมได้ดี แต่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวน้อยมักกินนมไปได้สักครู่แล้วหลับ ทำให้บางครั้งอาจได้รับนมไม่เพียงพอ การใช้มือบีบนวดเต้านม ให้น้ำนมไหลออกมาจะกระตุ้นให้ทารกกินนมต่อได้ นอกจากนี้ การใช้นิ้วกระตุ้นบริเวณแก้มหรือมุมปากจะทำให้ลูกขยับปากและดูดนมต่อเช่นกัน หากทารกติดหลับหลังกินนมและแก้ไขด้วยวิธีเบื้องต้นแล้ว ทารกมีน้ำหนักขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์ ควรต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อวางแผนให้การดูแลทารกให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสมและสามารถยังได้ประโยชน์จากการกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในกลุ่มที่ทารกน้ำหนักขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์จะถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่อาจทำให้มารดาหยุดให้นมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม จึงควรมีการติดตามดูแลมารดาเหล่านี้อย่างใกล้ชิด1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

อาการลูกหิวเป็นอย่างไร

IMG_4064

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในการให้ลูกกินนมแม่นั้น แนะนำให้ให้ตามความต้องการของลูก ดังนั้น มารดาจึงต้องสังเกตและเข้าใจถึงอาการที่บ่งบอกว่าลูกหิว โดยอาการที่จะบอกถึงอาการหิวของทารก คือ ทารกอาจตื่นตัว ขยับตัว หันศีรษะไปมา เพื่อมองหาเต้านม อาจเห็นทารกทำปากดูดจุ๊บๆ หรืออมนิ้วหรืออมมือ โดยหากทำการสัมผัสบริเวณแก้มทารก ทารกจะหันหน้าเข้าหา และเตรียมการที่จะดูดนม อาการเหล่านี้ หากมารดาได้อยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง มารดาจะสังเกตอาการเหล่านี้ได้เร็ว และตอบสนองโดยการให้ทารกกินนมได้ตามความต้องการได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว การที่รอให้ทารกร้อง หรือหงุดหงิดก่อนแล้วจึงให้ทารกกินนมนั้นเป็นกระบวนการการให้นมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งช้าเกินไป ทำให้ทารกอาจหงุดหงิด งอแง ไม่ยอมเข้าเต้า ต้องปลอบให้ทารกสงบก่อน แล้วจึงดำเนินการจัดท่าให้ทารกเข้าเต้า และกินนมได้ ความเข้าใจเหล่านี้มีความสำคัญและมีความแตกต่างจากความเชื่อที่มีอาจพบดั้งเดิมคือ หากทารกร้องกวน ต้องรอให้ทารกร้องไปก่อนซักระยะ แล้วจึงทำการให้นม จะไม่ทำให้ทารกไม่เอาแต่ใจ ซึ่งขัดกับหลักข้อแนะนำที่ให้ปฏิบัติในการให้นมลูกจากความรุ้ในปัจจุบัน1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

ให้ลูกกินนม ต้องเจ็บหัวนมไหม

IMG_4128

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ธรรมชาติของหัวนมจะเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อการสัมผัสและความรู้สึกอยู่แล้ว ดังนั้นในมารดาครรภ์แรกเมื่อให้ลูกกินนมใหม่ๆ จะมีอาการเจ็บหัวนมได้ เนื่องจากการเสียดสีจากการดูดนมของลูก อย่างไรก็ตาม หากมารดาจัดท่าให้นมได้เหมาะสม อาการเจ็บหัวนมมักจะเป็นช่วงแรกของการให้นม จากนั้นจะดีขึ้น เนื่องจากร่างกายของมารดามีกลไกการปรับตัวมีการหลั่งไขมันจากต่อมไขมันบริเวณลานนมและน้ำนมของมารดาเองที่ช่วยเคลือบหัวนมและลานนม ลดแรงเสียดทาน ทำให้มารดาหายเจ็บเต้านม ซึ่งอาการเจ็บหัวนมที่จะเป็นปัญหาที่ทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร มักเป็นการเจ็บหัวนมที่ต่อเนื่องนานเกินหนึ่งสัปดาห์ และเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่ให้นม ซึ่งสาเหตุหลักที่พบ ได้แก่ การเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม การที่ทารกมีภาวะลิ้นติด หรือการที่น้ำนมมารดาไหลเร็วเกินไป1 ดังนั้น หากมีลักษณะการเจ็บหัวนมที่มีนัยสำคัญ ควรหาสาเหตุเพื่อการแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้แก่ การอักเสบเต้านม หรือฝีที่เต้านมที่เป็นอันตรายและต้องการการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.