คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

เทคนิคในการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ

hand expression13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? วิธีการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือเป็นวิธีพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริมใดๆ ประหยัด สะดวก และเหมาะกับยุคเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ มีขั้นตอนดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด พร้อมเตรียมภาชนะใส่นมอาจเป็นแก้วน้ำ หรือถ้วยชามที่สะอาดก็ได้
  • มารดาควรนึกถึงภาพทารกและการให้นมทารก อาจใช้ภาพถ่าย การบันทึกเสียงหรือผ้าที่ใช้ห่อตัวทารกเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนม
  • นวดเต้านมจากด้านนอกเข้าหาหัวนม อาจใช้ผ้าอุ่นประคบราว 5 นาทีเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลเวียนได้ดี
  • วางนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านบน ขณะที่นิ้วที่เหลืออยู่ทางด้านล่าง โดยระยะห่างจากฐานของหัวนมประมาณ 3 เซนติเมตร กดที่หัวแม่มือและนิ้วที่เหลือลงไปที่หน้าอกก่อน แล้วออกแรงบีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วที่เหลือเข้าหากัน บีบไล่น้ำนมจากท่อน้ำนมที่อยู่ใต้นิ้วมือไปที่หัวนม บีบน้ำนมจนหมด แล้วหมุนมือเปลี่ยนที่ไปรอบๆ เต้านมเพื่อบีบน้ำนมที่ท่อน้ำนมที่เหลือจนเกลี้ยงเต้า ไม่ควรใช้นิ้วมือบีบเฉพาะบริเวณหัวนม
  • กระบวนการบีบเก็บน้ำนมจากสองเต้า ใช้เวลาราว 20-30 นาที
  • เก็บน้ำนมจากภาชนะใส่ถุงเก็บน้ำนม ควรเขียนชื่อของมารดา วันที่ที่เก็บ เพื่อความสะดวกในการเลือกนำมาใช้ และความปลอดภัยในการเก็บรักษา จากนั้นเก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น แต่หากไม่มีตู้เย็น สามารถใส่ในกระติกหรือกระเป๋าเก็บความเย็นที่ใส่น้ำแข็งไว้ขณะที่อยู่ที่ทำงานหรือต้องเดินทาง แล้วนำกลับบ้านหลังเลิกงาน

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

การเตรียมตัวของมารดาที่ให้นมบุตรเมื่อต้องกลับไปทำงาน ตอนที่2

IMG_1728

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเตรียมความพร้อมที่ทำงาน

-จดรายชื่อเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ เพื่ออาจใช้ในการขอคำปรึกษา

? ? ? ? ?-หากสามารถบริหารจัดการได้ ควรเริ่มการกลับมาทำงานโดยเริ่มทำงานในช่วงที่สั้นๆ ก่อนแล้วค่อยๆ ปรับเป็นเต็มเวลา หากทำได้

? ? ? ? ?-การเริ่มกลับไปทำงาน หากมารดาต้องทำงานในวันจันทร์ถึงศุกร์ ควรเลือกที่จะเริ่มกลับมาทำงานในวันพฤหัสหรือวันศุกร์ก่อน เพื่อการทำงานในระยะแรกจะทำงานเพียง 1-2 วันแล้วถึงวันหยุด ซึ่งมารดาจะสามารถกลับมาวางแผนการปรับตัวสำหรับการทำงานและการให้นมลูก

? ? ? ? ?-มารดาควรให้นมลูกกินนมแม่ก่อนออกไปทำงาน และหลังจากกลับมาจากการทำงาน เมื่อมารดาและทารกได้อยู่ด้วยกัน

? ? ? ? ? -ควรให้ทารกกินนมแม่ตามความต้องการในช่วงเวลาเย็นและกลางคืน โดยมารดาและทารกควรอยู่ห้องเดียวกัน ใกล้ๆ กัน เพื่อมารดาสามารถสังเกตอาการหิวของทารกและให้นมได้บ่อยครั้งตามต้องการ และควรทำการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ

? ? ? ? ?-หากมารดาต้องใช้เครื่องปั๊มนม ควรทำความสะอาดเครื่องปั๊มนมและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันไว้ก่อนเวลาที่จำเป็นต้องใช้

