คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การให้ลูกกินนมแม่ กินจากเต้าโดยตรงน่าจะดีที่สุด

IMG_3494

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ปัจจุบัน ค่านิยมในการปั๊มนมแล้วป้อนให้กับทารกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกสังคมรวมทั้งในประเทศไทย แม้ว่าการที่ลูกยังคงได้กินนมแม่ยังคงได้รับประโยชน์ส่วนหนึ่ง แต่ในกระบวนการกินนมแม่จากเต้านมนั้นยังช่วยในการพัฒนาการของทารกในหลาย ๆ ด้าน เพราะระหว่างที่ทารกดูดนมแม่ หากมารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยในการพัฒนาความเชื่อมโยงของระบบประสาท การสบตากันระหว่างมารดาและทารก การหยอกล้อ พูดคุย กระตุ้นพัฒนาการของทารกในด้านภาษา ความอบอุ่นในอ้อมอกมารดาเพิ่มความมั่นคงในอารมณ์ และการที่ทารกสามารถควบคุมการกินนมได้ตามที่ต้องการนั้น สามารถป้องกันภาวะอ้วนที่พบเพิ่มขึ้นเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นได้ การปั๊มนมนั้น มารดามักต้องใช้ขวดนมในการป้อนทารก1 หากผู้ป้อนไม่ใช่มารดา ขาดการเอาใจใส่ ป้อนนมทุกครั้งที่ทารกร้อง ประโยชน์ที่ได้จากกระบวนการกินนมแม่จากเต้านมจะลดลง นอกจากนี้ การให้ทารกดูดนมจากเต้าจะทำให้น้ำนมเกลี้ยงเต้าได้ดีที่สุด ลดการเกิดการขังของน้ำนม เต้านมอักเสบ ที่จะลุกลามไปเป็นฝีที่เต้านมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Felice JP, Geraghty SR, Quaglieri CW, Yamada R, Wong AJ, Rasmussen KM. “Breastfeeding” but not at the breast: Mothers’ descriptions of providing pumped human milk to their infants via other containers and caregivers. Matern Child Nutr 2017.

 

การให้ลูกกินนมแม่ลดความเจ็บปวดระหว่างการฉีดวัคซีนได้

IMG_3651

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า ขณะที่ทารกดูดนมแม่ ทารกจะรู้สึกอบอุ่น สงบ และปลอดภัยในอ้อมอกของมารดา เมื่อทารกต้องได้รับการฉีดวัคซีนหรือเจาะเลือด หากทารกกินนมแม่จะช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างการฉีดวัคซีนหรือทำหัตถการได้ โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มทารกที่กินนมแม่กับกลุ่มควบคุม เมื่อทำการฉีดวัคซีน พบว่า ทารกที่กินนมแม่มีระยะเวลาที่ร้องไห้สั้นกว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของการเต้นของหัวใจของทารกน้อยกว่า คะแนนความเจ็บปวดจากการทำหัตถการน้อยกว่า และการลดลงของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือดลดลงน้อยกว่า ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ แสดงถึง การให้ลูกกินนมแม่ช่วยลดความเจ็บปวดของลูกขณะทำหัตถการลงได้1 อย่างไรก็ตาม การเลือกนำมาปฏิบัติใช้ ควรมีการเตรียมความพร้อมของมารดาระหว่างการทำหัตถการด้วย ควรเลือกปฏิบัติเฉพาะมารดาที่มีความพร้อม เพราะบางครั้งมารดาบางคนกลัวเข็มหรือกลัวเลือด เมื่อฉีดวัคซีนหรือเจาะเลือดลูก มารดาอาจเป็นลม ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ต้องการการดูแลทั้งมารดาและทารกก็เป็นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Erkul M, Efe E. Efficacy of Breastfeeding on Babies’ Pain During Vaccinations. Breastfeed Med 2017.

สตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กอาจพบปัญหาในการให้นมลูก

IMG_9338

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และการที่ต้องดิ้นรนหารายได้ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวลดน้อยลง ปัญหาของสตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กพบเพิ่มขึ้นตามชาติตะวันตก เมื่อสตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศตั้งแต่ในวัยเด็กเจริญเติบโตขึ้น ตั้งครรภ์และให้นมบุตร การให้นมบุตรอาจทำให้มารดามีความรู้สึกหรือระลึกถึงการทำทารุณกรรมในขณะวัยเด็กได้ เนื่องจากบางครั้ง ขณะให้นมลูก มารดาจะมีการเจ็บหัวนม ซึ่งมีการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มสตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กพบว่า สตรีเหล่านี้จะมีปัญหาในระหว่างการให้นมลูกมากกว่าสตรีทั่วไป และพบภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เต้านมอักเสบมากกว่าด้วย1 บุคลากรทางการแพทย์หากได้ประวัติมารดาที่มีความเสี่ยงนี้ ควรใส่ใจทั้งในด้านจิตใจและกระบวนการในการให้นมลูกของมารดาเหล่านี้ เพื่อช่วยให้คำปรึกษาที่เหมาะสม แก้ไขอาการเจ็บปวดเต้านมขณะให้นมลูกที่จะไปกระตุ้นความทรงจำที่เลวร้ายในอดีต ซึ่งหากมีการดูแลที่เหมาะสม น่าจะลดปัญหาที่พบในมารดากลุ่มนี้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Elfgen C, Hagenbuch N, Gorres G, Block E, Leeners B. Breastfeeding in Women Having Experienced Childhood Sexual Abuse. J Hum Lact 2017:890334416680789.

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่น

img_2203

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย อัตราการตั้งครรภ์ของมารดาในวัยรุ่นในประเทศไทยพบร้อยละ 14.81? โดยระหว่างการตั้งครรภ์มารดาวัยรุ่นมักมีความเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อย หลังคลอดการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มนี้ มีความจำเป็น จากที่มีการศึกษาพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มมารดาวัยรุ่นต่ำ2 ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดการที่มารดามีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ทำให้มีโอกาสที่ทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอทารกป่วยวิกฤตสูงกว่า ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้การดูแลควรมีการเตรียมการ แนะนำ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในกรณีที่การคลอดอาจมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความลำบาก อย่างไรก็ตาม การเตรียมการที่ดีตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ เอาใจใส่ให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวเกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น่าจะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.
  2. Edwards R, Peterson WE, Noel-Weiss J, Shearer Fortier C. Factors Influencing the Breastfeeding Practices of Young Mothers Living in a Maternity Shelter. J Hum Lact 2017:890334416681496.

 

มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรกินยาบำรุงธาตุเหล็ก

IMG_3457

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ขณะที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และควรต้องรับประทานแร่ธาตุหรือวิตามินที่มารดามักขาดแคลน หากอยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงในการขาด สำหรับแร่ธาตุที่มักพบว่ามีการขาดแคลนในทารกที่กินนมแม่ คือ ธาตุเหล็ก โดยจะพบว่ามีความเสี่ยงในการขาดในช่วง 6 เดือน แต่มีรายงานว่าอาจพบในช่วงทารกอายุ 9 เดือนด้วย1 การที่วางแผนป้องกันความเสี่ยงในการขาดธาตุเหล็กของทารกตั้งแต่ช่วงระหว่างการคลอด โดยการชะลอการตัดสายสะดือ การับประทานธาตุเหล็กของมารดาระหว่างการให้นมบุตร นอกจากนี้ วิตามินดี ยังเป็นสิ่งที่พบว่ามีการขาดในทารกโดยที่สมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้เสริมให้แก่ทารกทุกราย สำหรับข้อมูลในประเทศไทย มีการพบว่ามารดามีการขาดวิตามินดีอยู่ในสัดส่วนที่สูงขึ้น ดังนั้น การเสริมวิตามินดีอาจจำเป็นในทารกในประเทศไทยด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Clark KM, Li M, Zhu B, et al. Breastfeeding, Mixed, or Formula Feeding at 9 Months of Age and the Prevalence of Iron Deficiency and Iron Deficiency Anemia in Two Cohorts of Infants in China. J Pediatr 2017;181:56-61.