ดาวน์โหลดได้ที่ ?https://1drv.ms/b/s!Aj45F8nZ28RrwkSggvTSUzNjYBYC
คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์
การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์
Breastfeeding case study 2
Breastfeeding case study 2
Breastfeeding case study 1
ดาวน์โหลดได้ที่ https://1drv.ms/b/s!Aj45F8nZ28RrwkP2ZmZw46dAe4Qy
มารดามีปัญหาเรื่องหัวนม จะแก้อย่างไร
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ปัญหาของหัวนมที่อาจมีผลต่อการให้ลูกกินนมแม่ ได้แก่ หัวนมบอด บุ๋ม แบนราบ สั้น หรือใหญ่ หากบุคลากรทางการแพทย์ตรวจพบหัวนมเหล่านี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ การให้คำปรึกษาแก่มารดาควรให้ด้วยความระมัดระวัง เพราะการกำหนดหรือแจ้งมารดาว่า หัวนมมารดามีปัญหา อาจส่งผลหรือสื่อความหมายที่ผิดให้กับมารดาได้ โดยอาจทำให้มารดาเลือกที่จะไม่ให้ลูกกินนมแม่ได้โดยความวิตกกังวลเกี่ยวเนื่องกับลักษณะของหัวนม ทั้ง ๆ ที่หัวนมจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างการตั้งครรภ์จนถึงในระยะหลังคลอด
??????????????? มารดาหัวนมบอด บุ๋ม แบนราบหรือหัวนมสั้น ในกรณีที่ลานนมของมารดานุ่ม ขณะที่ลูกกินนมแม่ จะอมหัวนมและลานนมเข้าไป ทำให้เกิดลักษณะที่เป็นท่อยาวในปากทารก ดังนั้นจะมีผลต่อมารดาในบางรายที่ทารกอาจตัวเล็ก หรือมารดามีลานนมที่แข็งร่วมด้วย การอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารกอาจทำได้ลำบาก อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์ในการดึงหรือยืดหรือนมที่เรียกว่า nipple puller หรือการใช้หลอดฉีดยามาประยุกต์ใช้ในการดูดหรือดึงหัวนมอาจช่วยให้ความยาวของหัวนมเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งช่วยในความสำเร็จของการเข้าเต้าให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ในกรณีที่มารดามีลานนมแข็ง การใช้ประทุมแก้วก็อาจจะช่วยให้ลานนมนุ่มได้ แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่า การจะให้คำปรึกษามารดาในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากทารกบางรายอาจเข้าเต้าได้เองโดยไม่ต้องการการแก้ไขใด ๆ ขณะที่บางคนการใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยยืดความยาวหัวนมและทำให้หัวนมนุ่มขึ้นจะช่วยให้การอมหัวนมและลานนมของทารกดีขึ้น จึงเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเข้าเต้าได้เท่านั้น1 ความเข้าใจที่ถูกต้องของมารดาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดเสมอก่อนการแนะนำการรักษา
??????????????? สำหรับหัวนมใหญ่นั้น อาจมีผลในกรณีที่ทารกตัวเล็ก การอมหัวนมและลานนมอาจทำได้ยาก การแก้ไขหากทารกไม่สามารถเข้าเต้าได้โดยตรง อาจใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมป้อนทารกด้วยถ้วยหรือช้อนไปก่อน เมื่อทารกโตขึ้น อ้าปากได้กว้างขึ้น การอมหัวนมและลานนมจะทำได้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้เอง2
เอกสารอ้างอิง
- Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Paritakul P, Ketsuwan S, Wongin S. Nipple length and its relation to success in breastfeeding. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 1:S1-4.
- The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017
จะรู้ได้อย่างไรว่า มารดามีปัญหาเรื่องหัวนม
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ปกติแล้ว แนะนำให้สตรีมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกวันในขณะอาบน้ำ ร่วมกับการส่องกระจกดูลักษณะหรือความผิดปกติที่มองเห็นได้ โดยอาจรอยบุ๋มหรือผื่นแดง และตรวจสอบลักษณะของหัวนมว่ามีหัวนมบอด บุ๋ม แบนราบ สั้น หรือใหญ่ไหม ลักษณะของหัวนมเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการอมหัวนมและลานนมของทารก ทำให้ทารกเข้าเต้าลำบาก และเป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- หัวนมบุ๋มหรือหัวนมบอด จะมีลักษณะของหัวนมที่บุ๋มหรือลึกลงไปจากระดับฐานของหัวนม ซึ่งอาจจะเป็นเองหรือเป็นจากการบาดเจ็บหรือการผ่าตัดในอดีตที่ทำให้เกิดพังผืดยึดรั้งให้หัวนมมีระดับต่ำบุ๋มลงไป
- หัวนมแบน จะมีลักษณะของหัวนมที่ราบไปกับระดับฐานของหัวนมหรือลานนม
- หัวนมสั้น การมองหรือการสังเกตด้วยตาอาจมีความลำบาก หากใช้เครื่องมือวัดจะพบว่าความยาวของหัวนมสั้นกว่า 7 มิลลิเมตรในระยะหลังคลอด แต่มารดาสามารถตรวจสอบหัวนมสั้นด้วยตนเองโดยใช้วิธีง่ายๆ คือ การใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กระตุ้นหัวนมให้ยืดยาวขึ้นมา โดยการกดหรือเลื่อนนิ้วมือไปในแนวของเต้านมด้านหลัง จากนั้นใช้นิ้วทั้งสองจับหัวนมดู หากสามารถจำหัวนมได้ติด น่าจะแสดงว่า หัวนมของมารดาไม่สั้น
- หัวนมใหญ่ หัวนมมารดาทั่วไปขนาดราว 1 เซนติเมตร เช่นเดียวกันการมองดูหัวนมแล้วจะบอกว่า หัวนมใหญ่นั้น บอกได้ยาก แต่หากหัวนมมารดาใหญ่เกิน 2 เซนติเมตรก็มีโอกาสที่จะรบกวนการเข้าเต้าของทารกขณะดูดนมได้
? ? ? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม การส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของปัญหาของหัวนมที่พบนั้น จะส่งผลก็ต่อเมื่อปัญหานั้นส่งผลต่อการอมหัวนมและลานนมของทารก เนื่องจากขณะที่ทารกกินนมแม่นั้น หัวนมไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่เป็นตัวตัดสินความสำเร็จในการเข้าเต้า ดังนั้น แม้ว่าการตรวจลักษณะของหัวนมและเต้านมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมของมารดาในการให้นมบุตร แต่มารดาไม่ควรสร้างความวิตกกังวลให้กับตนเองมากเกินไปจากการที่มีลักษณะของหัวนมที่บอด บุ๋ม แบนราบ หรือใหญ่ จนเลือกที่จะไม่ให้นมแม่ หรือ เครียดจนกระทั่งน้ำนมแม่ไม่ไหลหรือมาช้า ซึ่งยังมีวิธีที่จะช่วยหรือให้คำปรึกษาในกรณีที่มารดามีหัวนมเป็นลักษณะเหล่านี้
เอกสารอ้างอิง
- The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017