? ? ? ? ? -เตรียมกระเป๋าหรือกระติกเก็บความเย็นที่จะใช้สำหรับเก็บน้ำนมที่บีบเก็บหรือปั๊มได้กลับบ้าน และสำรวจอุปกรณ์ที่มีสนับสนุนการบีบเก็บน้ำนมในที่ทำงาน เช่น เครื่องปั๊มนม ถุงเก็บน้ำนม ตู้เย็นหรือตู้แช่สำหรับแช่น้ำนมที่บีบเก็บ

? ? ? ? ? ?-ถ่ายรูปลูก บันทึกเสียงหรือใช้ผ้าห่อตัวทารกของลูกที่มีกลิ่นทารก เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นการไหลของน้ำนมในการบีบเก็บน้ำนมหรือการปั๊มนม

? ? ? ? ? -เตรียมเสื้อผ้ามาสำรองเพื่อใช้ในกรณีที่มีน้ำนมไหลแฉะหรือเลอะเปรอะ

? ? ? ? ?-ควรเตรียมเสื้อนอกหรือแจ็กแก็ตที่ใส่คลุมข้างนอกเพื่อช่วยปิดปังการไหลของน้ำนมเลอะเสื้อหากจำเป็น

? ? ? ? ?-ควรเลือกเสื้อผ้าที่เป็นชุดแยกกันระหว่างเสื้อกับกระโปรงหรือกางเกง หรือชุดที่สามารถจะเปิดเพื่อการบีบเก็บน้ำนมหรือปั๊มนมได้สะดวก

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

การเตรียมตัวของมารดาที่ให้นมบุตรเมื่อต้องกลับไปทำงาน ตอนที่1

IMG_1588

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การทำงานของสตรีมีความจำเป็นมากขึ้น เมื่อสตรีทำงานนอกบ้าน หากอยู่ในช่วงที่ให้นมบุตร การเตรียมตัวสำหรับการกลับไปทำงานจึงมีความจำเป็น ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับมารดาที่ให้นมบุตรเมื่อต้องกลับไปทำงาน มีดังนี้

การเตรียมตัวก่อนการกลับไปทำงาน

? ? ? ? ? ?-ลาพักเพื่อเลี้ยงดูบุตร และให้ลูกกินนมแม่นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

? ? ? ? ? ?-ประสานงานกับนายจ้างหรือบริษัทก่อนวันที่ต้องกลับไปทำงาน

? ? ? ? ? ?-หากเป็นไปได้ ควรมีการเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนการลาพักเพื่อเลี้ยงดูบุตร

? ? ? ? ? ? -ควรมีการฝึกการบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนม 2 สัปดาห์ก่อนการกลับไปทำงาน

? ? ? ? ? ? -ควรมีการเริ่มการบีบเก็บน้ำนมตั้งแต่ในระยะแรก เพื่อให้มีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ

? ? ? ? ? ? -ควรมีการเตรียมการให้นมแม่แก่ทารกด้วยทางเลือกอื่นๆ ที่อาจทำได้ ได้แก่ การป้อนนมแม่ด้วยถ้วย หรืออาจใช้ขวดนมหากมีความจำเป็น

? ? ? ? ? ? -ทดลองป้อนทารกด้วยถ้วยหลายๆ ลักษณะและสังเกตว่าทารกชอบลักษณะไหน เช่นเดียวกับการเลือกใช้จุกนมและขวดนมหากมีความจำเป็น

? ? ? ? ? ? -พยายามให้สามีหรือญาติที่ช่วยดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลทารกและงานบ้าน เพื่อให้มีความพร้อมเมื่อจำเป็นต้องช่วยในการให้นมลูกขณะที่มารดาต้องกลับไปทำงาน

? ? ? ? ? ? -ควรจัดเวลาเตรียมการให้ทารกได้อยู่กับผู้เลี้ยงดูในช่วงสั้นๆ ก่อนมารดากลับไปทำงาน เพื่อดูว่าผู้ดูแลสามารถจัดการดูแลทารกได้ตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่

? ? ? ? ? ? -ควรจะมีการฝึกทักษะการป้อนนมด้วยถ้วยให้แก่ผู้ดูแล รวมทั้งในฝึกการเตรียมนมและป้อนนมด้วยขวดนม หากมีความจำเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

