คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

มารดาอ้วนก่อนการตั้งครรภ์ทำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นลง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?น้ำหนักมารดาที่มากหรือมีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ในภาวะอ้วนส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดรวมทั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในระยะฝากครรภ์จะมีความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกตัวโตหรือมีน้ำหนักมากเกิน ที่ส่งผลต่อการคลอด ทำให้คลอดยาก ผ่าตัดคลอดสูงขึ้น การตกเลือดหลังคลอดสูงขึ้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่อาจมีผลต่อการเจ็บปวดของมารดา หรือมีผลต่อสติสัมปชัญญะของมารดา ทำให้มีผลต่อการเริ่มต้นการให้ลูกดูดนมช้า ซึ่งทำให้น้ำนมมาช้า เสี่ยงต่อการเกิดทารกตัวเหลืองจากทารกกินนมได้ไม่เพียงพอ หรือการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะพบว่าในมารดาที่มีภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่าร้อยละ 281 ดังนั้น การสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ในเรื่องน้ำหนักของมารดาที่อยู่ในเกณฑ์ชองดัชนีมวลกายที่แสดงว่ามารดามีภาวะอ้วนที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การแนะนำการปฏิบัติตัวของมารดา ได้แก่ การควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายให้มีสุขภาพที่ดี จะลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สั้นกว่าที่ควรจะเป็นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Boudet-Berquier J, Salanave B, Desenclos JC, Castetbon K. Association between maternal prepregnancy obesity and breastfeeding duration: Data from a nationwide prospective birth cohort. Matern Child Nutr 2017.

ยิ่งกินนมแม่นานยิ่งลดความเสี่ยงที่เด็กจะอ้วน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? กระบวนการในการให้ลูกกินนมแม่จะช่วยฝึกทารกให้รู้จักควบคุมการกินอาหารตามความต้องการ เมื่อลูกหิวลูกต้องออกแรงดูดนม เมื่อลูกอิ่มลูกก็ไม่จำเป็นต้องดูดนม นอนพักอยู่กับอกมารดา ต่างจากการกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งน้ำนมจะไหนได้เร็วโดยทารกแทบจะไม่ต้องออกแรงดูด ทารกจะกินทั้ง ๆ ที่บางครั้งไม่ได้หิว ซึ่งเป็นการฝึกลักษณะการกินที่ไม่เหมาะสม มีการศึกษาพบว่าหากลูกได้กินนมแม่ 1 เดือนจะลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนในวัยเด็กได้ร้อยละ 36 ?หากลูกได้กินนมแม่ 6 เดือนหรือนานกว่านั้นจะลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนในวัยเด็กได้ร้อยละ 421 แสดงว่า การกินนมแม่ยิ่งนานน่าจะยิ่งลดความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดภาวะอ้วนตามกลไกที่ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Wang L, Collins C, Ratliff M, Xie B, Wang Y. Breastfeeding Reduces Childhood Obesity Risks. Child Obes 2017;13:197-204.

การใช้กระบวนการการปรับปรุงคุณภาพโรงพยาบาลในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?กระบวนการการปรับปรุงคุณภาพโรงพยาบาลมีหลากหลายระบบ แต่พื้นฐานการดำเนินการมักจะมีพื้นฐานเดียวกันคือ การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบติดตามผล และการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งหากโรงพยาบาลมีการปรับปรุงคุณภาพของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องจะเกิดระบบและวัฒนธรรมคุณภาพที่จะช่วยให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์จากการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ความเสี่ยงต่าง ๆ เกิดขึ้นน้อย และเมื่อเกิดขึ้น ก็จะมีทีมร่วมสหวิชาชีพเข้าไปช่วยกันดูแลแก้ไข มีการศึกษาการนำการบริหารจัดการในการปรับปรุงคุณภาพโรงพยาบาลมาใช้ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยตั้งเกณฑ์ตามบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งหลังจากการตั้งตัวชี้วัดที่ชัดเจน ติดตามผลและปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง พบว่ากระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องนี้ช่วยสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงขึ้นได้1 สิ่งนี้แสดงถึงประโยชน์ของการพัฒนาคุณภาพที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ หากเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม ติดตามผลและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนเกิดระบบและเป็นวัฒนธรรมองค์กร

เอกสารอ้างอิง

  1. Ward LP, Williamson S, Burke S, Crawford-Hemphill R, Thompson AM. Improving Exclusive Breastfeeding in an Urban Academic Hospital. Pediatrics 2017;139.

ครรภ์แฝดยังคงเป็นปัญหาในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ปัจจุบัน สตรีมักแต่งงานช้าลง เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ต้องการมีบุตร จึงมีโอกาสที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์กันมากขึ้น ซึ่งการช่วยเหลือให้มีบุตรจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นั้น ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดครรภ์แฝดสูงขึ้น เมื่อเกิดภาวะครรภ์แฝดก็เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น ความจำเป็นที่ทารกจะต้องอยู่ที่หอทารกป่วยวิกฤตก็เพิ่มขึ้นตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคและทำให้เกิดความยากลำบากต่อการจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งนั้น จากการศึกษาวิจัยถึงกระบวนการให้ความรู้และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาและครอบครัวพบว่ายังไม่สามารถช่วยเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีครรภ์แฝดได้1 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการให้ความรู้และการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มนี้จะยังไม่มีหลักฐานว่าสามารถเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แต่ก็น่าจะช่วยให้มารดาและครอบครัวเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาจส่งผลต่อความตั้งใจในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อมีโอกาสที่ดีกว่าในครรภ์ถัดไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Whitford HM, Wallis SK, Dowswell T, West HM, Renfrew MJ. Breastfeeding education and support for women with twins or higher order multiples. Cochrane Database Syst Rev 2017;2:CD012003.

ประสบการณ์ของมารดาที่มีลูกที่มีภาวะลิ้นติด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่ทำให้มารดาเจ็บหัวนม โดยหากขาดการให้คำปรึกษาและการดูแลที่เหมาะสม อาจทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ในประเทศไทยพบทารกมีภาวะลิ้นติดราวร้อยละ 151 ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของทารกที่มีภาวะลิ้นติดมักมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา มีการสำรวจความคิดเห็นถึงประสบการณ์ของมารดาที่มีภาวะลิ้นติดพบว่า ประมาณร้อยละ 25 ของมารดาที่มีลูกที่มีภาวะลิ้นติดมีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่พบว่ามีปัญหาในการเข้าเต้าลำบาก นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยว่า มารดายังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเอาใจใส่ในการตรวจภาวะลิ้นติดของทารกที่บุคลากรทางการแพทย์มักมองข้ามหรือพลาดในการให้การตรวจวินิจฉัย2 ซึ่งปรากฎการณ์นี้ น่าจะเหมือนกับในประเทศไทย เนื่องจากยังขาดผู้ที่รับผิดชอบที่ชัดเจนในการให้การตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และดูแลรักษาปัญหาลิ้นติด ดังนั้น การริเริ่มกำหนดแนวทางการให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ้นติดจากสถาบันการแพทย์ เช่น ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ รวมทั้งมูลนิธิศูนย์นมแม่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์ ส่งเสริม และดำเนินการให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติสำหรับทารกที่มีภาวะลิ้นติด เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการให้บริการที่ดีและสนับสนุนให้ทารกมีโอกาสได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  2. Wong K, Patel P, Cohen MB, Levi JR. Breastfeeding Infants with Ankyloglossia: Insight into Mothers’ Experiences. Breastfeed Med 2017;12:86-90.