คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

จะเป็นอย่างไร หลังออก พรบ.นมผง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? จากการบรรยายในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติของ นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ เน้นว่านมผงแพง ไม่ใช่แพงจากต้นทุนการผลิต แต่แพงจากต้นทุนการตลาด ดังนั้น พรบ. Code หรือ พรบ.นมผง จึงมีความจำเป็นต้องมีเพื่อควบคุมให้การสื่อสารทางการตลาดเป็นไปอย่างเหมาะสม ?ศ.นพ.ภิเษก ลุมพิกานนท์? ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เสนอเรื่องข้อมูลของการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรณรงค์เพื่อลดการผ่าตัดคลอดลงนอกจากจะมีผลต่อลดความเสี่ยงของมารดาและทารกแล้ว ยังมีผลต่อการเพิ่มการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย เนื่องจากมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า และทำให้การกระตุ้นให้ทารกได้กินนมแม่ในหนึ่งชั่วโมงแรกลดลง? รศ.ดร.พญ.ศิรินุช ชมโท ตัวแทนของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เน้นเรื่องการสื่อสารให้มารดาตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ ความเข้าใจในเรื่องการเจริญเติบโตของทารกตามกราฟการเจริญเติบโต การเสริมอาหารตามวัยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ทารกได้รับประโยชน์จากนมแม่สูงสุด ผศ.ดร.จริยา วิทยะศุกร ตัวแทนของสภาพยาบาลได้เน้นว่า พยาบาลถือเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขที่มีบทบาทสูงสุดในการให้การสนับสนุน ส่งเสริม รวมทั้งปกป้องนมแม่ ซึ่งพยาบาลมีบทบาทในการช่วยเฝ้าระวังการระเมิด พรบ.นมผงด้วย

? สุดท้ายแล้ว หลังการออกกฎหมาย พรบ.นมผง การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการดำเนินการร่วมกันในทุกภาคส่วนที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องให้เด็กไทยมีโอกาสได้กินนมแม่มากขึ้น

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

นมแม่กับภาวะเตี้ย (Breastfeeding and Stunting)

ผศ.พญ.อรพร ดำรงวงศ์ศิริ

??????????????????? นมแม่นับเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสารชีวภาพซึ่งส่งเสริมให้ทารกที่กินนมแม่มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมวัย ทารกที่มีสุขภาพดีและได้รับนมแม่จากมารดาที่มีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์จะมีการเจริญเติบโตที่ดีและพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงอายุ แม้ว่าโดยธรรมชาติ ต่อมน้ำนมจะมีการสร้างให้นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนสมบูรณ์ผ่านกลไกการขนส่งสารอาหารต่าง ๆ จากเลือดของมารดาสู่ต่อมน้ำนม แต่มีสารอาหารในนมแม่หลายชนิดแปรผันตามภาวะโภชนาการและการได้รับอาหารของมารดา ดังนั้น การที่ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียว อาจมีปัญหาด้านการเจริญเติบโตได้ หากทารกได้รับนมแม่ไม่เต็มที่ หรือมารดามีปัญหาทุพโภชนาการและการขาดสารอาหาร

