คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

อุปสรรคในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2127

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีจะนำไปสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ การที่มารดาสามารถเริ่มการให้นมลูกได้ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจึงมีความสำคัญ มีการศึกษาถึงสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเริ่มต้นการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การให้ความรู้แก่มารดาระหว่างฝากครรภ์ การผ่าตัดคลอด และการจัดให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมงในระยะหลังคลอด1 จะเห็นว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการขัดขวางการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นการให้บริการการดูแลการฝากครรภ์และการคลอดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้น การใส่ใจและให้ความสำคัญกับการจัดบริการการให้ความรู้มารดาในระหว่างฝากครรภ์ การหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น และการจัดให้มารดาได้อยู่ร่วมกับทารกตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอด จะช่วยให้มารดาสามารถเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bandeira de Sa NN, Gubert MB, Santos WD, Santos LM. Factors related to health services determine breastfeeding within one hour of birth in the Federal District of Brazil, 2011. Rev Bras Epidemiol 2016;19:509-24.

 

แม่อ้วนส่งผลต่อสุขภาพทารกเมื่อโตขึ้นได้

img_2098

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การที่มารดามีภาวะอ้วนส่งผลเสียต่อทั้งตัวมารดาเอง การตั้งครรภ์ การคลอด และทารกที่จะเกิดขึ้นมาด้วย โดยที่ผลที่เกิดแก่ทารกนั้นมีทั้งที่เกิดขึ้นเห็นผลได้ทันทีจากการคลอดยาก ทารกได้รับบาดเจ็บระหว่างการคลอด ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ น้ำนมมารดามาช้าทำให้ลดโอกาสที่ทารกจะได้รับน้ำนมแม่ที่มีประโยชน์และช่วยในเรื่องสุขภาพหลายด้าน ทารกมีโอกาสเกิดโรคอ้วน และโรคเรื้อรังเมื่อเจริญเติบโตขึ้นในอนาคตสูงกว่า1

? ? ? ? ? ? ? ? จากการศึกษาได้อธิบายผลของการที่มารดาอ้วนที่มีต่อทารกในระยะยาวว่า การที่มารดาอ้วนจะมีผลทำให้เทโลเมียร์ (Telomere) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อยู่บริเวณปลายของโครโมโซมที่เป็นสารพันธุกรรม โดยจะทำให้โครโมรโซมมีเสถียรภาพที่ดี ความยาวของเทโลเมียร์ในมารดาที่อ้วนจะสั้นลง ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมและเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในอนาคตขึ้น ดังนั้น การที่มารดามีภาวะอ้วนนั้นจะเป็นการวางความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ในสารพันธุกรรม ซึ่งจะกำหนดสุขภาพทารกเมื่อเจริญเติบโตขึ้น หากรู้เช่นนี้แล้ว การสื่อสารให้มารดาทราบถึงความเสี่ยงเหล่านี้ น่าจะสร้างแรงบันดาลใจที่จะดูแลสุขภาพ ควบคุมน้ำหนักทำให้น้ำหนักของมารดาอยู่ในดัชนีมวลกายปกติ และมีผลลัพธ์ที่ดีต่อทารก-ลูกของมารดาที่จะเกิดมาในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Martens DS, Plusquin M, Gyselaers W, De Vivo I, Nawrot TS. Maternal pre-pregnancy body mass index and newborn telomere length. BMC Med 2016;14:148.

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2116

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ในการที่มารดาจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือก ปฏิบัติ และมีความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่หลากหลาย ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีทั้งปัจจัยด้านมารดาและทารก ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังรวมถึงสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคขณะอยู่ที่โรงพยาบาลและเมื่อมารดาได้รับอนุญาตให้กลับบ้านและรวมถึงเมื่อมารดาจำเป็นต้องกลับไปทำงานด้วย

? ? ? ? ? ? มีการศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การที่มารดามีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย การสูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ การใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกขณะที่อยู่ที่โรงพยาบาล ความตั้งใจจะใช้จุกนมหลอก การไม่ได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก และการขาดการให้ความรู้เรื่องนมแม่ระหว่างการฝากครรภ์ การคลอดและหลังคลอด1 แม้ว่า การศึกษานี้จะเป็นการศึกษาในต่างประเทศ แต่ก็สามารถสื่อถึงความสำคัญถึงการให้ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นแก่มารดาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลือกนมแม่ที่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด รวมทั้งการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อในการสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่เริ่มต้นในขณะอยู่ที่โรงพยาบาลจนได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ซึ่งการเริ่มต้นที่ดีนั้นมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Zakarija-Grkovic I, Segvic O, Vuckovic Vukusic A, et al. Predictors of suboptimal breastfeeding: an opportunity for public health interventions. Eur J Public Health 2016;26:282-9.

มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีแนวโน้มที่จะรับประทานแคลเซียมมากขึ้น

img_2189

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการรับประทานอาหารของมารดาระหว่างการให้นมบุตรในปัจจุบันมีมากขึ้น มารดาส่วนใหญ่มักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยหวังว่าคุณค่าของอาหารนั้นจะส่งผ่านไปที่ลูก ซึ่งความจริงก็มักเป็นเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น แคลเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในนมแม่ ในมารดาคนไทยที่ให้นมบุตรมีความต้องการวันละ 800-1000 มิลลิกรัม แคลเซียมที่ได้จากอาหารโดยทั่วไปพบว่าได้รับราว 400 มิลลิกรัมต่อวัน จึงมักมีความจำเป็นต้องสำหรับมารดาที่ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงหรือรับประทานแคลเซียมชนิดเม็ดเพื่อเสริมให้ได้ตามความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน มีการศึกษาพบว่ามารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีการรับประทานแคลเซียมสูงกว่ามารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึง 4 เท่า1 ซึ่งสิ่งนี้น่าจะแสดงถึงความใส่ใจในเรื่องสุขภาพและการรับประทานอาหารของมารดาที่มีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การให้ความรู้ถึงความจำเป็นของสารอาหารต่างๆ ในแต่ละชนิดแก่มารดาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเลือกการรับประทานได้อย่างเหมาะสมยังคงมีความจำเป็น เพื่อให้เข้ากับหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างภูมิคุ้มกันจากการให้ความรู้มารดาที่ทำให้สามารถเลือกปฏิบัติตัวได้อย่างสมเหตุสมผล

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhao J, Zhao Y, Binns CW, Lee AH. Increased Calcium Supplementation Postpartum Is Associated with Breastfeeding among Chinese Mothers: Finding from Two Prospective Cohort Studies. Nutrients 2016;8.

การสนับสนุนของครอบครัวส่งผลดีกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2095

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? แน่นอนในปัจจุบัน มารดาทุกคนต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ เนื่องจากมีการทราบถึงคุณประโยชน์ที่หลากหลายของการที่ลูกได้กินนมแม่ อย่างไรก็ดี การสนับสนุนของครอบครัวมีส่วนช่วยส่งเสริมมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 นอกจากนี้ มารดาที่มีแม่เคยเล่าเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ฟัง จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า2

? ? ? ? ? ?สำหรับประเทศไทย ในชนบทยังเป็นครอบครัวขยาย ปู่ย่าตายายซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในบ้าน มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกด้วย โดยความคิดเห็นของยายมีผลต่อการตัดสินใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา3 แต่ในบางประเทศ ยายจะมีอิทธิพลต่อการให้น้ำหรือชาสมุนไพรในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่4 เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยที่ย่าหรือยาย มักมีอิทธิพลต่อการให้อาหารเสริมอื่นนอกเหนือจากนมแม่ในช่วงหกเดือนแรก ซึ่งอาจเป็นคำแนะนำที่ได้จากประสบการณ์ดั้งเดิมของย่าหรือยายที่เคยเลี้ยงดูลูกอย่างนี้มาก่อน แต่ขนาดของปัญหา ยังขาดการวิจัยศึกษา อย่างไรก็ตาม การให้ความรู้เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ควรครอบคลุมถึงคนในครอบครัวและบุคคลที่มีอิทธิพลที่จะมีผลต่อการเลือกให้อาหารแก่ทารกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhu X, Liu L, Wang Y. Utilizing a Newly Designed Scale for Evaluating Family Support and Its Association with Exclusive Breastfeeding. Breastfeed Med 2016.
  2. Ekstrom A, Widstrom AM, Nissen E. Breastfeeding support from partners and grandmothers: perceptions of Swedish women. Birth 2003;30:261-6.
  3. Odom EC, Li R, Scanlon KS, Perrine CG, Grummer-Strawn L. Association of Family and Health Care Provider Opinion on Infant Feeding with Mother’s Breastfeeding Decision. J Acad Nutr Diet 2014;114:1203-7.
  4. Giugliani ERJ, do Esp?rito Santo LC, de Oliveira LD, Aerts D. Intake of water, herbal teas and non-breast milks during the first month of life: Associated factors and impact on breastfeeding duration. Early Human Development 2008;84:305-10.