น้ำหนักของมารดาที่ลดลงหลังคลอดขณะให้นมบุตร

IMG_1636

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ขณะที่ตั้งครรภ์? มารดาจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปราว 10-12 กิโลกรัมในมารดาที่รูปร่างปกติ ในมารดาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักไม่จำเป็นต้องเท่ากับ 10-12 กิโลกรัม สำหรับมารดาที่ผอม ต้องมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ การขึ้นของน้ำหนักที่เหมาะสมจะส่งผลต่อการลดลงของน้ำหนักหลังคลอดที่ดีด้วย และหากมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะยิ่งช่วยให้น้ำหนักหลังคลอดลดลงได้ดีขึ้น ซึ่งน้ำหนักของมารดาควรจะลดลง 0.5-1 กิโลกรัมต่อเดือนในช่วงหกเดือนแรก อย่างไรก็ตามในมารดาที่มีน้ำหนักขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าปกติ การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายมีความจำเป็น โดยในระหว่างให้นมบุตร มารดาสามารถออกกำลังกายได้โดยไม่มีผลต่อการลดลงของปริมาณน้ำนม แต่การลดน้ำหนักหลังคลอดขณะให้นมบุตรไม่ควรจะลดน้ำหนักลงเร็วเกินไป เนื่องจากอาจส่งผลต่อความเครียดและมีผลต่อปริมาณน้ำนมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 1 ปีหลังคลอด

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลใน 12 เดือนหลังคลอด จะเป็นการติดตามดูการให้นมลูกของมารดาและสอบถามถึงอุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง พูดคุยกับมารดาถึงแรงกดดันต่างๆ ที่ต้องการให้มารดาหยุดการให้นมแม่ รวมถึงวิธีการหย่านมหากมารดามีความต้องการ ในระยะนี้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

การประเมินการกินนมแม่

  • ลักษณะการกินนมของทารกเป็นอย่างไร
  • ทารกหลับในเวลากลางคืนนานไหม
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • มารดาได้รับประทานยาใดเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงจากตั้งแต่เกิด การชั่งก่อนหน้านี้ และการชั่งน้ำหนักในครั้งนี้
  • ประเมินน้ำหนักของทารกโดยใช้กราฟติดตามการเจริญเติบโตของทารก
  • ตรวจร่างกายทารกโดยทั่วไปตามระบบ
  • ควรมีการตรวจความเข้มข้นของเลือดของทารก เพื่อตรวจสอบภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก หากทารกมีน้ำหนักขึ้นไม่เหมาะสม ลูกปฏิเสธการกินนมหรือมารดามีความวิตกกังวล

คำแนะนำที่ให้

  • ปกติมารดาควรให้นมทารก 4-8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • ทบทวนความสำคัญของการให้ลูกกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง
  • พูดคุยกับมารดาเรื่องการรับประทานธาตุเหล็กเสริม แนะนำให้ทารกกินชนิดและรสชาติของอาหารที่หลากหลาย
  • เสนอแนะให้มารดาป้อนน้ำนมที่บีบเก็บไว้หรืออาหารเสริมที่เป็นน้ำโดยใช้การป้อนด้วยถ้วย
  • พูดคุยกับมารดาในกรณีทารกมีฟันขึ้น
  • พูดคุยกับมารดาถึงพฤติกรรมของทารกที่เปลี่ยนไป การให้ความสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอาจมีการปฏิเสธการกินนม
  • พูดคุยกับมารดาเรื่องแรงกดดันให้หยุดหรือหย่านมทารกที่อาจเกิดจากคนในครอบครัวหรือเพื่อน
  • ทบทวนให้มารดาทราบถึงประโยชน์ในระยะยาวของการให้ลูกกินนมแม่
  • หากมารดามีความประสงค์จะหยุดให้นมลูก แนะนำขั้นตอนในการหย่านมทารก
  • แนะนำการรับประทานอาหารของมารดา
  • แนะนำให้มารดาตรวจเต้านมกับแพทย์

การให้การดูแล

  • หากทารกน้ำหนักขึ้นดีตามเกณฑ์และมารดารู้สึกพึงพอใจ การให้การดูแลอื่นๆ ยังไม่มีความจำเป็น

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ชื่นชมมารดากับความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่ โดยเฉพาะหากมารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้กำลังใจให้มารดาให้นมแม่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง
  • การนัดติดตามดูแลทารกอย่างต่อเนื่องยังมีความจำเป็นในช่วง 15 เดือน 18 เดือน 2 ปี หรือในทารกที่อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.