คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

คุณแม่รู้จักภาวะลิ้นติดไหม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ตามปกติแล้ว ใต้ลิ้นของคนเรา หากทำการกระดกลิ้นขึ้น จะมองเห็นแผ่นพังผืดที่ยึดติดตามความยาวของลิ้น แต่จะมีช่วงที่เว้นระยะไม่มีพังผืดยึดอยู่ช่วงหนึ่งถึงปลายลิ้น การที่มีช่วงที่เว้นระยะปราศจากพังผืดจะทำให้ลิ้นมีการเคลื่อนไหวได้โดยสามารถยื่นลิ้นไปทางด้านหน้าและด้านข้างได้สะดวก ซึ่งการที่สามารถยื่นลิ้นหรือแลบลิ้นออกไปทางด้านหน้าได้ จะช่วยในการดูดนมจากเต้านมแม่ของทารก เนื่องจากขณะที่ทารกดูดนมจากเต้า ลิ้นของทารกจะต้องยื่นออกมาอยู่ที่ลานนม โดยลิ้นจะทำหน้าที่ช่วยกดระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนมและไล่น้ำนมให้ออกมาที่บริเวณหัวนม ดังนั้น หากมีพังผืดยึดยาวออกมาทางปลายลิ้น จะทำให้มีโอกาสที่จะจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้นและมีผลกระทบต่อการดูดนมจากเต้านมของแม่ได้ ?ซึ่งภาวะที่มีพังผืดยึดมากจนรบกวนการเคลื่อนไหวของลิ้นนี้เราเรียกว่ามี ?ภาวะลิ้นติด?

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

คำแนะนำสำหรับการดูแลทารกหลังคลอด ตอนที่ 7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทารกต้องการการพักผ่อนและมารดาก็ต้องการด้วย

หลังจากการคลอด ทารกต้องการการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องการการพักผ่อนเพื่อสะสมพลังงาน สร้างความเจริญเติบโต ช่วยจัดระเบียบข้อมูลการรับรู้และพัฒนาการระบบการทำงานของร่างกายให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาสู่ระยะที่มีการเจริญวัยขึ้น ในช่วงสองสามสัปดาห์แรกของชีวิต รูปแบบการนอนของทารกอาจไม่เป็นเวลา ทารกจะนอนมาก และเวลาตื่นส่วนใหญ่ก็จะกินนมหรือไม่ก็ไม่สบายตัวจากการถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ ทารกจะยังไม่ใส่ใจหรือสนใจว่า เป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน แม้ว่าในเวลากลางวันจะมีสิ่งเร้าหรือเสียงรบกวนมากกว่า ดังนั้น เมื่อทารกนอนหลับพักผ่อน มารดาจึงควรนอนหลับพักผ่อนด้วย เพื่อพักฟื้นร่างกายที่ต้องผ่านการเจ็บครรภ์ การคลอด และเตรียมพร้อมสะสมพลังงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกก็คือนมแม่

คำแนะนำสำหรับการดูแลทารกหลังคลอด ตอนที่ 6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทำไมทารกต้องร้องไห้

?การร้องไห้เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งของทารก และไม่ใช่ว่าการที่ทารกร้องไห้เกิดจากอาการหิวของทารกแต่เพียงอย่างเดียว สาเหตุที่ทารกร้องไห้อาจเกิดจากการที่ทารกง่วงนอน หงุดหงิด เจ็บป่วย ไม่สบายตัว ต้องการการเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือต้องการให้อุ้มก็เป็นได้ ดังนั้น การช่างสังเกตของมารดาร่วมกับการที่มารดาได้มีโอกาสที่จะอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมงในระยะหลังคลอด จะทำให้มารดาเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจและแยกความแตกต่างจากที่จะบอกถึงสาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้ได้ โดยที่มารดาและครอบครัวไม่ควรคิดหรือเข้าใจว่าการที่ทารกร้องไห้เป็นจากการที่ทารกหิว และให้ทารกกินนมทุกครั้งเมื่อทารกร้องไห้ แม้ว่าบางครั้งการร้องไห้จะแสดงว่าทารกมีอาการหิว แต่การร้องไห้ก็บ่งถึงว่าความล่าช้าในการรับรู้และขาดป้อนนมให้แก่ทารกจนทำให้ทารกหงุดหงิดจนกระทั่งร้องไห้ได้

 

คำแนะนำสำหรับการดูแลทารกหลังคลอด ตอนที่ 5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทารกชอบใกล้ชิดมารดา

? ? ? ? ? ? ? ? เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ทารกจะอยู่แนบชิดมารดาตลอด เมื่อคลอดออกมา ทารกจึงยังต้องการการแนบชิดกับมารดา เพื่อความรู้สึกอบอุ่น คุ้นเคย และผ่อนคลาย ร่วมกับการที่ให้ลำตัวของทารกหันเข้าหาและแนบชิดกับลำตัวของมารดาในขณะที่ให้นมแม่ จะช่วยให้ทารกสามารถอมหัวนมและลานนมได้ลึก ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญในการจัดท่าให้นมลูก การที่ลูกอยู่ในท่ากินนมที่เหมาะสม ลูกจะพึงพอใจ สงบ อิ่มท้อง ไม่ร้องกวน การเจริญเติบโตและพัฒนาการจะเป็นไปตามเกณฑ์ ดังนั้น การสร้างความแนบชิดระหว่างมารดาและทารกจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ทารกปรับตัวหลังคลอด กินนมแม่ได้ดี มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเตรียมความพร้อมให้ทารกมีความแข็งแรงและสุขภาพที่ดี

คำแนะนำสำหรับการดูแลทารกหลังคลอด ตอนที่ 4

รศ.นพ.ภาวิน พััวพรพงษ์

ทารกชอบการโอบกอด

? การโอบกอด หากทำโดยให้ผิวทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาที่โอบอุ้ม จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเครือข่ายของระบบประสาท ทำให้ทารกปลอดภัย อุ่นใจและรู้สึกสงบ ดังนั้น มารดารวมทั้งบิดาสามารถให้การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้เริ่มตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด ซึ่งจะช่วยให้ประโยชน์แก่ทารก ทารกจะชื่นชอบ และการโอบกอดทารกบ่อย ๆ ไม่จำเป็นต้องกังวลกับความเชื่อที่ว่า จะทำให้ทารกติดมือหรือติดการอุ้ม เพราะหากเห็นแก่ประโยชน์ของทารกเป็นสำคัญ มารดาและบิดาก็ไม่ควรปฏิเสธการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ นอกจากนี้ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อยังเป็นการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อบิดามารดาด้วย