นมแม่ดีที่หนึ่ง ศูนย์การแพทย์ มศว.

หากคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่สามารถเข้าไปดูได้ที่ช่อง youtube นมแม่ดีที่หนึ่งศูนย์การแพทย์ มศว. และฝากกดไลค์ และกดติดตามด้วยนะคะ
นมแม่ดีที่หนึ่ง ศูนย์การแพทย์ฯ มศว
https://youtube.com/channel/UCgaU0wHcBcylXzjumt1oysw


ในช่องยูทูปมีเรื่องดังต่อไปนี้

1. ท่าให้นมลูก (ท่าอุ้มขวางตักประยุกต์)
2. ท่าให้นมลูก (ท่าฟุตบอล)
3. การเก็บตุนและการละลายน้ำนม
4. การสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนิสิตแพทย์
5. อาหารเพิ่มน้ำนม (เคล็ดลับการทำขนมฟักทองงาดำ)
6. ท่าให้นม (version ปูหนีบอีปิ)
7. การดูแลการปลูกฝี
8. วิธีการดูแลหัวนมแตก
9. ทำไมถึงไม่ให้ลูกกินน้ำแรกเกิดถึง 6 เดือน
10. ลูกสะอึกควรทำอย่างไร
11. วิธีการดูแลและทำความสะอาดสะดือทารก
12. การเยี่ยมบ้านนมแม่
13. อาหารที่กินได้ และอาหารที่ห้ามกิน สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูก
14. การสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนิสิตพยาบาล
15. เต้านมอักเสบ
16. อุจจาระของเด็กที่กินนมแม่กับเด็กที่กินนมผสม
17. ประโยชน์ของนมแม่ VS ความเสี่ยงของนมผสม
18. ปัญหาความเชื่อในการรับประทานอาหารของแม่หลังคลอด
19. หากคุณแม่ไม่สบาย ให้ลูกกินนมแม่ได้ไหม
20. น้ำนมพุ่งแรง ทำยังไงดีค่ะ
21. น้ำนมแม่น้อยจริงๆหรือ
22. สิ่งที่คุณแม่ควรรู้หากจะเป็นนักปั้มนม
23. การคุมกำเนิด
24. วัคซีน
25. พังผืดใต้ลิ้น (tongue tie) กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
26. 6 ท่าออกกำลังกายหลังคลอด
27. นมไม่คัดตึง ไม่มีน้ำนมจริงหรือ?
28. ทำอย่างไรให้น้ำนมมาเร็ว และเพียงพอ
29. ท่าให้นมลูก (version ภาษาอังกฤษ)
30. จุดขาวๆ ที่หัวนมคืออะไร 31. การตรวจและวิธีแก้ไขภาวะหัวนมที่ผิดปกติ
32. การสำรอกนม
33.ท่าให้นม version เมียนมาร์ (พม่า)
34. การปั้มนมที่ถูกวิธี
35. การนวดเต้านมแบบ Oketani
36. โรคกลากน้ำนม
37. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
38. จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ ?
39. จำเป็นต้องเสริมนมผสมด้วยไหม
40. การนวดเต้านมแบบ Marmet Technique
41.ลูกไม่ยอมดูดเต้า ทำไงดี ?
42. อาหารตามวัย
43. วิธีการล้างขวดนมและอุปกรณ์ปั๊มนมที่ถูกต้อง
44. ลูกสะดือจุ่น
45. การนวดเต้านมแบบ pectoral muscle massage
46. พัฒนาการเด็ก
47. จะทราบได้อย่างไรว่าผิวหนังแบบนี้ผิดปกติ ?
48. หลังคลอดกี่เดือนประจำเดือนถึงจะมา?
49. การเก็บตุนและการละลายน้ำนม (version ภาษาอังกฤษ)
50. ประโยชน์ของนมแม่ VS ความเสี่ยงของนมผสม (version ภาษาอังกฤษ)
51. G6PD คืออะไร
52. Overfed baby
53. สิ่งที่คุณแม่ควรรู้หากจะเป็นนักปั้มนม (version ภาษาอังกฤษ )
54. นมแม่ส่วนไหนดีสำหรับลูกที่่สุด?
55. น้ำคาวปลากับแม่หลังคลอด 56.การอยู่ไฟหลังคลอด
57. ภาวะหนังศีรษะบวมน้ำ (Caput succedaneum)
58. การวางแผนคุมกำเนิด (Contraception) version ภาษาอังกฤษ
59. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานการณ์โควิด 19 (ในกรณีแม่ติดเชื้อหรือสงสัยติดเชื้อ COVID-19)
60. วิธีเก็บน้ำนมแม่เมื่อไฟดับ
61. แม่ให้นมลูกฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
62. ลูกหลับไม่ยอมตื่นมากินนมทำไงดี?
63. ลูกตัวร้อนเป็นไข้ทำอย่างไรดีค่ะ?
64. น้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กควรเท่าไหร่?
65. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
66. ทารกหญิงแรกเกิดมีเลือดออก ทางอวัยวะเพศ ผิดปกติหรือไม่ 67. แม่เป็นไทรอยด์ให้นมลูกได้ไหม
68.โรคแพ้โปรตีนนมวัว
