คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

นมแม่ในทารกป่วยยังต้องการการสนับสนุนในทางปฏิบัติ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่ป่วยที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์เห็นและยอมรับว่ามีโยชน์ แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาพอควร1 เริ่มตั้งแต่ การสนับสนุนในทางนโยบายของสถานพยาบาลที่จะกระตุ้นให้มีแนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้เกิดกระบวนการการเก็บน้ำนมแม่มาจนถึงการให้นมแม่แก่ทารก ซึ่งในแต่ละกระบวนการล้วนแล้วแต่ต้องการบุคลากรที่เอาใจใส่และเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ ร่วมกับการช่วยคิดเป็นภาระงานการพยาบาลที่จะสามารถคำนวณอัตรากำลังในการให้บริการให้ได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยในด้านการให้บริการของบุคลากรทางการแพทย์ได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่ทารกนอนอยู่นานที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต มารดาอาจมีความลำบากในการเดินทางมาเพื่อดูแลและให้นมลูก การจัดบริการส่งเสริมให้มารดาสามารถพักอยู่ในพื้นที่ที่สะดวกจะมาให้การดูแลทารก ช่วยโอบกอดเนื้อแนบเนื้อ เก็บและให้นมแม่ ก็จะยิ่งช่วยในการสนับสนุนการให้นมแม่ในทารกที่ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ทารกหายจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้นและระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลสั้นลง

เอกสารอ้างอิง

  1. Shattnawi KK. Healthcare Professionals’ Attitudes and Practices in Supporting and Promoting the Breastfeeding of Preterm Infants in NICUs. Adv Neonatal Care 2017.

 

จุกนมหลอกมีประโยชน์หรือไม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การใช้จุกนมหลอกให้ทารกแรกเกิดดูด โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการลดอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ซึ่งการดูดจุกนมหลอกแล้ว ไม่มีน้ำนมออกมา อาจมีผลต่อพฤติกรรมการดูดนมของทารก อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่มีภาวะซึมเศร้า มีการศึกษาพบว่า การใช้จุกนมหลอกในทารกอาจช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้1 ซึ่งในกรณีนี้ ความพยายามในการอธิบายเหตุผลคือ ทารกที่ดูดจุกนมหลอก แม้ว่าไม่ได้น้ำนม แต่ทารกจะคุ้นเคยกับการดูดหรืออมจุกนม โดยอาจมีผลในมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าที่มีโอกาสจะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาอันควร อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงคำตอบที่ชัดเจนต้องการการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต รวมถึงประโยชน์ในการใช้จุกนมหลอกในมารดาที่มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกรณีอื่น ๆ

เอกสารอ้างอิง

  1. Sipsma HL, Kornfeind K, Kair LR. Pacifiers and Exclusive Breastfeeding: Does Risk for Postpartum Depression Modify the Association? J Hum Lact 2017:890334417725033.

 

 

ยิ่งเริ่มให้นมลูกช้าโอกาสที่ลูกจะเสียชีวิตจะมากขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ความใกล้ชิดหรือสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกจะเป็นสิ่งที่ปกป้องและช่วยในการรอดชีวิตสูงขึ้น ซึ่งพบในธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เกิดความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้ดีก็คือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่จะสร้างความสัมพันธ์จากการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อของทารกและมารดา การสบตา การพูดคุย และผ่านกระบวนการทางฮอร์โมนแห่งความรัก ได้แก่ ออกซิโทซิน ที่จะผ่านกลไกการออกฤทธิ์ของสารสื่อประสาทในสมอง ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกจะช่วยในการพัฒนาการที่ดี นอกจากนี้ แบคทีเรียที่ผิวกายและเต้านมของมารดายังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลำไส้ของทารกเพิ่มเติมจากแบคทีเรียในช่องคลอดที่ทารกได้รับผ่านการคลอดทางช่องคลอด ดังนั้นการเริ่มให้นมลูกเร็วก็เป็นเสมือนการเริ่มสร้างเกราะคุ้มกันทารกที่ดีและแข็งแกร่ง ดังที่พบจากข้อมูลการศึกษาที่ว่า หากให้ทารกได้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้ากว่าในวันแรก ทารกจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากขึ้นกว่าการเริ่มให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในวันแรกถึงร้อยละ 851

เอกสารอ้างอิง

  1. Smith ER, Hurt L, Chowdhury R, et al. Delayed breastfeeding initiation and infant survival: A systematic review and meta-analysis. PLoS One 2017;12:e0180722.

 

 

 

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกเพิ่มมากขึ้นในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกเหนือจากการที่ทารกได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อที่เป็นการกระตุ้นพัฒนาการของระบบประสาทแล้ว ระหว่างที่มารดาให้นมลูก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก การหลอกล้อ พูดคุย การเล่าเรื่องหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่มารดาทำร่วมกับทารกขณะที่ให้นมลูกจะกระตุ้นพัฒนาการของทารกในด้านต่าง ๆ มีการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลกิจกรรมระหว่างที่มารดาให้นมลูกจากเต้ากับมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมผงดัดแปลงสำหรับทารกพบว่า มารดาที่ให้นมลูกจากเต้ามีปฏิสัมพันธ์กับทารกมากกว่ามารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมผงดัดแปลงสำหรับทารก1 ซึ่งกิจกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกน่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่อธิบายถึงการพัฒนาการทางสมองที่ดีกว่าที่พบในทารกที่กินนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Smith JP, Forrester R. Maternal Time Use and Nurturing: Analysis of the Association Between Breastfeeding Practice and Time Spent Interacting with Baby. Breastfeed Med 2017;12:269-78.

โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การที่มารดาตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเลือกโรงพยาบาลที่จะฝากครรภ์และคลอดมีความสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการให้เอาหารตามวัยต่อไปจนกระทั่งถึงสองปีหรือนานกว่านั้น ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่า การที่โรงพยาบาลกำหนดบทบาทและปฏิบัติตามนโยบายของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกนั้นเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และเมื่อศึกษาถึงอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในโรงพยาบาลที่ปัจจุบันได้รับการรับรองว่าเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก โรงพยาบาลที่เคยเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก และโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็นหรือไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบายสายสัมพันธ์แม่ลูก พบว่า โรงพยาบาลที่ปัจจุบันได้รับการรับรองว่าเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกจะช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีกว่าโรงพยาบาลที่เคยเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกและดีกว่าโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก โดยจะช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนเวลาอันควรได้ถึงร้อยละ 401 เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ดังนั้น มารดาควรหาข้อมูลของโรงพยาบาลที่จะฝากครรภ์และคลอดว่าได้ปฏิบัติหรือได้รับรองว่าเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกหรือไม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Spaeth A, Zemp E, Merten S, Dratva J. Baby-Friendly Hospital designation has a sustained impact on continued breastfeeding. Matern Child Nutr 2017.