คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

มารดาที่มีน้ำนมน้อยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

IMG_9420

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อยและพบมากขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากมารดามีแนวโน้มที่จะแต่งงานและมีบุตรช้า ทำให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นในช่วงที่มารดามีอายุมากขึ้น โอกาสในการพบโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์สูงขึ้น ในมารดาที่เป็นเบาหวานจะมีน้ำนมมาช้าและมีน้ำนมมาน้อย ในทางกลับกัน ในมารดาที่มีน้ำนมมาน้อยพบว่ามีโอกาสตรวจพบมารดาเป็นเบาหวานมากกว่าถึง 2.4 เท่า1 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์พบมารดาที่มีน้ำนมมาน้อยอาจจะต้องระมัดระวังว่ามารดาอาจมีโรคเบาหวานอยู่ ซึ่งการดูแลและควบคุมเบาหวานอย่างเหมาะสม จะส่งผลดีต่อการดูแลมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Riddle SW, Nommsen-Rivers LA. A Case Control Study of Diabetes During Pregnancy and Low Milk Supply. Breastfeed Med 2016;11:80-5.

โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ พรีไบโอติกธรรมชาติช่วยป้องกันการติดเชื้อในทารก

S__45850789

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?โอลิโกแซคคาไรด์ที่มีในนมแม่จะช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อในลำไส้ และช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อลง โดยมีการศึกษาในการช่วยป้องกันการติดเชื้อโรต้าไวรัส (Rotavirus)1,2 โนโรไวรัส (Norovirus)3 ป้องกันพิษของ Clostridium difficile4 และยังเป็นพรีไบโอติก (prebiotic) ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อถิ่นที่อยู่ในลำไส้ (probiotics) ซึ่งอาจจะช่วยในการลดการเกิดภาวะลำไส้เน่าตาย (Necrotizing enterocolitis)5,6 และการติดเชื้อรา Candida abican7 ในลำไส้ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้5,6 ดังนั้น โอลิโกแซคคาไรด์ที่มีในนมแม่จึงเป็นพรีไบโอติกตามธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องซื้อหาหรือเติมแต่งเพิ่มเติม แต่ควรมีการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัว รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพรีไบโอติก

เอกสารอ้างอิง

  1. Li M, Monaco MH, Wang M, et al. Human milk oligosaccharides shorten rotavirus-induced diarrhea and modulate piglet mucosal immunity and colonic microbiota. The ISME journal 2014;8:1609-20.
  2. Hester SN, Chen X, Li M, et al. Human milk oligosaccharides inhibit rotavirus infectivity in vitro and in acutely infected piglets. Br J Nutr 2013;110:1233-42.
  3. Weichert S, Koromyslova A, Singh BK, et al. Structural Basis for Norovirus Inhibition by Human Milk Oligosaccharides. J Virol 2016.
  4. Nguyen TT, Kim JW, Park JS, et al. Identification of Oligosaccharides in Human Milk Bound onto the Toxin A Carbohydrate Binding Site of Clostridium difficile. J Microbiol Biotechnol 2015.
  5. Underwood MA, Gaerlan S, De Leoz ML, et al. Human milk oligosaccharides in premature infants: absorption, excretion, and influence on the intestinal microbiota. Pediatr Res 2015;78:670-7.
  6. Wickramasinghe S, Pacheco AR, Lemay DG, Mills DA. Bifidobacteria grown on human milk oligosaccharides downregulate the expression of inflammation-related genes in Caco-2 cells. BMC microbiology 2015;15:172.
  7. Gonia S, Tuepker M, Heisel T, Autran C, Bode L, Gale CA. Human Milk Oligosaccharides Inhibit Candida albicans Invasion of Human Premature Intestinal Epithelial Cells. J Nutr 2015;145:1992-8.

 

โรคอ้วน โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ช่วยป้องกันได้

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่จะช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อในลำไส้ และช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อลง นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาถึงโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่กับความสัมพันธ์ของโรคอ้วน โดยที่ปริมาณโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ที่มากจะสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกและสัดส่วนของไขมันที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายที่น้อยกว่า1 ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นกลไกอีกกลไกหนึ่งที่ควบคุมและลดโรคอ้วนเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น นอกเหนือจากการที่ทารกฝึกการควบคุมการกินแม่ตามความต้องการที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Alderete TL, Autran C, Brekke BE, et al. Associations between human milk oligosaccharides and infant body composition in the first 6 mo of life. Am J Clin Nutr 2015;102:1381-8.

โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ช่วยป้องกันอาการท้องเสีย

S__45850803

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? โอลิโกแซคคาไรด์เป็นสารประกอบคาร์บอไฮเดรตที่มีอยู่ในนมแม่ ซึ่งในนมผงดัดแปลงสำหรับทารกพยายามจะเสริมสารอาหารต่างๆ รวมทั้งโอลิโกแซคคาไรด์ลงไปในนมผงเพื่อสร้างความแตกต่างและชูจุดขายในชนิดและยี่ห้อนมที่เสริมสารเหล่านี้ แต่โอลิโกแซคคาไรด์ที่มีในนมแม่นั้นมีความจำเพาะและมีความสามารถในการต่อต้านการติดเชื้อโรต้าไวรัส1ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียในทารกโดยหากมีการติดเชื้อและอาการรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่นั้นนอกจากจะห้ามการเจริญเติบโตของไวรัสแล้วยังลดระยะเวลาการติดเชื้อของไวรัสลง2 ทำให้ความรุนแรงของอาการท้องเสียลดลง นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อธิบายเหตุผลว่าทำไมทารกที่กินนมแม่จึงมีภูมิคุ้นกันต่อต้านการติดเชื้อในลำไส้รวมถึงอาการท้องเสียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญในการเสียชีวิตของทารกในระยะแรกของชีวิตได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Hester SN, Chen X, Li M, et al. Human milk oligosaccharides inhibit rotavirus infectivity in vitro and in acutely infected piglets. Br J Nutr 2013;110:1233-42.
  2. Li M, Monaco MH, Wang M, et al. Human milk oligosaccharides shorten rotavirus-induced diarrhea and modulate piglet mucosal immunity and colonic microbiota. The ISME journal 2014;8:1609-20.

 

มารดาวัยรุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่าจริงหรือ

IMG_9404

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ปัญหามารดาวัยรุ่นในประเทศไทยพบได้บ่อย โดยที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพบร้อยละ 14.81 แม้ว่ามารดาวัยรุ่นจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดสูงขึ้น ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความยากลำบากในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากทารกอาจจำเป็นต้องแยกจากมารดาและดูแลอยู่ที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต บุคลากรทางการแพทย์จึงต้องใส่ใจและให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดากลุ่มนี้ แต่ในกรณีที่มารดาวัยรุ่นที่คลอดครบกำหนดและไม่มีภาวะแทรกซ้อน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่ได้แตกต่างจากมารดาในกลุ่มอายุอื่นๆ เลย1,2 ความเข้าใจในเรื่องนี้ อาจทำให้การจดสรรกำลังบุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapompong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.
  2. Jara-Palacios MA, Cornejo AC, Pelaez GA, Verdesoto J, Galvis AA. Prevalence and determinants of exclusive breastfeeding among adolescent mothers from Quito, Ecuador: a cross-sectional study. Int Breastfeed J 2015;10:33.