69.แม่ให้นมลูกย้อมผมได้ไหม?
70.ควรเริ่มให้ลูกดูดนมจากขวดเมื่อไหร่ และอย่างไร
71. การดูแลมารดาระยะหลังคลอด
72. อาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์
73. การนับลูกดิ้น
74. นมแม่หลังจาก6เดือนมีประโยชน์ไหม
75. ควรทาแป้งให้เด็กหรือไม่
76. เจ็บครรภ์จริงหรือหลอก
77. อาหารกับคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
78. การอาบน้ำทารกแรกเกิด
79. ครรภ์เป็นพิษ
80. ปริมาณนมที่เด็กต้องการในแต่ละวัน
81.ท่าให้นม(version ภาษากัมพูชา)
82. บันได 10 ขั้นในการส่งเสริมการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ปี2560
83. การบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ
84. บันได 10 ขั้นในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กป่วย
85. การป้อนนมทารกด้วยถ้วย
86. วิธีการจับลูกเรอ
87. วิธีการให้นมบุตรในมารดาที่ติดเชื้อ covid-19
88.การนวดเต้าด้วยลูกประคบสมุนไพร
89.การให้นมบุตรด้วยอุปกรณ์เสริม
90.การประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น
91.การนับอายุครรภ์
92.ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย
93.การคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ DOWN SYNDROME
94.พัฒนาการของทารกในครรภ์
95.การให้ยาในหญิงให้นมบุตร
96.คุณแม่ตั้งครรภ์ควรน้ำหนักขึ้นเท่าไหร่
97.คุณแม่ให้นมลูกกินอาหารเสริมและวิตามินได้ไหม 98.อาการแพ้ท้องในหญิงตั้งครรภ์
99.โรคสมาธิสั้นเทียม
100.คลอดเองกับผ่าคลอดคุณแม่เลือกอย่างไรดี
101.มารดาหลังคลอดกินยาขับน้ำคาวปลาได้ไหม
102.วิธีจับลูกเรอ(version ภาษาอังกฤษ)
103. หลังคลอดกินน้ำเย็นไม่ดีจริงหรือ
104.ความเสี่ยงจาการกินนมผสม
105.การเสริมหน้าอกและการให้นมบุตร
106.หัวนมแตก(version ภาษาอังกฤษ)
107.ผ่าตัดคลอดห้ามกินไข่จริงหรือ?
108.สมุนไพรเพิ่มน้ำนม
109.การล้างขวดนม(version ภาษาอังกฤษ)
110. ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
111. ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่(version ภาษาอังกฤษ)
112. ให้นมลูกฉีดโบท็อกซ์ได้ไหม
113. ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่(version ภาษาพม่า)
114.วิธีการให้นมบุตรในมารดาที่ติดเชื้อ covid-19(version ภาษาอังกฤษ)
115. ท่านอนตะแคงให้นม
116. ภัยร้ายของบุหรี่กับลูกน้อย
117. คุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดเลี้ยงแมวได้หรือไม่
118.ท่าอุ้มขวางตักประยุกต์ (version ภาษาอีสาน)
119.พี่อิจฉาน้อง
120.จุดขาวๆที่หัวนม(white dot) version ภาษาอังกฤษ
121.การอุ้มให้นมท่าตะแคง version ภาษาจีน
122.การบีบน้ำนมด้วยมือ version ภาษาอังกฤษ
123.ภาวะเด็กร้องกวน (colic)
124.การป้อนนมทารกด้วยถ้วย version พม่า
125.อาหารที่ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยงสำหรับคุณแม่ให้นม version ภาษาอังกฤษ
126.วิธีการให้นมลูก นอกบ้าน
127.วิธีล้างจมูก
128.คุณแม่ท้องเสียให้นมลูกได้ไหม
129.ท่าให้นมลูก(ท่าฟุตบอล)ภาษารัสเซีย
130.จะรู้ได้ยังไงว่าลูกตาเข
131.ทำไงดีเมื่อลูกขาโก่ง
132.แม่เป็นภูมิแพ้ให้นมลูกได้ไหม
133.ตั้งครรภ์ขณะให้นมลูกให้นมต่อได้ไหม?
134.โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์
135.แม่ดื่มกาแฟให้นมลูกได้ไหม
136.ให้นมลูกทาครีมบำรุงและเครื่องสำอางได้ไหม
137.ให้ลูกกินนมคนอื่นได้ไหม
138.วิธีเก็บตุนน้ำนมและการละลายน้ำนมversionภาษาพม่า
139.ปกป้องลูกน้อยจากโควิดด้วยการใส่maskหรือface shield จริงหรือ
140.ฟันของลูกจะขึ้นเมื่อไหร่
141.ป้อนกล้วยก่อน 6 เดือนส่งผลเสียอย่างไรบ้าง
142.ให้นมลูกทานทุเรียนได้ไหม


