คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

แพทย์ควรมีความรู้เรื่องยาที่ใช้ในระหว่างการให้นมบุตร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรแล้วมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ยาเป็นประจำ โดยเฉพาะโรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคที่เกิดจากความวิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า ซึ่งพบมีอุบัติการณ์สูงขึ้น อาจเป็นเพราะสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันทางการเรียน การค้า เศรษฐกิจสูง จึงมีโอกาสที่จะพบมารดาที่จำเป็นต้องกินยาทางด้านจิตเวชในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แพทย์ทางจิตเวชอาจต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ยาเหล่านี้ในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรด้วย1 เนื่องจากผู้ป่วยอาจจะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายหรือผลแทรกซ้อนในกรณีที่ต้องรับประทานยาในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แน่นอนการให้ผู้ป่วยมาปรึกษาเรื่องยากับสูติแพทย์ก็อาจเป็นหนทางหนึ่ง แต่บางครั้งผู้ป่วยต้องการความมั่นใจที่จะได้จากจิตแพทย์ด้วย หากแพทย์ผู้ดูแลไม่ว่าในสาขาใดสามารถที่จะค้นคว้าหาข้อมูลของยาที่ใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรแล้วก็จะเป็นประโยชน์แก่มารดาและต่อการตัดสินใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการจัดข้อมูลยาตามกลุ่มยา (category) นั้น องค์การอาหารและยาของสหรัฐแนะนำให้มีการปรับเปลี่ยนการให้ข้อมูลใหม่แล้ว โดยแพทย์ควรให้ข้อมูลถึงการศึกษาวิจัยว่ามีข้อมูลอย่างไรบ้างแล้วชี้แจงในรายละเอียดมากกว่าการให้ข้อมูลว่า ยานี้อยู่ใน category C ซึ่งแสดงว่าขาดข้อมูลที่เพียงพอ แล้วชี้แจงผู้ป่วยว่ามีความปลอดภัยในการใช้ ดังนั้น การให้ข้อมูลตามที่มีการศึกษาอยู่โดยรายละเอียดจำเป็นเพื่อให้มารดาและครอบครัวร่วมพิจารณา จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติและทำให้เป็นมาตรฐานในการรักษาทางการแพทย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Terres NM. Resources for Psychiatric Clinicians Working With Breastfeeding Mothers. J Psychosoc Nurs Ment Health Serv 2018:1-10.

 

เทคนิคการบีบน้ำนมด้วยมือ

การบีบน้ำนมด้วยมือเป็นทักษะพื้นฐานที่นอกเหนือจากจะช่วยในการเก็บน้ำนมแล้ว ยังสะท้อนหรือบ่งบอกว่าแม่มีน้ำนมเพียงพอได้ หากบีบน้ำนมแล้วน้ำนมพุ่งหรือไหลดี

เสียงการกลืนนมของทารก


การสังเกตจังหวะการดูดนมและการกลืนนมของทารก จะสามารถช่วยบอกว่าทารกเข้าเต้าหรือดูดนมได้ดีหรือไม่

การปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมและกระตุ้นให้ลูกดูดนม


ในขณะที่มารดาให้นมลูก มารดาอาจเมื่อยและต้องการปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูก วิดีโอนี้แนะนำวิธีการปรับเปลี่ยนท่าเบื้องต้นเพื่อลดอาการเมื่อยล้าและการกระตุ้นบีบน้ำนมซึ่งจะทำให้ทารกกินนมได้ดีขึ้น

การกระตุ้นปลุกลูกให้กินนมแม่


มักจะพบบ่อยว่าทารกติดหลับขณะดูดนมจากอกแม่ในกรณีที่่ทารกคลอดก่อนกำหนด วิดีโอนี้แนะนำการกระตุ้นปลุกทารกให้กินนมแม่ได้ดีขึ้น