คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

ทารกให้ความสนใจสิ่งอื่นขณะกินนมผิดปกติหรือไม่

IMG_1035

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ?เมื่อทารกเติบโตและมีพัฒนาการมากขึ้น ความสนใจสิ่งรอบข้างจะสูงขึ้น โอกาสที่จะถูกดึงดูดจากเสียง แสง สี หรือการเคลื่อนไหวในระหว่างที่ทารกดูดนมอยู่ จะเพิ่มขึ้นด้วย ทารกอาจจะหยุดกินนมและสนใจในสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ทำให้กินนมได้ในระยะสั้น หิวบ่อย หรือทำให้มารดาวิตกว่า ทารกอาจได้รับน้ำนมไม่เพียงพอจนทำให้น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้ สิ่งเหล่านี้ มักพบในทารกที่มีอายุราว 4 เดือนขึ้นไป ข้อแนะนำสำหรับมารดา คือรู้และเข้าใจทารก หากมารดาต้องการให้ทารกดูดนมได้เต็มที่ ควรเลือกบรรยากาศของการให้นมในห้องที่สงบ ลดการรบกวนจากสิ่งรอบข้างหรือเสียงโทรศัพท์ โดยหลังจากให้นมเสร็จแล้วจึงให้ทารกได้มีกิจกรรมตามปกติที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของทารก อย่างไรก็ตาม หากว่าการที่ทารกให้ความสนใจกับสิ่งรอบข้างไม่ได้ทำให้เกิดผลเสียต่อทารกจนทำให้น้ำหนักผิดปกติหรือต่ำกว่าเกณฑ์ มารดาอาจเพียงรับรู้ เข้าใจพร้อมติดตามการเจริญเติบโตของทารกโดยไม่จำเป็นต้องมีความวิตกกังวลใดๆ เลย

เอกสารอ้างอิง
1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาดีหรือไม่

64

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่ทารกนอนร่วมห้องเดียวกันและใกล้ชิดกับมารดาจะช่วยให้มารดาสังเกตอาการหิวของทารกได้ง่าย และสามารถให้นมได้ตามที่ทารกต้องการ โดยมีความสะดวกจากการที่อยู่ใกล้ๆ สำหรับการนอนร่วมเตียงเดียวกันนั้น อาจทำได้ในกรณีที่เตียงมีพื้นที่เพียงพอ ไม่นุ่มเกินไปหรือมีซอกหลีบที่ทารกจะหล่นลงไปและเกิดอันตรายได้ โดยมารดาความมีความพร้อม ไม่เหนื่อยหรืออ่อนเพลียจนเกินไป ไม่กินเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือได้รับยาที่ทำให้ง่วงซึม เนื่องจากสิ่งที่วิตกกังวลในการนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาคือ การที่มารดาเบียดทับทารก หรือทารกตกลงในซอกหรือร่องข้างเตียง ดังนั้น หากมีความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว การเลือกให้ทารกนอนอยู่ที่เตียงเล็กข้างๆ มารดาอาจเหมาะสมกว่า แต่ในกรณีที่ไม่มีเตียงเล็ก การจัดพื้นที่ให้เหมาะสมโดยทารกอาจนอนบนพื้น หรือมารดานอนบนพื้นใกล้กับทารกก็สามารถทำได้โดยที่ยังได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ชิดกันและปราศจากความเสี่ยงที่จะเบียดทับทารกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การให้ลูกกินนมแม่คุมกำเนิดได้จริงหรือ

IMG_1010

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในมารดาที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่แล้ว หากต้องการคุมกำเนิด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยโอกาสของการตั้งครรภ์ระหว่างการให้นมลูกอย่างเดียวพบร้อยละ 2 และถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดวิธีหนึ่ง โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Lactation Amenorrhea Method หรือ LAM หากมารดาเลือกการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องทราบรายละเอียดของการคุมกำเนิดวิธีนี้ด้วย ซึ่งมี 3 ข้อ ดังนี้

? ? ? ? ? ? ? ?-มารดาจำเป็นต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยให้นมอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ชั่วโมง

