คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

ภาวะเครียดจากการบาดเจ็บรุนแรงหลังคลอดมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หลังการคลอด หากมารดามีภาวะเครียดจากการบาดเจ็บรุนแรง (post-traumatic stress disorder) ไม่ว่าจะเป็นจากเหตุการณ์ในระหว่างการคลอดหรือภาวะกดดันที่ทำให้เกิดความเครียดจากการเจ็บป่วยจากภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดพบว่ามีผลเสียต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเพิ่มโอกาสที่จะทำให้มารดาไม่สามารถเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นเกือบ 6 เท่า และยังทำให้มารดาลดโอกาสที่จะให้นมลูกได้ต่อเนื่องจนครบ 12 เดือนลง1 ซึ่งหากบุคลากรทางการแพทย์มีการตรวจคัดกรองภาวะเครียดจากการบาดเจ็บรุนแรงหลังคลอดและมีการเอาใจใส่ดูแลช่วยให้คำปรึกษามารดาอย่างใกล้ชิด น่าจะลดปัญหาที่จะเกิดจากภาวะเครียดจากการบาดเจ็บรุนแรงหลังคลอดลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Garthus-Niegel S, Horsch A, Ayers S, Junge-Hoffmeister J, Weidner K, Eberhard-Gran M. The influence of postpartum PTSD on breastfeeding: A longitudinal population-based study. Birth 2018;45:193-201.

การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกไม่มีความสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การคลอดที่เนิ่นนานและมีการใช้หัตถการในการช่วยคลอดจะมีผลเสียต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากทารกที่คลอดอาจพบอาการบาดเจ็บและอ่อนเพลีย ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนี้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ยังต้องดูแลเฝ้าดูอาการทารกอย่างใกล้ชิด หากทารกที่คลอดออกมามีอาการอ่อนเพลี้ย ไม่ร้อง หรือมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกในระหว่างการคลอดเพื่อลดการคลอดไม่ให้มีการคลอดที่เนิ่นนานนั้น ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร1 อย่างไรก็ตาม สำหรับการผ่าตัดคลอดยังคงมีผลเสียต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินหรือนัดผ่าตัดคลอด ดังนั้น การคลอดที่เกิดขึ้นเองตามกลไกธรรมชาติ ไม่เนิ่นนานล่าช้า ไม่ได้ใช้หัตถการหรือผ่าตัดคลอด น่าจะเกิดผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากที่สุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Fernandez-Canadas Morillo A, Duran Duque M, Hernandez Lopez AB, et al. Cessation of breastfeeding in association with oxytocin administration and type of birth. A prospective cohort study. Women Birth 2018.

 

การผ่าตัดแก้ไขหัวนมบอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การผ่าตัดแก้ไขหัวนมบอดในสตรี ส่วนใหญ่ต้องมีการผ่าตัดก่อนการคลอดนานราว? 6 เดือน เทคนิคในปัจจุบันจะมีการรบกวนท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนมน้อย หลังการผ่าตัดสามารถทำให้หัวนมยืดยาวออกได้ มีการศึกษาพบว่าหลังการผ่าตัดแก้ไข มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีขึ้น1 อย่างไรก็ตาม การขนาดตัวอย่างของการศึกษานี้ยังมีน้อย ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นอยู่กับขนาดความยาวของหัวนมที่แก้ไขหลังผ่าตัด2 และในการให้นมลูกนั้นแม้ความยาวของหัวนมจะมีผลต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ขณะที่ลูกกินนมแม่ทารกที่ดูดนมแม่จะอมทั้งหัวนมและลานนม ซึ่งส่วนหนึ่งของลานนมจะยืดยาวและเป็นส่วนหนึ่งที่ทารกใช้ในการดูดนมแม่ ดังนั้น การพิจารณาการผ่าตัดหัวนมบอดเพื่อแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีข้อมูลที่ไม่สามารถสรุปได้ จำเป็นต้องได้รับการศึกษาในรายละเอียดต่อไปในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Feng R, Li W, Yu B, Zhou Y. A Modified Inverted Nipple Correction Technique That Preserves Breastfeeding. Aesthet Surg J 2018.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Paritakul P, Ketsuwan S, Wongin S. Nipple length and its relation to success in breastfeeding. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 1:S1-4.

การให้คาร์โบไฮเดรตก่อนการผ่าตัดช่วยให้มารดาที่ผ่าตัดคลอดให้นมลูกได้ดีขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การผ่าตัดคลอดเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะพบมีการเริ่มต้นการให้นมลูกช้า ซึ่งจะส่งผลต่อการมาของน้ำนมและระยะเวลาการให้นมของมารดาด้วย สาเหตุของการที่มีน้ำนมมาช้าในมารดาที่ผ่าตัดคลอดมีหลายสาเหตุอาจจะเกิดจากมารดามีความเครียด วิตกกังวล หิว กระหายน้ำ ?การดื้อต่ออินซุลิน หรืออื่น ๆ มีการศึกษาการให้คาร์โบไฮเดรตก่อนการผ่าตัดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดเพื่อช่วยในการลดการหิว การกระหายน้ำ และลดการดื้อต่ออินซุลินพบว่า มารดาที่ได้รับคาร์โบไฮเดรตก่อนการผ่าตัดจะเริ่มการให้นมลูกเร็วกว่า มีความถี่ของการให้นมมากกว่า และมีระยะเวลาของการให้นมลูกนานกว่า1 ดังนั้นในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามใด ๆ การให้คาร์โบไฮเดรตก่อนการผ่าตัดคลอดน่าจะสามารถช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาดีขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Fard RK, Tabassi Z, Qorbani M, Hosseini S. The Effect of Preoperative Oral Carbohydrate on Breastfeeding After Cesarean Section: A Double-Blind, Randomized Controlled Clinical Trial. J Diet Suppl 2018;15:445-51.

 

ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น การฝึกให้มารดามีทักษะในการให้นมลูกเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มารดาเกิดความเชื่อมั่นว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองได้ โดยความเชื่อมั่นของมารดาจะช่วยให้มารดามีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกทักษะในการให้นมลูกของมารดาพบว่า การศึกษา การรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อน ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การที่มารดาปราศจากปัญหาเรื่องเต้านม การที่มารดาได้รับการฝึกทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทันทีหลังคลอดและมีนัดติดตามการปฏิบัติอย่างน้อยอีกสองครั้งหลังมารดาได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน1 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์มีความเข้าใจในปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ และนำไปใช้ในการคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยง เพื่อการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด จะช่วยลดปัญหาของการที่มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสมจากการที่มารดาขาดทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Tiruye G, Mesfin F, Geda B, Shiferaw K. Breastfeeding technique and associated factors among breastfeeding mothers in Harar city, Eastern Ethiopia. Int Breastfeed J 2018;13:5.