? ? ? ? ? ? ? ?ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะเตี้ย (stunting) ในเด็กเล็ก บางการศึกษาพบว่า หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเตี้ยในทารกและเด็กเล็กคือ ระยะเวลาที่ทารกได้กินนมแม่? การศึกษาในประเทศเนปาลและไนจีเรีย พบว่า การที่ทารกได้รับนมแม่ยาวนานมากกว่า 12 เดือน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกมีภาวะเตี้ยประมาณ 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับทารกที่ได้รับนมแม่น้อยกว่า 12 เดือน การศึกษาในประเทศแทนซาเนียพบว่าทารกที่กินนมแม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักน้อยเมื่อเทียบกับทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ แต่ไม่มีความแตกต่างของความยาวของทารก? การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่ทำการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด (peer counseling) กับพื้นที่ที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศอูกานดา พบว่า ทารกจากพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีภาวะเตี้ยและน้ำหนักน้อยมากกว่าทารกจากพื้นที่ที่ไม่รับการส่งเสริม? แม้ว่าผลการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้ บ่งชี้ว่า การกินนมแม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการในทารกและเด็กเล็ก แต่หากพิจารณาข้อมูลจากการศึกษาเหล่านี้ จะพบว่าเป็นข้อมูลจากการศึกษาในประเทศที่กำลังพัฒนา ในพื้นที่ความยากจน ซึ่งหญิงให้นมบุตรอาจมีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี รวมทั้งการกินอาหารของทารกและเด็กเล็กในช่วงหลัง 6 เดือนเป็นที่มีต้นไป อาจไม่มีความเหมาะสม จึงทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ สังเกตว่า ผลการศึกษาในลักษณะนี้ ไม่พบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในทางตรงกันข้ามกลับพบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจช่วยลดดัชนีมวลกายของทารกและเป็นปัจจัยช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนในเด็กเล็ก นอกจากนั้น อาจยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยกวน เช่น ผู้เลี้ยงดูหลัก (พ่อ แม่ หรือญาติคนอื่น ๆ) สุขภาพของทารก การขาดสารอาหารบางชนิด เป็นต้น การศึกษาในประเทศเปรู พบว่า ระยะเวลาของการให้กินนมแม่มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อความยาวของเด็กเล็กเมื่ออายุ 15 เดือน แต่เมื่อมีการวิเคราะห์ทางสถิติอย่างละเอียด กลับพบว่า ทารกที่มีปัญหาสุขภาพและการเจริญเติบโตมักเป็นกลุ่มมารดามีความพยายามให้ทารกได้กินนมแม่มากกว่าที่จะเลือกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก

? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ในทางคลินิก กุมารแพทย์มักได้รับคำปรึกษาเรื่องทารกและเด็กเล็กที่มีภาวะตัวเตี้ยหรือน้ำหนักน้อย โดยส่วนหนึ่งเป็นทารกและเด็กเล็กที่กินนมแม่ยาวนาน เมื่อซักประวัติจะพบว่า ทารกมีการเจริญเติบโตดีในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้น มีการลดลงของอัตราการเจริญเติบโตในช่วงอายุ 6-8 เดือนเป็นต้นไป ทารกจะกินนมแม่ได้ดีและบ่อยครั้ง แต่มีประวัติการกินอาหารตามวัยน้อย ไม่เหมาะสม และอาจมีภาวะกินยาก (feeding difficulty) ร่วมด้วย? เนื่องจากในช่วงอายุตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไป ทารกจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากอาหารตามวัยควบคู่ไปกับนมแม่ และเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป เด็กเล็กจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารจากอาหารเป็นหลัก ดังนั้น ทารกและเด็กเล็กที่กินนมแม่และมีปัญหาการกินอาหารจึงไม่ได้รับพลังงานเพียงพอในการเจริญเติบโตและเกิดภาวะตัวเตี้ยหรือน้ำหนักน้อยตามมา

? ? ? ? ? ? ? โดยสรุป สาเหตุที่ทำให้ทารกที่กินนมแม่มีภาวะเตี้ย ได้แก่ มารดาที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ มีภาวะทุพโภชนาการ หรือไม่สามารถให้กินนมแม่ได้อย่างเต็มที่ ทารกและเด็กเล็กที่กินนมแม่นานกว่า 6 เดือนเป็นต้นไป แต่ได้รับอาหารตามวัยที่ไม่เหมาะสม ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของอาหารตามวัย ทารกและเด็กเล็กที่มีปัญหาในการกินอาหาร เช่น ปัญหากินยาก เลือกกิน เป็นต้น ดังนั้น การป้องกันปัญหาภาวะตัวเตี้ยในทารกและเด็กเล็กที่กินนมแม่ ควรให้ความสำคัญต่อการดูแลภาวะโภชนาการและการได้รับอาหารของมารดาที่ให้นมบุตร รวมทั้งการให้อาหารตามวัยแก่ทารกและเด็กเล็กที่เหมาะสม