วิดีโอของนักศึกษาแพทย์ที่น่าสนใจ

วิดีโอนี้ นักศึกษาแพทย์เป็นผู้ผลิต โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา จะให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน่าสนใจ

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 10

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

ข้อมูลผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่พบว่าสูงร้อยละ 230.90-279.76 ซึ่งแสดงว่าภาระงานที่คลินิกนมแม่นั้นมีมากเมื่อเทียบกับจำนวนบุคลากรที่ทำงานอยู่จริง สอดคล้องกับการคิดภาระงานและอัตรากำลังที่คิดคำนวณได้ ดังนั้น จะเห็นว่าในการดำเนินงานการเปิดคลินิกนมแม่นั้น มีภาระงานที่เป็นกลุ่มมารดาหลังคลอดที่จำเป็นต้องนัดติดตามดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกนมแม่หรือเป็นภาระงานจากการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมรองรับอยู่แล้ว ในการวางแผนกำลังคนเพื่อจัดสรรในการตั้งคลินิกนมแม่ อาจพิจารณาได้จากจำนวนการคลอดที่มีในโรงพยาบาล โดยนำมาคำนวณตามอัตราการนัดติดตามที่คลินิกนมแม่และการโทรศัพท์ติดตาม จะทำให้ผู้บริหารสามารถเห็นได้ถึงจำนวนอัตราของพยาบาลที่ต้องการหรือผู้ช่วยพยาบาลที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการเปิดให้บริการคลินิกนมแม่แล้ว กลุ่มผู้รับบริการที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองอาจมีเพิ่มขึ้น การปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับภาระงานที่ปฏิบัติงานอยู่จริง

เอกสารอ้างอิง

  1. . Knowledge, attitudes and practices regarding breastfeeding support among village health volunteers in Nakhon Nayok, Thailand. . Thai J Obstet and Gynaecol 2016;24:89-96.
  2. . Nursing workload and patient safety–a mixed method study with an ecological restorative approach. Rev Lat Am Enfermagem 2013;21 Spec No:146-54.
  3. . Implementation of work sampling methodology. Nurs Res 1994;43:120-3.
  4. . Nursing workload in the acute-care setting: A concept analysis of nursing workload. Nurs Outlook 2016;64:244-54.
  5. -Pallas L, et al. Nursing staffing, nursing workload, the work environment and patient outcomes. Appl Nurs Res 2011;24:244-55.
  6. . A human factors framework and study of the effect of nursing workload on patient safety and employee quality of working life. BMJ Qual Saf 2011;20:15-24.

