คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (10)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การจัดรูปแบบการดูแลมารดาที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ซับซ้อนตามกรอบแนวคิด ?Iceberg model โดยลมัย แสงเพ็ง และจตุพร เพิ่มพรสกุล โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เป็นวิจัยผลของการพัฒนาสมรรถนะโดย Iceberg model ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มที่มีปัญหาซับซ้อนในการให้นมแม่ เช่น หัวนมบอดบุ๋ม ลูกสับสนหัวนม หรือลูกเป็นทารกเกิดก่อนกำหนด การสร้างแนวปฏิบัติตามกรอบแนวคิดของ? Iceberg model ประกอบด้วย การใช้สุนทรียสนทนา เพื่อค้นหาการรับรู้(perception)และความคาดหวัง(Expectation) ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาแต่ละราย การให้ข้อมูลที่ตอบสนองเชิงบวกต่อการรับรู้และความคาดหวัง และการสร้างช่องทางการเข้าถึงบริการคลินิกนมแม่ที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของมารดาแต่ละรายช่วยเพิ่มสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลุ่มที่มีปัญหานมแม่ซับซ้อนได้

?ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (9)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาคลอดก่อนกำหนด (The effect of empowerment for breastfeeding in mother?s preterm labor) โดย จันทรัสม์ สมศรี และสุวรรณศรี กตะศิลา? โรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นวิจัยที่ศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาคลอดก่อนกำหนด โดยเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 37 คน กลุ่มทดลองได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจตามกรอบแนวคิดของกิบสัน 5 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หลังคลอด ส่วนกลุ่มควบคุมดูแลตามปกติหลังคลอด พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน สำหรับระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มทดลองเฉลี่ย 4.89 เดือน ส่วนกลุ่มควบคุมเฉลี่ย 1.91 เดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปการเสริมสร้างพลังอำนาจ ช่วยให้มารดาคลอดก่อนกำหนดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานขึ้น จึงควรนำมาใช้กับมารดาคลอดก่อนกำหนดทุกราย เพื่อช่วยให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จตามเป้าหมาย

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (8)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อปริมาณน้ำนมแม่ที่พอเพียงและพฤติกรรมการปฏิบัติของมารดาเพื่อการคงอยู่ของนมแม่สำหรับทารกหลังได้รับการผ่าตัดช่องท้อง (The effects of promoting breast feeding self-efficacy program on sufficient of breast milk supply and maintenance of lactation behavior in mothers of newborn after explore laparotomy) โดยนพรัตน์? ละครเขต สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และวีณา จีระแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิจัยเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของนมแม่ และปริมาณของน้ำนมแม่ที่พอเพียงสำหรับทารกหลังได้รับการผ่าตัดช่องท้องระหว่างมารดากลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ามารดาที่ได้รับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนมีพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของนมแม่สูงและสามารถคงปริมาณของน้ำนมแม่ให้มีความพอเพียงสำหรับทารกได้

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (7)

? ? ? ? ? ? ? ? ? ผลของรูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหกเดือนหลังคลอดของสตรีที่ทำงานนอกบ้าน? ?(Effects of breastfeeding support model on breastfeeding rates within six months among women employed outside the home) โดยสุสัณหา? ยิ้มแย้ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ พิกุล ทรัพย์พันแสน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิจัยที่ทดสอบผลของรูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลต่อการให้นมมารดาแก่บุตรอย่างเดียวในหกเดือนแรกในมารดาที่กลับไปทำงานหลังคลอดโดยมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังคลอดและกลับไปอยู่ที่บ้าน การช่วยในการวางแผนและการทบทวนแผนการปฏิบัติเมื่อกลับไปทำงานหลังคลอด การติดตามและการช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อกลับไปทำงานเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่ามารดาที่ได้รับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องจากพยาบาลมีอัตราการให้นมแม่อย่างเดียวแก่บุตรในหกเดือนแรกหลังคลอดสูงกว่ามารดาหลังคลอดที่ทำงานนอกบ้านที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่ารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลสำหรับมารดาที่ทำงานนอกบ้านมีผลต่อการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนหลังคลอด

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (6)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?โครงการบริการวิชาการการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการให้นมบุตรและการบีบเก็บน้ำนมในทัณฑสถานเขตภาคเหนือตอนล่าง (Academic service project of development of breastfeeding support and milk storage at one prison in lower northern area) โดยประทุมา ฤทธิ์โพธิ์ และพรรณทิพา? บัวคล้าย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิจัยที่การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และบีบเก็บน้ำนมในทัณฑสถาน โดยการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการให้นมบุตรและการบีบเก็บน้ำนมในทัณฑสถานเขตภาคเหนือตอนล่างจากผู้ต้องขังหลังคลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 16 คน ซึ่งจากโครงการส่งผลให้ทารกได้รับนมแม่จากการบีบเก็บน้ำนมในกรณีที่ต้องมีการแยกจากมารดา และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการป้อนนมทารกเมื่อทารกต้องส่งออกมานอกทัณฑสถาน

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์