? ? ? ? ? ? ? ?-วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด

? ? ? ? ? ? ? ?-มารดาต้องยังไม่มีประจำเดือนมาระหว่างการคุมกำเนิด

? ? ? ? ? ? ? หากมารดาไม่สามารถให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวได้ หรือมีประจำเดือนมาในระหว่างให้นมลูก หรือต้องการคุมกำเนิดนานกว่าหกเดือน การคุมกำเนิดเสริมด้วยวิธีอื่นๆ จะทำให้ประสิทธิภาพของการตั้งครรภ์สูงขึ้น โดยอาจใช้ถุงยางอนามัย หรือการกินยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวร่วมด้วย มารดาก็ไม่จำเป็นที่จะวิตกกังวลเรื่องการตั้งครรภ์หรือมีบุตรที่จะเกิดใกล้ชิดกันอีกต่อไป และเมื่อครบระยะหลังคลอดหกเดือน การคุมกำเนิดเสริมอาจใช้เป็นการคุมกำเนิดหลักต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ทารกกัดหัวนม แก้ไขอย่างไร

latching2-1-o

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การที่ทารกกัดหัวนมมักจะเกิดขณะที่เริ่มต้นการกินนมและขณะที่กินนมเสร็จแล้ว ซึ่งสาเหตุที่ทารกกัดหัวนมขณะที่เริ่มกินนมเกิดจากการที่มีการป้อนนมในช่วงที่ทารกไม่หิวหรือยังไม่ต้องการกินนม การแก้ไขควรให้นมทารกเมื่อทารกหิว ซึ่งมารดาต้องสังเกตอาการของทารกหิวได้และให้นมเมื่อทารกต้องการ กรณีที่ทารกกัดหัวนมเมื่อกินนมเสร็จแล้วเกิดจากการที่ทารกอิ่มและไม่ต้องการกินนมแล้ว การแก้ไขคือ มารดาจำเป็นต้องสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าทารกอิ่ม โดยเมื่อทารกอิ่มแล้ว ต้องขยับทารกออกจากเต้านม จะเห็นว่าหลักการที่จะช่วยป้องกันการกัดหัวนมของทารกคือ การให้นมตามความต้องการของทารก ซึ่งจะทำให้ทารกไม่ประท้วงการกินนมโดยการกัดหัวนม ในกรณีที่ทารกกินหัวนมจนเป็นแผล ต้องระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ได้แก่ เต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมด้วย

? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม บางครั้งในกรณีที่เริ่มมีฟันขึ้น ทารกอาจจะหมั่นเขี้ยว ซึ่งทำให้ทารกกัดหัวนมได้เช่นเดียวกัน แต่หลักการในการดูแลทารกก็ยังใช้หลักการเดียวกัน คือ ?ให้ทารกกินตามความต้องการเมื่อทารกหิวและหยุดให้เมื่อทารกอิ่ม? ซึ่งจะแก้ไขปัญหาทารกกัดหัวนมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

อาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่

IMG_1036

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปกติในทารกที่กินนมแม่จะไม่ค่อยพบว่ามีอาการท้องผูกในทารก เนื่องจากในนมแม่จะมีสารที่ช่วยในการระบายซึ่งจะทำให้ทารกถ่ายได้ง่าย แต่อาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่อาจพบในทารกที่อายุมากกว่าหนึ่งเดือน ในทารกที่ได้รับนมผสมหรือในทารกที่เริ่มอาหารเสริม ซึ่งอาจจะเกิดจากการกินนมแม่ได้แต่พบน้อย ส่วนใหญ่มักเป็นจากการกินนมผสมหรืออาหารที่ทารกได้เสริมที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก การปรับเปลี่ยนลักษณะการชงนมผสม และชนิดของอาหารเสริมจะสามารถลดอาการท้องผูกได้

? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่พบอาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่ ได้แก่ ทารกที่มีความผิดปกติของทางเดินอาหารแต่กำเนิด โรค Hirschsprung ภาวะไทรอยด์ต่ำ การติดเชื้อโบทิลิซึ่ม (botulism) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ มารดาควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้รักษาและได้รับคำแนะนำสำหรับการแก้ไขที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.