คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ต้องให้นมลูกไปนานแค่ไหน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ระยะเวลาของการให้นมลูกว่าต้องให้ไปนานแค่ไหน ไม่มีคำตอบที่แน่ชัดขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก แต่หากสังเกตจากสิ่งมีชีวิตอื่นที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว พบว่ามักมีระยะเวลาของการกินนมแม่ราวสองถึงสามเท่าของระยะของระยะของการตั้งครรภ์หรือยาวนานกว่านั้น ดังนั้น มนุษย์ซึ่งมีระยะการตั้งครรภ์ราว 9 เดือนก็ควรจะมีระยะเวลาการให้ลูกกินนมแม่ไม่ต่ำกว่า 18 ถึง 27 เดือน ซึ่งราว 2 ปีสอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 ปีหรือนานกว่านั้น แล้วนมแม่อย่างเดียวเพียงพอสำหรับความต้องการลูกหรือและเพียงพอไปถึงนานแค่ไหนนั้นมีการศึกษามามากมายตั้งแต่ในอดีต โดยในสมัยก่อนเชื่อว่า 3-4 เดือนน่าจะต้องปรับนมแม่เป็นอาหารเสริม แต่ปัจจุบันข้อมูลชี้ไปทางให้นมแม่อย่างเดียวเพียงพอสำหรับลูกไปถึง 6 เดือน หากกังวลใจว่านมแม่อาจไม่พอและต้องการเสริมอาหารอื่นก่อนหกเดือนเพื่อจะได้เพียงพอได้ไหม คำตอบคือหากนมแม่ยังเหมาะสมที่สุดในหกเดือนแรก การกินอย่างอื่นทดแทน จะทำให้ลูกได้รับนมแม่น้อยลง นั่นคือลูกได้รับประโยชน์จากนมแม่น้อยลงไปด้วย ดังนั้นในหกเดือนแรกควรตั้งใจและส่งเสริมให้มีน้ำนมที่เพียงพอที่จะเป็นอาหารหลักอย่างเดียวสำหรับลูก และหลังจากนั้นจึงเสริมอาหารตามวัยที่เหมาะสมสำหรับทารกโดยให้นมแม่ต่อเนื่องไปอย่างนน้อยสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

 

 

คำถามที่พบบ่อยเมื่อให้ลูกกินนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีคำถามหลายคำถามที่มารดาและครอบครัวมักถามเมื่อให้ลูกกินนมแม่ คือควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวไปนานแค่ไหน และต้องให้ลูกกินนมแม่ไปนานเท่าไหร่จึงจะพอ หรือมารดามักเกิดคำถามในใจเมื่อให้ลูกกินนมแม่แล้วมีปู่ย่าตายายมาทักว่า ทำไมไม่ให้ลูกกินน้ำ กินกล้วยบด กินน้ำส้ม หรือกินข้าวต้ม แล้วลูกจะอิ่มหรือ มารดาต้องกินอาหารบำรุงหรือเพิ่มน้ำนมไหม กินยาขับน้ำคาวปลาหรือยาดองเหล้าให้นมลูกได้ไหม หากมารดาเจ็บป่วยจะยังให้นมลูกต่อได้หรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านหรือการโดนลมในระหว่างเดือนแรกหลังคลอดหรือช่วงที่ให้ลูกกินนมแม่ไหม หากไม่ให้ลูกกินน้ำลูกจะตัวเหลืองไหม? หากให้ลูกกินนมแม่แล้วห้ามมีเพศสัมพันธ์ หรือกินยาคุมกำเนิดแล้วน้ำนมจะไม่เพียงพอสำหรับลูก นอกจากนี้ ยังมีคำถามที่หลากหลายตามแต่ความเชื่อในแต่ละสังคมและวัฒนธรรม ทางที่ดีที่สุด คือ ไม่ควรรีรอหรือลังเลใจที่จะถามคำถามเหล่านี้กับแพทย์ที่ให้การดูแลหลังคลอดหรือแพทย์ที่ให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการรับฟังหรือการชี้แจงเหตุผลอาจต้องให้สามี ปู่ย่าตายายเข้ามาร่วมรับฟังด้วย เพื่อช่วยในการเข้าใจที่ตรงกัน ไม่เกิดการขัดแย้งในการดูแลลูกหรือสมาชิกคนใหม่ของครอบครัวที่ควรจะสร้างสายใยรักมากกว่าสร้างความร้าวฉานให้เกิดในครอบครัวที่ต้องปฏิบัติหรือเปลี่ยนแปลงการให้การดูแลทารกที่เคยเชื่อภายในจิตใจของแต่ละคน แน่นอนทุกคนอาจมีทิฐิอยู่ แต่ความรักและความหวังดีต่อลูกหลานที่แท้จริงจะช่วยสานให้เกิดความร่วมมือที่ดีและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นอาหารที่ได้รับการยืนยันว่าเหมาะสมและดีที่สุดสำหรับลูก1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