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

นโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีบทบาทในการช่วยให้ทารกได้กินนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? นโยบายสนับสนุนการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลผลักดันที่ช่วยเหลือแก่ผู้ที่เข้าร่วม เพิ่มการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นได้1 ซึ่งการร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่มีความตื่นตัวในเรื่องนี้ จะช่วยเป็นตัวต่อที่จะช่วยยึดโยง ส่งเสริมรากฐานความแข็งแกร่งของค่านิยมนมแม่ ให้เกิดเกราะของภูมิคุ้มกันทางสังคม ที่จะช่วยปกป้องและดูแลให้มารดาและทารกไม่ได้ผลกระทบจากมายาคติจากสื่อโฆษณาการตลาดอาหารทารกที่ไม่เหมาะสม ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมความพอเพียงที่สมเหตุสมผลในการที่จะสร้างให้พฤติกรรมการกินนมแม่ให้กลับมาเป็นพื้นฐานตามธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษยชาติ ซึ่งนมแม่จะช่วยในการพัฒนาความเฉลียวและความฉลาด สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จในชีวิตเมื่อทารกเจริญวัยขึ้น อันจะเป็นส่วนช่วยสร้างสังคม ประเทศชาติ และโลกให้มีความแข็งแรงเช่นเดียวกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Panzera AD, Castellanos-Brown K, Paolicelli C, Morgan R, Potter A, Berman D. The Impact of Federal Policy Changes and Initiatives on Breastfeeding Initiation Rates and Attitudes Toward Breastfeeding Among WIC Participants. J Nutr Educ Behav 2017;49:S207-S11 e1.

เชื้อชาติมีผลต่อพฤติกรรมการกินนมแม่และการนอนของทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ลักษณะการกินนมของทารกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของมารดา โดยพฤติกรรมของมารดาก็ได้รับอิทธิพลจากเชื้อชาติ เช่นเดียวกับลักษณะการนอนของทารกที่มารดามีค่านิยมในการจัดท่าทารกนอนต่างกัน ได้แก่ การจัดลูกให้นอนตะแคงหรือนอนหงาย ซึ่งจะมีผลต่อความปลอดภัยในการนอนของทารก1 ดังนั้น การสอบถามเชื้อชาติ ค่านิยมในการให้นมลูกและการจัดท่านอนของทารกของมารดา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีบทบาทในการดูแลให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และช่วยแนะนำพฤติกรรมในการจัดการนอนของทารกให้เหมาะสมที่จะลดความเสี่ยงจากการนอนในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย สร้างความเข้าใจที่จะช่วยให้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์กับมารดาและทารกสูงสุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Parker MGK, Colson ER, Provini L, et al. Variation in Safe Sleep and Breastfeeding Practices Among Non-Hispanic Black Mothers in the US According to Birth Country. Acad Pediatr 2017.

เด็กที่กินนมแม่นานควรตรวจฟันตั้งแต่อายุน้อย

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ประโยชน์ของการกินนมแม่นั้น มีทั้งต่อมารดาและทารก โดยมีผลดีต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทารกจะมีพัฒนาการที่ดี มีความเฉลียวฉลาด และมีภูมิคุ้นกันที่จะปกป้องทารกจากการติดเชื้อหรือความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่าในทารกที่กินนมแม่นานเกินกว่าสองปี มีโอกาสพบฟันผุมากขึ้น1 ดังนั้น ในทารกที่กินนมนานมากกว่าสองปี บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลควรแนะนำให้มารดาพาลูกไปตรวจฟัน ซึ่งจะช่วยป้องกันและรักษาอาการฟันผุตั้งแต่ในระยะแรก แม้ว่าจะมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุเพิ่มขึ้นจากการกินนมแม่นาน แต่ก็ไม่แนะนำให้หยุดหรือเลิกนมแม่ เนื่องจากประโยชน์ของนมแม่ยังคงมีมากกว่า และยังคงให้อย่างต่อเนื่องได้ตามความต้องการของมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Peres KG, Nascimento GG, Peres MA, et al. Impact of Prolonged Breastfeeding on Dental Caries: A Population-Based Birth Cohort Study. Pediatrics 2017;140.