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 9

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

ในส่วนของค่าบริการที่เรียกเก็บได้ในอันดับที่สองและที่สาม ได้แก่ ค่าบริการจากการนวดเต้านมนั้น ให้บริการในกรณีมีเต้านมคัดตึง และค่าบริการจากการใช้เครื่องปั๊มนมนั้น ให้บริการในกรณีที่มารดาวางแผนจะเก็บน้ำนม มีเต้านมคัดตึง หรือมารดามีความวิตกกังวลเรื่องน้ำนมไม่เพียงพอ อาจแสดงถึงปัญหาที่นำผู้รับบริการมาปรึกษาที่คลินิกนมแม่ ซึ่งมักพบว่า ผู้รับบริการมาปรึกษาเรื่องการตึงคัดเต้านม ความวิตกกังวลเชื่อว่าตนเองมีน้ำนมน้อยหรือน้ำนมไม่เพียงพอ และในกรณีที่มารดาวางแผนจะกลับไปทำงาน ต้องเตรียมตัวบีบเก็บน้ำนมหรือปั๊มนม ซึ่งหลังจากการให้คำปรึกษา การสอนการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนม การนวดเต้านมเพื่อลดอาการตึงคัด และการประเมินน้ำหนักทารกเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารก ส่วนใหญ่ยังมีความจำเป็นต้องมีการนัดติดตามเพื่อให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัญหาของมารดาที่มีได้รับการแก้ไข ทำให้ลักษณะของการดูแลรักษาผู้รับบริการที่คลินิกนมแม่จะเป็นทั้งการให้คำปรึกษาและติดตามสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะทำให้โอกาสที่จำนวนผู้รับบริการจะสะสมและเพิ่มขึ้นมีมาก  

สำหรับภาระงานที่คลินิกนมแม่จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้องการบุคลากร 4-5 คน โดยความต้องการพยาบาล 2-3 คน และผู้ช่วยพยาบาล 2 คน ขณะที่ในปัจจุบันที่คลินิกนมแม่มีพยาบาล 1 คนและผู้ช่วยพยาบาล 2 คน เนื่องจากภาวะขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ ดังนั้น จะเห็นว่าในการบริหารจัดการงานที่ดำเนินอยู่จำเป็นต้องจัดสรรภาระงานบางอย่างที่สามารถมอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลดำเนินการแทนเพื่อให้การทำงานสามารถดำเนินการต่อได้ อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวการเพิ่มจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมกับภาระงานที่มีนั้นจำเป็น เพื่อรักษามาตรฐานในการทำงาน ลดและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ รวมทั้งรองรับการพัฒนาคุณภาพงานที่เพิ่มขึ้น5 และรักษาสวัสดิภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน6 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ควรได้รับการพิจารณาในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาล

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 9

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

จากการเก็บรวบรวมรายรับจากการให้บริการพบว่า ในปี 2558 คลินิกนมแม่มีรายรับ 106850 บาท ในปี 2559 มีรายรับ 135850 บาท      ซึ่งรายรับส่วนใหญ่ได้อันดับหนึ่งได้จากการให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 43.4-53.4 ส่วนลำดับที่สองและสามได้จากการนวดเต้านมร้อยละ 21.6-31.1 และการให้บริการเครื่องปั๊มนมร้อยละ 21.9-23.3

เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดของผู้รับบริการที่คลินิกนมแม่ ผู้รับบริการหลักคือมารดาหลังคลอดที่นัดมาติดตามการเลี้ยงลูกที่คลินิกนมแม่ ผู้รับบริการจะแยกเป็นผู้ป่วยประเภทที่ 1 และการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด ซึ่งใช้เวลาในการสอบถามติดตาม ให้ความรู้สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มเติมไม่เกิน 10 นาที ผู้รับบริการกลุ่มนี้ ทางคลินิกนมแม่ไม่ได้คิดค่าบริการในการให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากในผู้รับบริการที่คลอดที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี การนัดติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกนมแม่ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการให้บริการดูแลการคลอดที่เหมารวมในค่าบริการการคลอดแล้ว ค่าบริการที่เรียกเก็บจากการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเรียกเก็บจากมารดาที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ตั้งใจมาขอคำปรึกษาหรือจากมารดาที่มาขอคำปรึกษาที่คลอดจากโรงพยาบาลอื่น ดังนั้น รายรับจากการให้บริการผู้รับบริการที่คลอดที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ต้องคิดต้นทุนของการให้บริการในการโทรศัพท์และนัดติดตามที่คลินิกนมแม่รวมไปในกิจกรรมของการคลอดด้วย สำหรับรายรับจากการให้บริการการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากผู้รับบริการที่ไม่ได้เป็นผู้คลอดที่นัดติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเพิ่มขึ้นจาก 43.4 ในปี 2558 เป็น 53.4 ในปี 2559 แสดงถึงการมารับคำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะกระแสการใส่ใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เพิ่มขึ้น คลินิกนมแม่เริ่มเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น หรืออาจเป็นเพราะปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบมาขึ้น ซึ่งจำเป็นมีการศึกษาเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)