สตรีตั้งครรภ์สุขภาพดีลดความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ความเชื่อดั้งเดิมในสตรีมีครรภ์ควรบำรุงมาก ๆ ไม่ควรทำงานหรือออกแรงมาก ทำให้พบสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักมีน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่เหมาะสม แต่จากข้อมูลในปัจจุบันแนะนำว่า สตรีตั้งครรภ์ควรมีการควบคุมการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักให้เหมาะสม จะลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ และควรออกกำลังกายให้ร่างกายมีความแข็งแรง ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการที่ต้องผ่าตัดคลอดได้1 โดยการออกกำลังกายควรเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่ควรเล่นกีฬาที่มีการประทะหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม และควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุครรภ์ เนื่องจากหากเป็นช่วงไตรมาสสาม มารดาจะมีขนาดท้องหรือมดลูกใหญ่ จะถ่วงน้ำหนักมาด้านหน้าทำให้หลังแอ่นมากขึ้น จุดศูนย์ถ่วงหรือการทรงตัวของร่างกายเปลี่ยนไป การวิ่งหรือปั่นจักรยานในพื้นที่ที่ขรุขระหรือเสี่ยงต่อการกระแทกหรือล้ม จะมีความเสี่ยงและเป็นอันตรายสำหรับครรภ์ การออกำลังกายที่เหมาะสม อาจเป็นการแกว่งแขน การนอนหรือนั่งยกขา หรือบริหารกล้ามเนื้อหลัง สำหรับโยคะสามารถทำได้โดยควรเลือกท่าที่ไม่เสี่ยงในการเกิดอันตราย

เอกสารอ้างอิง

  1. International Weight Management in Pregnancy Collaborative G. Effect of diet and physical activity based interventions in pregnancy on gestational weight gain and pregnancy outcomes: meta-analysis of individual participant data from randomised trials. BMJ 2017;358:j3119.

 

ควรระมัดระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างตั้งครรภ์

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญและระมัดระวังในการเลือกใช้ยาโดยเฉพาะในไตรมาสแรกเนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกเริ่มพัฒนาการของการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ยาที่มักจะมีการจ่ายให้กับสตรีตั้งครรภ์เมื่อเจ็บป่วย ได้แก่ ยาแก้หวัดและยาปฏิชีวนะ มีรายงานว่ายาปฏิชีวนะบางตัวอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติหรือความพิการของทารกได้1 เช่น

  • ยา ofloxacin สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 3 เท่า (OR 8.30, 95% CI 1.60-43.00)
  • ยา clindamycin สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 3 เท่า (OR 1.34, 95% CI 1.02-1.77)
  • ยา doxycycline สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 4 เท่า (OR 2.38, 95% CI 1.21-4.67) และความผิดปกติของหัวใจเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า (OR 2.46, 95% CI 1.21-4.99)
  • ยา phenoxymethylpenicillin สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติของระบบประสาทเพิ่มขึ้น 9 เท่า (OR 1.85, 95% CI 1.01-3.39)
  • ยา erythromycin สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น 1 เท่า (OR 2.12, 95% CI 1.08-4.17)
  • ยา moxifloxacin?สัมพันธ์กับการพบความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น 5 เท่า (OR 5.48, 95% CI 1.32-22.76)

? ? ? ? ? ? ดังนั้น หากเจ็บป่วย ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่ามีการตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่มีความเสี่ยงเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสแรก

เอกสารอ้างอิง

  1. Muanda FT, Sheehy O, Berard A. Use of antibiotics during pregnancy and the risk of major congenital malformations: A population based cohort study. Br J Clin Pharmacol 2017.

Breastfeeding case study 6

ดาวน์โหลดข้อมูลได้จาก

https://1drv.ms/b/s!Aj45F8nZ28RrwkqC7TrKgtfzHVoL